ค้นข้อมูล
Home Thailand Data ข้อมูลจังหวัด สถานพยาบาล สถานศึกษา แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า บริษัท ศาสนสถาน ข้อมูลภาครัฐ Login

Forest

หนองคาย
Nong Khai


คำขวัญ หนองคาย : วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่3026.534 ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากร 175639 ครัวเรือน
ประชากรชาย 259849
ประชากรหญิง 262462
ประชากรรวม 259849
Nong Khai ที่ตั้งของจังหวัดหนองคาย คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางซึ่งเรียกรวมกับที่ตั้งของนครเวียงจันทน์ เลยหนองบัวลำภู อุดรธานี มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งด้านทรัพยากรทางน้ำและทางบก มีเขตที่ราบกว้างใหญ่สามารถทำการเพาะปลูกได้ดี มีต้นน้ำลำธารหลายสายและไหลลงเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำโขงเช่น แม่น้ำเหือง น้ำโมง น้ำสวย ห้วยหลวง เป็นต้น

การสำรวจตามโครงการสำรวจแหล่งถลุงแร่ทองแดง ดีบุกสมัยโบราณ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (เขตจังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี) ครั้งล่าสุดพบว่ามีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติ ศาสตร์ โดยเฉพาะพื้นที่แถบหนองคาย รวมทั้ง จังหวัดเลยเป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ และมีเส้นทางคมนาคมอันเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชุมชนแห่งนี้ คือ แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกแห่งหนึ่ง

รศ.ดร. ศรีศักร วัลลิโภดม อดีตอาจารย์แห่งภาควิชามานุษวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวไว้ในหนังสือแอ่งอารยธรรมอีสาน ซึ่งเป็นผลงานการสำรวจวิจัยที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าพื้นที่ภาค อีสานนั้นมีแอ่งอารยธรรมสำคัญดึกดำบรรพ์ คือแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ซึ่งมีหนองหานเป็นศูนย์กลาง พัฒนาขึ้นจากยุคหินใหม่เป็นเขตที่สั่งสมวัฒนธรรมจนเป็นบ้านเมืองเวียง (นคร) จนเป็นอาณาจักรใหญ่โต บ้านเชียงซึ่งมีการขุดค้นโบราณวัตถุอย่างสมบูรณ์ จึงทำให้สรุปว่า หนองคาย-เวียงจันทน์ พัฒนาจากแอ่งสกลนคร แล้วเจริญเติบโตกลืนทั้งสองฝั่งโขง แต่อย่างไรก็ดี สำหรับพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงบริเวณหนองคาย-เวียงจันทน์ นั้น น่าจะสำรวจวิจัยได้อีกต่างหากห่างจากแอ่งสกลนคร และน่าจะเรียกได้ว่าเป็น “แอ่งอารยธรรมที่ 3” โดยมีเหตุผลและหลักฐานที่สนับสนุนกัน ดังต่อไปนี้ คือ

บุ่งทาม ซึ่งมีความหมายว่า “แอ่ง” ในภาคกลาง คล้ายบางมาบที่ทางภาคกลางเรียกเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์แก่การเกษตรกรรม ประมง ดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์หากจะถือแม่น้ำโขงเป็นศูนย์กลาง โดยมีเทือกเขาภูพานและภูพระบาทเป็นขอบแอ่งลาดลงมาถึงที่ราบลุ่มเป็นแม่น้ำโขง และภูเขาควายฝั่งลาวก็เช่นกัน มีห้วยที่มีกำเนิดจากเทือกเขาเหล่านี้แล้วไหลลงแม่น้ำโขงมากหลายสาย เช่น ห้วยโมง ห้วยชม ห้วยสาย (ซวย) ห้วยหลวง หัวยงึม เป็นต้น บริเวณนี้จึงเป็นบุ่งทาม หรือ “แอ่ง” ที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งน่าจะเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคแรก ๆ ของโลก เช่นเดียวกันกับ แอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช

มุขปาฐะ ที่เกี่ยวกับบ้านเมืองในบริเวณหนองคาย-เวียงจันทน์ เช่น ตำนานอุรังคธาตุ เรียกดินแดนแถบหนองคาย-เวียงจันทน์ว่า "แคว้นสุวรรณภูมิ" แยกออกมาจากดินแดนในเขตสกลนคร นครพนม และแขวง คำม่วน ซึ่งเรียกว่า "แคว้นศรีโคตรบูรณ์" การวิเคราะห์เรื่องราวและความรู้ที่แทรกอยู่ในมุขปาฐะ น่าจะทำให้สามารถสืบค้นไปได้ถึงความจริงที่ว่า "แคว้นสุวรรณภูมิ" เป็นเขตสะสมที่เหนือกว่าแคว้นศรีโคตรบูรณ์ เพราะมีแร่มากทั้งทองแดง ทองคำ ตามเทือกเขา จนสามารถขุดแร่หลอมถลุงแร่ใช้และกลืนแคว้นศรีโคตรบูรณ์ได้ ตามประวัติศาสตร์ถึงแคว้นทางด้านใต้พยายามจะบุกเข้าชิงอำนาจเหนือแคว้นเหนือ หลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จมีแต่แคว้นเหนือพิชิตใต้ได้ตลอด ยกเว้นรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชที่นำทหารเขมรบุกอ้อมเข้าน้ำซันขึ้นไป เมืองเชียงขวางก่อน แล้วจึงล่องแม่น้ำงึมเข้าเวียงจันทน์ได้สำเร็จ


สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ก็ได้สรุปไว้เมื่อเขียนคำนำเสนอในหนังสือประวัติศาสตร์ลาวของท่านมหาสิลา วีระวงส์ ดังนี้ "เมืองเวียงจันทน์" มีกำเนิดและพัฒนาการขึ้นมาพร้อม ๆ กับบ้านเมืองบริเวณ "แอ่งสกลนคร" ในยุคก่อนที่พวกล้านช้างจะเคลื่อนย้ายลงมา"โดยไม่กล่าวถึงแคว้นสุวรรณภูมิ ที่น่าจะหมายถึงที่ตั้งของบ้านเมือง เพราะเจาะจงให้เวียงจันทน์เป็นศูนย์กลางแคว้นศรีโคตรบูรณ์นั่นเอง ขณะที่ตำนานอุรังคธาตุ กล่าวถึง "เมืองสุวรรภูมิแต่ก่อน" ช่วงที่มีการอพยพของเจ้านายราชวงศ์พร้อมพลเมืองจำนวนหนึ่งมาจากเมืองร้อย เอ็จประตูเพื่อตั้งหลักแหล่งสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นในบริเวณนี้ โดยยึดพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็นเมืองสุวรรณภูมิมาแต่ก่อนหน้านั้น "…หมื่นกลางโรงหมื่นนันทอาราม พาครัว ๒๐,๐๐๐ ครัว รักษาเจ้าสังขวิชกุมารมาถึงในเขตเมืองสุวรรณภูมิแต่ก่อน นางน้าเลี้ยงพ่อนมจึงพาเจ้าสังขวิชกุมารออกมาตั้งเมืองอยู่หนอง (คาย) นั้นให้ชื่อว่า "เมืองลาหนอง (คาย)" ตลอดไปถึงปากห้วยบางพวน หมื่นกลางโรงมีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพออกมาตั้งเป็นเมืองที่ปากห้วยคุกคำมาทางใต้ หมั่นนันทารามมีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาที่ปากห้วยนกยูง หรือปากโมงค์ก็เรียก…" มุขปาฐะเหล่านี้ชี้จุดภูมิศาสตร์ได้ค่อนข้างชัดเจนอย่างยิ่งโดยเฉพาะยุค ประวัติศาสตร์ ในขณะที่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ยังมีการค้นพบวิเคราะห์วิจัยหาหลักฐานกันน้อย กว่าที่ควรจะเป็น

๑. เวียงเกิดขึ้นทุกปากลุ่มน้ำ ที่เป็นทางออกสู่แม่น้ำโขง ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของบุ่งทามแห่งนี้ และมีแหล่งเกลือหิน (เกลือสินเธาว์) มีแหล่งแร่และความเชี่ยวชาญในการหลอมถลุงแร่ จนเป็นที่มาของคำว่า "สุวรรณภูมิ" ซึ่งหมายถึงดินแดนที่มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากกว่าแอ่งสกลนคร เกิดเวียง (นครเวียงใหม่) หลายเวียง คือ เวียงจันทน์ เวียงคำ (เวียงคุก) เวียงงัว เวียงนกยูง ยังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีค่อนข้างสมบูรณ์ หากมีการสำรวจขุดค้นกันอย่างจริงจัง อาจจะได้เห็นถึงรากฐานของการตั้งถิ่นฐานของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนไป ได้ถึงยุคหินใหม่ อายุกว่าหมื่นปีจนถึงยุคประวัติศาสตร์ก็ได้

บริเวณบุ่งทามแถบหนองคาย ยังมีร่องรอยและหลักฐานอยู่อย่างหนาแน่น ทั้งในรูปวัตถุและตำนานวรรณกรรมจำนวนมาก ล้วนเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเล่าสืบทอดกันมา จนกระทั่งเริ่มมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรบริเวณแคว้นสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะที่ตั้งของจังหวัดหนองคายในปัจจุบัน ก็ยังปรากฎสถานที่ที่มีกล่าวไว้ในตำนานแทบทั้งสิ้น เช่นตำนานพระอุรังคธาตุ กล่าวถึงปฐมกัลป์พญานาคผู้ขุด แม่น้ำโขง ชี มูล ทั้งสร้างนครเวียงจันทน์ด้วย ตำนานรักอมตะ ท้าวผาแดง-นางไอ่ ท้าวขูลู-นางอั้ว ท้าวบารส-นางอุสา ท้าวสินไซ ท้าวสีทน-มโนราห์ ฯลฯ ยังรอการชำระตีความเชิงวิชาการจากท่าผู้รู้อยู่ ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงตำนานและวรรณกรรมเหล่านี้ไม่อาจมองข้าม ไปได้ เพราะการยอมรับคติความเชื่อของคนในท้องถิ่นย่อมต้องได้รับการสืบต่อกันมา ถ้าไม่มีตำนานและวรรณกรรมเหล่านี้ไม่แน่นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือแม้ กระทั่งหลักฐานจารึกต่าง ๆ ก็แทบจะไม่มีความหมายเลยก็ว่าได้ อย่าลืมว่าจารึกศิลาหลักต่าง ๆ สามารถเคลื่อนย้ายกันได้แต่ถ้าคนในท้องถิ่นยังคงจดจำและสืบต่อกันอยู่ ก็หมายถึงท้องนั้นถิ่นยังมีบันทึกประวัติศาสตร์ของตนอยู่ด้วยเช่นกันถึงแม้ นักวิชาการจะมองข้ามสิ่งเหล่านี้ก็ตาม

๑. การตั้งถิ่นฐาน มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก่อนจะมีพัฒนาการทางชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง การปกครอง ของราชอาณาจักรในแต่ละยุคแต่ละสมัย ในขณะเดียวกันประวัติความเป็นมารวมทั้งพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของคนใน จังหวัดหนองคาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสามารถโยงใยไปถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ด้านอื่น ๆ อีกหลายด้าน เช่น การเมืองการปกครองในสมัยล้านช้าง เวียงจันทน์ สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เกิดขึ้นมากในสมัยนี้ทั้งไทยเอง และลาวเองด้วย จนถึงยุคสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดังจะเรียงไล่ไปตามลำดับ ดังนี้

๑.๑ การตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ๑.๑.๑ บริเวณลุ่มน้ำโมง (ห้วยโมง) สายน้ำสำคัญสายหนึ่งไหลลงแม่น้ำโขงปากน้ำออกทางบ้านน้ำโมง อ.ท่าบ่อ พบว่ามีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้ มีชื่อเรียกว่า "แหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน" อยู่ที่ตำบลโคกคอน อำเภอท่าบ่อ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ ชาวบ้านแตกตื่นกันไปขุดหาของเก่าขาย เมื่อมีผู้พบหม้อดินเผาลายสีแบบบ้านเชียง อยู่กลางหมู่บ้าน โชคดีที่ผู้รับซื้อไม่สนใจรับซื้อเท่าไหร่ หม้อดินโบราณจำนวนมากที่สุดขุดค้นกันขึ้นมาได้โดยชาวบ้าน จึงยังคงเหลือให้ผู้สนใจศึกษาถามหาดูได้จากชาวบ้านหม้อดินโบราณที่ได้จาก แหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน เป็นชนิดที่ไม่มีสี แต่มีลายเล็บขูด ลายเชือกทาบ นอกจากนี้ยังพบเครื่องประดับหินแก้วทั้งลูกปัด กำไล เศษสำริด จำนวนมาก ชาวบ้านบางคนมีเครื่องมือหินพวก ขวานหินขัด หัวธนูหิน เครื่องมือหินเหล่านี้น่าจะมีมาก่อนยุคบ้านเชียงรอบโบสถ์วัดศรีสะอาดกลาง หมู่บ้าน มีเสมาหินสมัยทวาราวดีและครกหินใหญ่ที่น่า จะเป็นเบ้าหลอมโลหะ เชื่อว่าคนโบราณบ้านโคกคอนแห่งนี้ จะต้องสัมพันธ์กับภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีแน่นอน ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นยังพบ "เหรียญเงินฟูนัน" อายุประมาณ ๒ พันปีด้วย ซึ่งเหรียญเงินชนิดนี้เคยมีการพบที่เมืองออกแก้ว ทางเวียตนามใต้ ปากแม่น้ำโขงก่อนออกทะเล และที่เมืองอู่ทองโบราณ จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองนครชัยศรีโบราณ จังหวัดนครปฐมก็พบ การพบเหรียญเงินสมัยฟูนันเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า แหล่งโบราณคดีมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนต่อเนื่องมาถึงยุค ตอนต้นประวัติศาสตร์ด้วย ทั้งยังมีการติดต่อเชื่อมโยงทางสังคมกับดินแดนอื่นด้วย

นอกจากนี้ยังพบกระดูกมนุษย์กระจายอยู่ทั่วไปตามแหล่งโบราณคดีนี้ ส่วนเศษเครื่องปั้นดินเผาที่ถือว่าเป็นยุคแรก ๆ นี้ พบมากในเขตตอนเหนือของจังหวัดหนองคาย อย่างไรก็ดี ในส่วนการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อทำการศึกษาอย่างจริงจังยังไม่มีสำหรับ แหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน นอกจากการสำรวจตรวจชมจากนักวิชาการบ้างเท่านั้น เช่นเดียวกับแหล่งโบราณคดีอีกหลายแห่งในจังหวัดหนองคายนอกจากนี้ก็มีโครงการ สำรวจแหล่งถลุงแร่ทองแดง ดีบุกสมัยโบราณ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (เขตจังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี) โดยผู้ดำเนินการวิจัย คือปลัดสิทธิพร ณ นครพนม ปลัดอาวุโสอำเภอศรีเชียงใหม่ อาจารย์เย็นจิต สุขวาสนะ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ได้รับการสนับสนุนโครงการฯ จากสำนักงานส่งเสริมการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) และ ผศ.จารุวรรณ ธรรมวัตร แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ๒๕๔๑ ได้ข้อสรุปว่า ทางตอนเหนือของจังหวัดหนองคายเป็นแหล่งถลุงโลหะสมัยโบราณ มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มาตั้งแต่สมัยโลหะ หนองคายพบที่ ภูโล้น อ.สังคม ซึ่งเป็นแหล่งทำเหมืองแร่ทองแดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อีกแห่งหนึ่งคือบ้านหนองบัว ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ พบว่าเป็นแหล่งถลุงแร่โลหะขนาดใหญ่พอสมควรฉะนั้นจากการสำรวจพบแหล่งถลุงโลหะ และแหล่งชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ในทางตอนเหนือของจังหวัดหนองคาย ย่อมแสดงให้เห็นว่า "บุ่งทาม" ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนนี้อาจเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติ ศาสตร์ และมีพัฒนาการเป็นแบบเฉพาะถิ่นนี้ ความสำคัญอาจมากถึงขนาดที่ว่า น่าจะเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาก่อนมนุษย์บ้านเชียงเสียด้วยซ้ำ อายุอาจย้อนกลับไปได้ไกลถึง ๗,๐๐๐ปี หรือมากกว่านั้นเพียงแต่หลักฐานที่มีอยู่รวมทั้งพื้นที่แหล่งโบราณคดีแห่ง นี้ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดจากนักวิชาการ ซึ่งนักวิชาการท้องถิ่นรวมทั้งผู้สำรวจวิจัยขั้นแรกหลาย ๆ ท่านเชื่อว่าหากมีการลงลึกในรายละเอียด ศึกษาอย่างต่อเนื่องแล้ว บริเวณตอนเหนือของจังหวัดหนองคาย รวมทั้งเขตใกล้เคียงอาจเป็นถึง "แอ่งอารยธรรมที่ ๓" ถ้านับจากแอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร

๒. การตั้งถิ่นฐานในสมัยตอนต้นประวัติศาสตร์ เมื่อชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำโขงได้มีพัฒนาการทั้งทางสังคม การเมือง การปกครอง มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ ก็ปรากฎว่ามีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของคนในหนองคายหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีลายลักษณ์อักษรกล่าวถึงบ้านเมืองในแถบจังหวัดหนองคาย-เวียงจันทน์ มาตั้งแต่ยุคเจนละหรือฟูนัน และมีการปกครองที่เป็นอิสระจากอาณาจักรอื่น แต่มีการติดต่อกับอาณาจักรใกล้เคียงมาโดยตลอด ดังแสดงให้เห็นในโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบมากอยู่ในเขตจังหวัดหนองคายรวม ทั้งฝั่งนครเวียงจันทน์ ทั้งยังมีหลักฐานจากลายลักษณ์อักษรที่อาณาจักรใกล้เคียงและประเทศโพ้นทะเล ติดต่อด้วยได้บันทึกไว้ถึงบ้านเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณหนองคาย-เวียงจันทน์ ดังที่ รศ.ดร.ธิดา สาระยา ได้วิเคราะห์ถึงประวัติศาสตร์อีสานไว้ในเรื่องอาณาจักรเจนละว่า "ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๔ ชี้ว่าบ้านเมืองบริเวณทางตอนเหนือซึ่งเป็นดินแดนแห่งขุนเขาและลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของอาณาจักรเจนละ ซึ่งเรียกว่าพวกเจนละบก (เซเดส์กำหนดให้เจนละบกอยู่แดนลุ่มน้ำโขงตอนกลางมีเศรษฐปุระเป็นเมืองหลวง แต่นักวิชาการบางท่านว่า คือเหวินถาน หรือเวินตาน หรือเวินตา ที่นักวิชาการจีนศึกษาเรื่องนี้และยืนยันว่าคือเมือเวียงจันทน์"

การตั้งถิ่นฐานในสมัยตอนต้นประวัติศาสตร์ก่อนช่วงที่จะมีการเรียกชุมชนโบราณ แถบนี้ว่าเจนละบก อาจจะมีการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าพื้นเมืองโบราณกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้มีการอพยพโยกย้ายเคลื่อนที่ไปมาในพื้นที่ใกล้เคียง ดังหลักฐานที่ปรากฎอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ถือว่าเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อน ประวัติศาสตร์ ภายหลังเมื่อมีการติดต่อกับกลุ่มคนทางชายฝั่งทะเลก็รับเอาอิทธิพลทางศาสนา เข้ามาในวิถีชีวิตของชุมชนเดิม โดยเฉพาะกลุ่มชนชาติจามที่เป็นกลุ่มที่นำเอาความเชื่อในลัทธิพราหมณ์-ฮินดู มาเผยแพร่ในดินแดนอุษาคเนย์ บริเวณที่อยู่ของพวกจามในอดีต คือแถบฝั่งทะเลประเทศเวียดนามปัจจุบัน โดยอิทธิพลลัทธิพราหมณ์-ฮินดู ที่คนพื้นเมืองโบราณแถบลุ่มแม่น้ำโขงรับมาจากจามปรากฏเป็นศิลปกรรมที่ผสม ผสานกันอยู่ในโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถานทางศาสนาพุทธ ในช่วงต้นประวัติศาสตร์ด้วย ดังที่ รศ.ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม ได้วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจ เช่น พระธาตุพนมที่ จ.นครพนม และปราสาทวัดภู ที่ฝั่งจำปาศักดิ์ของลาว ที่พบหลักฐานทางศิลปกรรมของชนชาวจามปรากฏเป็นโครงสร้างพื้นฐานของโบราณสถาน ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงแถบนี้ "โบราณสถานและโบราณวัตถุแบบพวกทวาราวดี แสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของศิลปวัฒนธรรมแก่บ้านเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำชี ผ่านบริเวณหนองหาน กุมภวาปี ขึ้นมาในอีสานเหนือในช่วงเวลาแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ที่พระธาตุพนมก่อนที่จะล้มพังลงนั้นมีภาพสลักรูปคนขี่ม้าในท่าผาดโผนและ เคลื่อนไหว เป็นลักษณะที่ไม่เคยพบในศิลปกรรมแบบทวาราวดีและลพบุรีในประเทศไทยมาก่อน ในทำนองตรงข้ามเป็นของที่มักพบในศิลปะของจีน ญวน และจามปา"ในขณะเดียวกันข้อความในตำนานพระอุรังคธาตุของชาวอีสานก็ได้แสดงให้ เห็นว่า พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาในดินแดนนี้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๓ ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณสถานประเภทพระธาตุองค์ต่าง ๆ ที่หลงเหลืออยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง รวมทั้งจังหวัดหนองคาย ปรากฏชื่อเวียงหลายแห่ง ซึ่งได้ฐาปนาพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในช่วงที่ พุทธศาสนาในแถบอินเดียได้ส่งสมณฑูตเจ้ามาพร้อมกับนำพระบรมสารีริกธาตุมาแจก จ่ายแก่บ้านเมืองแถบนี้ แสดงว่าชุมชนที่ตั้งมั่นคงอยู่ช่วงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางที่หมายถึงจังหวัด หนองคายนี้มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์อย่างแน่นอน โดยมีพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมต่อเนื่องมาโดยตลอด จนถึงยุคที่มีหลักฐานชัดเจนทางโบราณคดี เช่น ศิลาจารึก ศิลปกรรมในโบราณสถาน โบราณวัตถุยุคต่าง ๆ ปรากฏหลงเหลือเป็นร่องรอยของยุคสมัยแต่ละยุคสมัย โดยที่ผู้คนหรือชุมชนมีการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยไปตามภาวะ เหตุการณ์ทางการเมืองการปกครอง มาตามลำดับ โดยเฉพาะเป็นช่วงประวัติศาสตร์อีสานโบราณที่ตรงกับยุคเจนละของโบราณ (ตามคำเรียกในเอกสารจีน) ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔–๑๕ ช่วงลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางแถบจังหวัดหนองคาย-เวียงจันทน์ ที่มีเอกสารจีน เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า "เจนละบก" อย่างชัดเจนนี้ รศ.ดร.ธิดา สาระยา ได้ประมาณกลุ่มประชากรในเจนละบกได้บ้าง โดยประกอบด้วย

- พวกข่า ซึ่งพูดภาษามอญ-คะแมร์ - พวกไท และชนเผ่าอื่น ๆ ในหนานเจา เพราะสองแคว้นนี้ติดต่อกัน - ชาวกัมพู หรือกัมพุช ในเจนละน้ำ - พวกจาม ตามเรื่องราวที่ปรากฎในตำนานอุรังคธาตุ - พวกเวียต จากแง่อานห์แลตอนกิน(ตังเกี๋ย) ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมถึงกันตามเส้นทางเกียตัน เป็นต้น - พวกลาว เชื่อกันว่าเข้ามาทีหลังสุด

- เจนละ ในความหมายของนักวิชาการเน้นไปถึงช่วงที่แสดงถึงการอพยพเคลื่อนไหวโยกย้าย ของกลุ่มประชากรชนเผ่าชนชาติที่มีความถึ่สูง โดยเฉพาะพวกเจนละบก จนทำให้มองไม่เห็นแม้แต่ร่องรอย ของพวกนักปกครองที่จะรวมกันเป็นกลุ่มเมือง แคว้นเล็ก แคว้นน้อย ถึงตอนนี้คงมีสาเหตุสำคัญที่ว่า ที่ตั้งของนครที่แสดงถึงอำนาจการปกครองสูงสุดในยุคนั้นน่าจะให้ความสำคัญกับ เมืองท่าชายฝั่งทะเล หรือมีทางออกสู่ทะเลเป็นสำคัญ ดังนั้นการที่เรื่องราวของพวกเจนละบกจึงไม่เข้มข้นเท่ากับพวกเจนละน้ำ ซึ่งอยู่ทางใต้แถบประเทศกัมพูชา รวมถึงฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรีของไทยปัจจุบัน แต่พัฒนาการของบ้านเมืองแถบนี้รวมทั้งหนองคาย (ตั้งแต่ยังไม่ปรากฏชื่อหนองคายในแถบนี้) มีมานานแล้วเพียงแต่ค่อยเป็นค่อยไป โดยเข้มข้นมาตามลำดับการเคลื่อนย้ายของกลุ่มประชากรชาติพันธุ์ ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองมาผสมปนเปกับกลุ่มชน หรือเคลื่อนย้ายมาทับพื้นที่ของกลุ่มชนดั้งเดิม แล้วกลืนวัฒนธรรมของกลุ่มชนพื้นที่เดิมไปในช่วงเวลาต่อมา

ช่วงการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มประชากรในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒–๑๖ ต่อเนื่องและซ้อนทับกัน ในเรื่องของการรับอิทธิพลความเชื่อ ศาสนา จึงเรียกช่วงเวลานี้ว่าสมัยทวาราวดี โดยมีหลักฐานทางศิลปกรรม ของเจนละปะปนอยู่ในช่วงกลางสมัยทวาราวดี แล้วจึงปรากฏอิทธิพลศิลปขอมและลพบุรี ในช่วงทวาราวดีตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ ๑๖–๑๙) ชนพื้นเมืองแถบหนองคาย - เวียงจันทน์ อุดรธานี ได้รับเอาอิทธพลความเชื่อของขอมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้หมายถึงการยอมรับอำนาจการปกครองของชนชาติขอม ทางด้านลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างด้วย จนกระทั่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙–๒๐ อำนาจขอมเสื่อมลง จึงปรากฏกลุ่มประชากรล้านช้างอพยพมาตั้งมั่นอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนนี้ ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

พัฒนาการในประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองกับชื่อบ้านนามเวียง ในสมัยประวัติศาสตร์ ปรากฏอยู่บนพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีลำดับความเป็นมาและอายุต่าง ๆ กัน ดังนี้

เวียงคำ-เวียงคุกคู่แฝดเวียงจันทน์ ปรากฏชื่อเรียกทางฝั่งหนองคายปัจจุบันว่า "เวียงคุก" ที่อำเภอเมืองติดเขตอำเภอท่าบ่อ อยู่ตรงข้ามกับเมืองเวียงคำ (เมืองซายฟอง) ทางฝั่งลาว ทั้งเวียงคำ-เวียงคุก น่าจะเป็นเมืองเดียวกัน พบหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุร่วมสมัยกันทั้งสองฝั่ง มีทั้งเสมาหินทวาราวดี ลพบุรี ต่อเนื่องถึงล้านช้าง ชื่อเวียงคำปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ว่า "เบื้องตะวันออกเท้าฝั่งของเวียงจัน-เวียงคำเป็นที่แล้ว" ในขณะเดียวกันการกล่าวถึงเมืองเวียงจันทน์-เวียงคำ ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงแสดงให้เห็นขอบเขตราชอาณาจักรสุโขทัย โดยเวียงจันทน์-เวียงคำเป็นรัฐอิสะอยู่พ้นอำนาจของสุโขทัยซึ่งแผ่อำนาจไป ทั่วอาณาบริเวณอุษาคเนย์ช่วงนั้น ดังนั้นจึงแสดงว่าการเป็นพันธมิตร หรือรัฐเครือข่ายที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันระหว่างราชอาณาจักรสุโขทัยกับ เวียงจันทน์ - เวียงคำ เป็นไปในทางที่ดี ถึงขั้นตีความได้ว่า สุโขทัยเกิดจากการขยายขอบเขตราชอาณาจักรทางลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางนี้ แล้วขยายไปทางใต้เรื่อย ๆ และมีลำดับพัฒนาการจนเป็นราชอาณาจักรอยุธยา ขับไล่อำนาจขอมออกจากพื้นดินของชาวสยามได้อย่างสิ้นเชิง ความสำคัญของเวียงคำ - เวียงคุก นี้นับเป็นแหล่งศึกษาพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของคนหนองคายโบราณในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๔–๒๐ โดยเฉพาะช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ พบหลักฐานที่เกี่ยวกับอำนาจการปกครองเหนือดินแดนนี้ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทั้งฝั่งเวียงคำ - เวียงคุก ทั้งนี้ตามหลักฐานปรากฏว่าฝั่งเวียงคุกของไทย (ชื่อเต็มคือเวียงคุคำ ที่หมายถึง ครุตักน้ำ ต่อมา "คุคำ" กร่อนเสียงเป็น "คุค" และ "คุก" ดังในปัจจุบัน เข้าใจว่าเวียงคุกคำในปัจจุบันก็คือเวียงคำในอดีตนั่นเอง) รวมทั้งที่ตั้งของวัดพระธาตุบังพวนซึ่งอยู่ถัดจากฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามา ๕ กิโลเมตร มีซากวัดและพระสถูปเจดีย์รูปแบบต่าง ๆ รวม ๑๐๐ กว่าแห่ง ที่จะทำให้การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของศิลปะล้านช้างได้ดี กว่าที่อื่น เวียงงัว ปรากฏชื่อในตำนานพระอุรังคธาตุว่าพระรัตนเถระและจุลรัตนเถระได้นำพระบรมธาตุ เขี้ยวฝาง ๓ องค์มาประดิษฐานไว้ที่โพนจิกเวียงหัว "งัว" คือวัวในสำเนียงภาคกลาง และเชื่อว่าเป็นพื้นที่ในตำบลบ้านฝาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เล่าสืบต่อกันมาถึงตำนานสำคัญของชุมชนโบราณแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนหนองคาย รวมทั้งภูพระบาทในจังหวัดอุดรธานีด้วย ก็มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของชุมชนแถบนี้เช่นกัน แม้กระทั่งเค้าเงื่อนจากนิทานเรื่องท้าวบารส - นางอุษา ก็มีว่า เมืองของท้าวบารสอยู่ "เมืองปะโค เวียงคุก" โค เป็นภาษาแขกที่เขมรรับมาใช้ แปลว่า "งัว" ของชาวอีสานและ "วัว" ของภาคกลาง วิเคราะห์จากวรรณกรรมฮินดูเรื่อง "พระอุณรุทธ" (อนุรุทธ) ซึ่งเป็นหลานพระกฤษณะ (พระนารายณ์ปางหนึ่ง) ซึ่งสำเนียงในตำนานชาวอีสาน คือ "พระกึดนารายณ์"พระธาตุเวียงงัว เป็นรูแบบศิลปแบบปะโค(สำเนียงเขมรว่าเปรียะโค)ของเขมรโบราณ พ.ศ. ๑๔๒๐ – ๑๔๔๐ (พุทธศตวรรษที่ ๑๕) มีทั้งเทวาลัย ภาพสลักหิน และประติมากรรมหินในกัมพูชา ต่อเนื่องจากศิลปะแบบกุเลน (จามกับชวา) มีประสาทปะโค โลเลย บากอง เป็นต้น และคงส่งอิทธิพลขึ้น มาถึงโพนจิกเวียงงัวด้วย เสียดายที่เทวรูปหิน ประติมากรรมสำคัญ บางวัดนำปูนพอกแปลงเป็นพระพุทธรูปแล้ว แต่จากรูปถ่ายเก่าที่ผู้สนใจเคยถ่ายไว้ ผู้เชี่ยวชาญเขมรดูแล้วปรากฏว่าเป็นศิลปะแบบปะโคเวียงนกยูง อยู่ติดห้วยโมง เขตกิ่งอำเภอโพธิ์ตาก มีเสมาหินยุคทวาราวถึง ๕๒ ชิ้น ซึ่งได้ขนย้ายไปไว้ที่วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ ปรากฏชื่อปากโมงหรือห้วยโมงนี้ในตำนานพระอุรังคธาตุว่า “หมื่นนันทอาราม มีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาตั้งอยู่ปากห้วยนกยูง หรือปากโมงก็เรียก” ห้วยโมงมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาภูพานแดนที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์ภู พระบาท ซึ่ง รศ.ดร.ศรีศักร วัลลิโภดม เคยโยงเส้นทางการแผ่อิทธิพลของขอมโบราณสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ น่าจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางนี้เป็นสำคัญ ทั้งยังเป็นเส้นทางที่ชาวเวียงจันทน์ - เวียงคำ ใช้อพยพไปสร้างศรีสัชนาลัย - สุโขทัย ผ่านเข้าไปยังนครไทยก่อนจะพัฒนาไปยังซีกตะวันตกของนครไทยหลังจากพ้นสมัยพระ เจ้าชัยวรมันที่ ๗ แล้ว จนท่านกล้าที่จะชี้ชัดลงไปว่าชาวสยามในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางของแม่น้ำเจ้า พระยาก็คือชาวเวียงจันทน์ - เวียงคำ ซึ่งเคยรุ่งเรืองมาก่อนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางนี่เอง โดยที่ลักษณะการขยายอาณาจักรของชาวเวียงจันทน์ - เวียงคำ เป็นไปเพื่อหาเส้นทางออกสู่เมืองท่าชายฝั่งทะเล คือ จากเวียงจันทน์ - เวียงคำ ผ่านเข้ามาทางห้วยโมง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเวียงนกยูงเข้าไปถึงเขตอำเภอบ้านผือ ผ่านเข้าในเขตอำเภอนากลาง อำเภอวังสะพุง อำเภอด่านซ้าย จากนั้นข้ามเทือกเขาเข้ามาในเขตอำเภอนครไทย แล้วจึงลงไปตามลำน้ำแควน้อยก็จะสามารถไปถึงยังกลุ่มบ้านเมืองในลุ่มน้ำน่าน ที่เมืองพิษณุโลกได้ และเมื่อผ่านไปยังสุโขทัยได้ ก็หมายถึงสามารถออกทะเลได้ทางฝั่งทะเลอินเดีย (อ่าวเบงกอล ที่เมืองเมาะตะบันในพม่าปัจจุบัน) จากหลักฐานโบราณสถานโบราณวัตถุต่าง ๆ ตามเส้นทางนี้พบว่ามีความเชื่อมโยงกันอยู่มาก และน่าจะเป็นถึงเส้นทางการค้าในสมัย “สามเหลี่ยมทองคำโบราณ” ด้วย “โมง”ไม่มีในภาษาถิ่นอีสาน แต่ในภาษาของชาวโส้(กะโซ่ ข่าโซ่) ซึ่งพูดภาษาตระกูลมอญ - เขมร (ยังมีคนชาวโส้อาศัยอยู่ที่อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย) มีคำว่า “โหม่ง” แปลว่า “นกยูง” และที่โบสถ์พระเจ้าองค์ตื้อ อำเภอท่าบ่อ ซึ่งเดิมห้วยโมงมาออกแม่น้ำโขงตรงนี้มีเจดีย์สำคัญเป็นที่หมายเรียกว่า “ธาตุนกยูง”

จากการสำรวจเบื้องต้นของ ผศ. จารุวรรณ ธรรมวัตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยอาจารย์เย็นจิต สุขวาสนะ จาก มศว. ประสานมิตร กรุงเทพฯ และปลัดสิทธิพร ณ นครพนม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พบว่ามีแนวกำแพงดินและคูน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณโนนสูงบริเวณที่ ห้วยถ่อนสบห้วยโมง มีอายุในยุคทวาราวดีเช่นเดียวกับเมืองฟ้าแดดสงยาง ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งพบว่า เศษดินเผาก็มีมาก ทั้งนี้เสมาหิน ๕๒ ชิ้น ซึ่งได้ย้ายจากบริเวณนี้ไปตั้งรักษาไว้ที่วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ ก็มีความสำคัญและน่าศึกษาลึกลงในรายละเอียด เช่น ลายสลักเสมาหินบางชิ้น เชื่อว่าเป็นเรื่อง “พระวิฑูรชาดก” ในทศชาติชาดก มีอายุตรงกับยุคทวาราวดีต่อลพบุรี ชิ้นที่สมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งมีภาพซุ้มปราสาทแบบจามปาภาพด้านล่างมีภาพสลัก ม้าหมอบอยู่ด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาศาสตร์ท่านหนึ่ง (เจอร์ราด ดิฟโฟรธท์) พบว่าน่าจะมีจารึกบนเสมาหินชิ้นดังกล่าวนี้ด้วย แต่คงถูกทำลายในภายหลังด้วยเหตุผลใดก็ไม่ทราบ แต่ถ้าพยายามก็สามารถอ่านจารึกโบราณนั้นได้เหมือนกัน ขณะนี้ยังรอดำเนินการอยู่

ปลัดสิทธิพร ณ นครพนม ได้ติดตามหลักฐานและตำนานวรรณกรรมในแถบถิ่นลุ่มแม่น้ำโมง มาโดยละเอียด พบว่ามีทั้งแหล่งการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์อยู่ที่ บริเวณโคกคอน อ.ท่าบ่อ ใกล้เคียงกับบริเวณเวียงนกยูงนี้ด้วย จึงวิเคราะห์ลงไปว่า ศิลปะลายกลองมโหระทึกที่เป็นรูปคนใส่ขนนกรำ อยู่พร้อมกับคนเป่าแคนลายกลองมโหระทึกนี้พบบริเวณชุมชนชาวจ้วงซึ่งเป็นกลุ่ม ชนที่ใช้กลองมโหระทึก ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน และรวมทั้งกลุ่มชนอื่น ๆ ในอุษาคเนย์นี้ ก็ใช้ด้วยเหมือนกัน จึงได้ตั้งคำถามเชิงสมมุติฐานว่า เป็นไปได้ไหมที่ชุมชนยุคโลหะในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง หรือบริเวณชุมชนชาวเวียงนกยูง จะเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้เผยแพร่วัฒนธรรมการใช้กลองมโหระทึกเป็นยุคแรก ๆ ในกลุ่มวัฒนธรรมนี้ด้วย

ในตำนานพระอุรังคธาตุ ได้กล่าวไว้ตอนที่มีการฐาปนาพระอุรังคธาตุ ที่ภูกำพร้าตอนหนึ่งดังนี้ “...วัสสวลาหกเทวบุตร พาบริวารนำเอาหางนกยูงเข้าไปฟ้อนถวายบูชาเทวดาทั้งหลาย ลางหมู่ขับ ลางหมู่ดีดสีตีเป่าถวายบูชา นางเทวดาทั้งหลายถือหางนกยูงฟ้อนและขับร้องถวายบูชา...” ภาพของนางเทวดาถือหางนกยูงรำน่าจะเป็นร่องรอยวรรณกรรมที่เกี่ยวเนื่องไปถึง คติความเชื่อ ที่แฝงอยู่ในภาพสลักบนกลองมะโหระทึกของชาวอุษาคเนย์ โดยที่ภาพสำคัญดังกล่าวได้ตกทอด เผยแผ่ไปยังดินแดนตอนเหนือของแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมสำริดประเภทนี้ และนั่นก็แสดงว่าถ้าร่องรอย วรรณกรรมมีอยู่จริง เวียงนกยูง กิ่ง อ.โพธิ์ตากก็น่าจะเป็นชุมชนโบราณยุคแรก ๆ ของอุษาคเนย์ ที่มีพัฒนาการทางสังคม การเมือง การปกครอง การค้า รวมทั้งเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมมา ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์เลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังมีนิทานชาดกเรื่อง ท้าวสีทน - มโนราห์ เล่ากันต่อมาถึงร่องรอยบ้านเมืองแถบนี้ว่า ท้าวสีทน เจ้าเมืองเปงจาน พบรักกับนางมโนราห์ (น่าจะหมายถึงกินรี หรือหญิงที่มีขนนกเป็นอาภรณ์) ธิดาแห่งเมืองภูเงิน ซึ่งท่านปลัดสิทธิพร ณ นครพนม ได้วิเคราะห์ย้ำลงไปในร่องรอยวรรณกรรมเรื่องนี้ว่า ไม่แน่นัก เวียงนกยูง หรือเวียงโหม่ง หรือเวียงที่ห้วยโมง อาจจะเป็นเมืองของนางมโนราห์นี้เอง เปงจานนครราช กิ่งอำเภอรัตนวาปีปัจจุบัน บริเวณที่ทำการนิคมสร้างตนเอง ยังมีเสมาหินขนาดใหญ่เหลืออยู่ชิ้นหนึ่งที่เหลือรอดจากการกวาดทิ้งลงแม่น้ำ โขงเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าพ่อเปงจาน” มีอายุอยู่ในยุคทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่ฐานมีอักษรปัลลวะอินเดียจารึกไว้ แต่เลอะเลือนจนอ่านไม่ได้

ที่ท่องเที่ยวในจังหวัด

  • สะพานมิตรภาพไทย ลาว เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • วัดศรีชมภูองค์ตื้อ เขต/อำเภอท่าบ่อ 
  • หาดจอมมณี เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • ตลาดท่าเสด็จ เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • วัดอรัญญบรรพต เขต/อำเภอศรีเชียงใหม่ 
  • พระธาตุหล้าหนอง เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • น้ำตกธารทอง หนองคาย เขต/อำเภอสังคม 
  • วนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ เขต/อำเภอสังคม 
  • พระธาตุบังพวน เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • วัดหินหมากเป้ง เขต/อำเภอศรีเชียงใหม่ 
  • ศาลาแก้วกู่ เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • วัดโพธิ์ชัย เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • วัดผาตากเสื้อ เขต/อำเภอสังคม 
  • วัดถ้ำศรีมงคล เขต/อำเภอสังคม 
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • ฟาร์มจระเข้หนองคาย เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • สวนสาธารณะหนองถิ่น เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • ถนนคนเดินหนองคาย เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • น้ำตกท่าลี่ เขต/อำเภอสังคม 

  • สวนสมเด็จย่า มนุษย์สร้างขึ้น เขต/อำเภอ ท่าบ่อ 
  • หาดสีดา อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ บึงโขงหลง 
  • วัดสว่างอารมณ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ ปากคาด 
  • วัดถ้ำศรีมงคล (วัดถ้ำดินเพียง)  วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ สังคม 
  • วัดถ้ำพระ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ บึงกาฬ 
  • วัดภูทอง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ บึงกาฬ 
  • พระธาตุกลางน้ำ (พระธาตุหนองคาย) วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ เมือง 
  • วัดผาตากเสื้อ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ สังคม 
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ บึงโขงหลง 
  • น้ำตกวังน้ำหมอก อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ ศรีเชียงใหม่ 
  • น้ำตกภูถ้ำพระ อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ บุ่งคล้า 
  • บึงจรเข้ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว) อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ บึงโขงหลง 
  • น้ำตกตาดชะแนน (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว) อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ บุ่งคล้า 
  • จุดชมวิวถ้ำพราย (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว) อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ บึงโขงหลง 
  • ถ้ำจันทร์ผา (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว) อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ บึงกาฬ 
  • น้ำตกธารทิพย์ * อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ สังคม 
  • น้ำตกธารทอง * อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ สังคม 
  • ภูทอก * อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ ศรีวิไล 
  • วัดอรัญบรรพต วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ ศรีเชียงใหม่ 
  • วัดหินหมากเป้ง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ ศรีเชียงใหม่ 
  • วิคทอรี่พาร์คกอล์ฟ แอนด์ คันทรี่คลับ กิจกรรม เขต/อำเภอ เมือง 
  • อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ เมือง 
  • อนุสรณ์พระราชนีโรธรังสี หลวงปู่เทศก์ เทศก์รังสี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เขต/อำเภอ เมือง 
  • สะพานมิตรภาพไทย-ลาว *** มนุษย์สร้างขึ้น เขต/อำเภอ เมือง 
  • สวนสาธารณะหนองถิ่น ** มนุษย์สร้างขึ้น เขต/อำเภอ เมือง 

  • [หน้าต่อไป]  [หน้าสุดท้าย
    ไปหน้าที่ | 1  2 
    วัดในจังหวัด
  • วัดอุดมวัน เขต/ตำบล คอกช้าง สระใคร หนองคาย 
  • วัดตาหมู เขต/ตำบล โพนทอง โพธิ์ตาก หนองคาย 
  • วัดอรัญญา เขต/ตำบล โพธิ์ตาก โพธิ์ตาก หนองคาย 
  • วัดโนนสำราญ เขต/ตำบล พระบาทนาสิงห์ รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดหนองลาด เขต/ตำบล บ้านต้อน รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดดงเล้า เขต/ตำบล บ้านต้อน รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดสิริมงคล เขต/ตำบล โพนแพง รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดสิริมงคล เขต/ตำบล โพนแพง รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดดงเล้า เขต/ตำบล บ้านต้อน รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดเสตมงคล เขต/ตำบล นาทับไฮ รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดโพนคำ เขต/ตำบล โพนแพง รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดวารีพิมุข เขต/ตำบล รัตนวาปี รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดป่าศรีอรุณ เขต/ตำบล พระบาทนาสิงห์ รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดมงคลนิมิตร เขต/ตำบล รัตนวาปี รัตนวาปี หนองคาย 
  • วัดจันทรังษี เขต/ตำบล หนองหลวง เฝ้าไร่ หนองคาย 
  • วัดทองอุทัยราษฎร์ เขต/ตำบล บุ่งคล้า บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดศรีสุมังวราราม(ศรีสุมังคลาราม) เขต/ตำบล หนองเดิ่น บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดสิริธรรมทาน เขต/ตำบล บุ่งคล้า บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดจันทร์เดชบำรุง (ใหม่โนนหนองบัว) เขต/ตำบล บุ่งคล้า บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดซำบอนวราราม เขต/ตำบล บุ่งคล้า บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดอภินันทวราราม เขต/ตำบล โคกกว้าง บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดดาราศรี เขต/ตำบล บุ่งคล้า บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดท่าส้มโฮงพัฒนาราม เขต/ตำบล โคกกว้าง บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดวงศ์สง่าวันทาราม เขต/ตำบล โคกกว้าง บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดเจริญสุขศรีนวนคำประดิษฐ์ เขต/ตำบล บุ่งคล้า บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดธรรมรักขิต เขต/ตำบล หนองเดิ่น บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดนิโคธาราม เขต/ตำบล โคกกว้าง บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดบึงสาราษฎร์ เขต/ตำบล โคกกว้าง บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดศรีสุมณฑารักษ์ เขต/ตำบล หนองเดิ่น บุ่งคล้า หนองคาย 
  • วัดจอมศรี เขต/ตำบล บุ่งคล้า บุ่งคล้า หนองคาย 

  • More...

    ไปไหนในท้องที่ หนองคาย

    สถานพยาบาล
  • สถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดหนองคาย
  • ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองหนองคาย
  • รพ.หนองคายวัฒนา
  • รพ.รวมแพทย์หนองคาย
  • รพ.หนองคาย
  • สสอ.เมืองหนองคาย
  • สสจ.หนองคาย
  • รพ.บ้านแพง
  • รพร.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
  • รพ.สระใคร
  • รพ.บุ้งคล้า
  • รพ.ศรีวิไล
  • รพ.บึงโขงหลง
  • รพ.ปากคาด
  • รพ.เซกา
  • รพ.สังคม
  • รพ.ศรีเชียงใหม่
  • รพ.โซ่พิสัย
  • รพ.โพนพิสัย
  • รพ.พรเจริญ
  • รพ.บึงกาฬ

  • สถานศึกษา
  • โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม 
  • โรงเรียนบ้านคำสมบูรณ์ 
  • โรงเรียนบ้านนาขาม 
  • โรงเรียนบ้านโสกโพธิ์โสกพอก 
  • โรงเรียนบึงของหลงวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านท่าสีไค 
  • โรงเรียนบ้านดงบัง 
  • โรงเรียนบ้านดงโทน 
  • โรงเรียนหนองสิมโนนสวรรค์ 
  • โรงเรียนบ้านนาอ่าง 
  • โรงเรียนอนุบาลสาสนสิทธิ์อำนวย 
  • โรงเรียนท่าดอกคำวิทยาคม 
  • โรงเรียนหนองแสงประชาสรรค์ 
  • โรงเรียนโนนสาสวรรค์ 
  • โรงเรียนบ้านเหล่าหมากผาง 
  • โรงเรียนบ้านท่าดอกคำ 
  • โรงเรียนบ้านท่าไร่ไทยเจริญ 
  • โรงเรียนบ้านหนองฮูฝอยลม 
  • โรงเรียนบ้านดงชมภู 
  • โรงเรียนบ้านบัวโคก 
  • โรงเรียนภูทอกวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านคำไชยวาล 
  • โรงเรียนกัลยาณิวัฒนา 2 
  • โรงเรียนบ้านนาคำแคน 
  • โรงเรียนบ้านนาแสง 
  • โรงเรียนศรีวิไลวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านนาสิงห์ 
  • โรงเรียนบ้านนาทราย 
  • โรงเรียนบ้านหนองจิก 
  • โรงเรียนบ้านหนองบัวงาม 
  • โรงเรียนบ้านนาสะแบง 
  • โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล 
  • โรงเรียนบ้านหนองจันทน์ 
  • โรงเรียนบ้านโนนม่วง 
  • โรงเรียนบ้านห้วยลึก 
  • โรงเรียนบ้านโคกสำราญพรสวรรค์ 
  • โรงเรียนบ้านชุมภูพรโสกก่าม 
  • โรงเรียนบ้านกุดบง 
  • โรงเรียนชุมชนบ้านหนองยองวิทยา 
  • โรงเรียนสิริภัทรวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านบะยาวราษฎร์นุเคราะห์ 
  • โรงเรียนหนองยองพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก 
  • โรงเรียนบ้านดาลบังบด 
  • โรงเรียนบ้านไร่โนนสำราญ 
  • โรงเรียนบ้านโสกบง 
  • โรงเรียนบ้านนาดง 
  • โรงเรียนบ้านศรีสว่างพัฒนา 
  • โรงเรียนชุมชนสมสนุก 
  • โรงเรียนสมาคมสื่อมวลชนกีฬาสมัครเล่นและดาร 
  • โรงเรียนบ้านพรสวรรค์ 
  • โรงเรียนบ้านโนนเสถียร 
  • โรงเรียนบ้านหนองบัว 
  • โรงเรียนบ้านนากั้ง 
  • โรงเรียนบ้านต้าย 
  • โรงเรียนสมสนุกพิทยาคม 
  • โรงเรียนปากคาดพิทยาคม 
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้ซอด 
  • โรงเรียนอนุบาลปากคาด 
  • โรงเรียนบ้านห้วยก้านเหลือง 
  • โรงเรียนหนองหัวช้างวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านโคกหนองลาด 
  • โรงเรียนบ้านเหล่าใหญ่ 
  • โรงเรียนบ้านนาคำนาใน 
  • โรงเรียนศรีสำราญวิทยาคม 
  • โรงเรียนอนุบาลพรเจริญ 
  • โรงเรียนชุมชนบ้านโคกอุดม 
  • โรงเรียนบ้านใหม่ศรีชมภู 
  • โรงเรียนบ้านปรารถนาดี 
  • โรงเรียนพรเจริญวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านสร้างคำ 
  • โรงเรียนบ้านวังยาว 
  • โรงเรียนบ้านโคกนิยม 
  • โรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง 
  • โรงเรียนบ้านนาซาว 
  • โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ 
  • โรงเรียนบ้านท่าศรีชมชื่น 
  • โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย 
  • โรงเรียนบ้านหนองผักแว่น 
  • โรงเรียนบ้านโนน 
  • โรงเรียนบ้านดงเสียด 
  • โรงเรียนสันติสุขเจริญราษฎร์ 
  • โรงเรียนบ้านโคกสว่าง 
  • โรงเรียนบ้านดอนหญ้านาง 
  • โรงเรียนศรีชมภูวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านโนนประเสริฐ 
  • โรงเรียนบ้านนาขาม 
  • โรงเรียนบ้านศรีชมภู 
  • โรงเรียนบ้านแสงอรุณ 
  • โรงเรียนบ้านโคกกลาง 
  • โรงเรียนบ้านคำไผ่ 

  • More..

    ร้านของฝาก/ที่ระลึก
  • มนตรา (Montra) เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • หัตถกรรมสิ่งทอ สาขา 1 เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • หัตกรรมสิ่งทอ สาขา 2 เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • นิศาชล เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • มุมเงิน เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • กาบเงิน เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • หมูยอแม่ถ้วน สาขา 1 เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • หมูยอแม่ถ้วน สาขา 2 เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • ราชาไส้กรอก เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • ฟ้าใหม่ไส้กรอก เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • หมูยอชื่นจิต เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 
  • พรทิพย์ เขต/อำเภอเมืองหนองคาย 

  • บริษัท / ห้าง /ร้าน
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดดี แอนด์ ดี อินทีเรียร์ คอนสตรัคชั่น
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจ พี เอ็น
  • บริษัท เขตเจริญ ชิปปิ้ง จำกัด
  • บริษัท หลิวโก้ ฟาร์ม แอนด์ ฟู้ดส์ จำกัด
  • บริษัท แม่น้ำโขง คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • บริษัท ท่าบ่อไนท์พลาซ่า จำกัด
  • บริษัท แม่โขง สมาร์ท จ๊อบ จำกัด
  • บริษัท เอทีพี.พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดถิ่นนาเวียง เอ็นจิเนียริ่ง
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดหนองคายกิจพัฒนา
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดมิสเตอร์เวเคชั่น
  • บริษัท ทริปเปิลไนน์ อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด
  • บริษัท ซิม คอนโด จำกัด
  • บริษัท เวชกรรม หนองคาย จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดพีวีวี กรุ๊ป
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดเวิลด์เซอร์วิสเคลม
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดท็อป ทีม เซอร์วิส 2014
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดพลอยใส 99 อินเตอร์เทรด
  • บริษัท ศรีเชียงใหม่กรีนพาวเวอร์ จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรนพคุณเอ็นจิเนียริ่ง
  • บริษัท เอ็นเค ออโต้ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอ เอ็น เคมิคอล แอนด์ โปรดักส์
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญโฮมเอ็นจิเนียริ่ง
  • บริษัท พราวด์ ไอเดีย จำกัด
  • บริษัท สายฝน อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ จำกัด
  • บริษัท ฟู้ด33 สตอรี เอ็กซ์ปอร์ต-อิมปอร์ต จำกัด
  • บริษัท ไฮ พาร์ค จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดฮักแพง เอ็กซ์พอร์ต
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอ็น เค ไลอ้อนก่อสร้าง
  • บริษัท จอมศรีมหาโชค จำกัด
  • บริษัท แมททีเรียล พลาสติ้ง แอนด์ รีไซค์ จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดแอดไวซ์ โพนพิสัย
  • บริษัท เอ็น พี คอร์ป จำกัด
  • บริษัท อินทรี ท่าบ่อคอนกรีต จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดห้องเย็น เอ.พี.ฟู้ดส์
  • บริษัท โฟมาร์ท จำกัด
  • บริษัท เจียงพาณิชย์ จำกัด
  • บริษัท คูโบต้าเจียงหนองคาย จำกัด
  • บริษัท ศรีเชียงใหม่ โฮลดิ้ง จำกัด
  • บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ เฟิร์ม จำกัด

  • More..
    หนองคาย


    ไปหน้าที่ | 1