ค้นข้อมูล
Home Thailand Data ข้อมูลจังหวัด สถานพยาบาล สถานศึกษา แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า บริษัท ศาสนสถาน ข้อมูลภาครัฐ Login

Forest

พังงา
Phangnga


คำขวัญ พังงา : แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร
ภาคใต้
พื้นที่4170.895 ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากร 116485 ครัวเรือน
ประชากรชาย 134192
ประชากรหญิง 134596
ประชากรรวม 134192
Phangnga จังหวัดพังงาเดิมเชื่อวันว่าชื่อ "เมืองภูงา" ตามชื่อเขางาหรือเขาพังงาหรือกราภูงา หรือ พังกา (ภาษามลายู แปลว่า ป่าน้ำภูงา) ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดพังงาปัจจุบัน ในสมัยก่อนเมืองภูงาขึ้นอยู่กับเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยรัชกาลที่ 2 ชื่อของเมืองภูงาได้ปรากฎอยู่ในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองขึ้นฝ่ายกรมพระสุรัสวดีฝ่ายซ้าย เมืองภูงานี้อาจจะตั้งชื่อให้คล้องจองกับเมืองภูเก็ต และเหตุที่เมืองภูงากลายเป็นเมืองพังงานั้น สันนิษฐานกันว่าน่าจะเนื่องมาจากเมืองภูงาเป็นเมืองที่มีแร่อุดมสมบูรร์ มีชาวต่างชาติมาติดต่อซื้อขายแร่ดีบุกกันมาก และช่าวต่างชาติเหล่านี้คงออกเสียงเมืองภูงาเป็นเมืองพังงา เพราะแต่เดิมช่าวต่างชาติเขียนชื่อเมืองภูงาว่า Phunga หรือ Punga อ่านว่าภูงา หรือพังงา หรือ พังกา ก็ได้


turtleชุมชนในอดีต

ในท้องที่จังหวัดพังงาปัจจุบัน มีชุมชนขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเมืองมาแล้วถึง 4 เมืองเป็นอย่างน้อย คือ เมืองพังงา เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองคุระคุรอด (หรือคุระบุรี) ซึ่งปัจจุบันชุมชนเหล่านี้มีฐานะเป็นอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพังงา ชุมชนเหล่านี้เกิดขึ้นในยุคสมัยที่แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะเมืองตะกั่วป่า เชื่อกันว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์อำนาจปกครองท้องถิ่นมาตั้งแต่ยุคโบราณที่เริ่มมีการขนถ่ายผู้โดยสารและสินค้าข้ามคาบสมุทรจากตะกั่ววป่า ผ่านเขาสก แม่น้ำหลวง มาออกเมืองไชยาในระยะแรกๆ และชื่อของเมืองตะกั่วป่าในระยะนี้เรียกว่าเมือง “ตะโกลา” ที่ตั้งของตัวเมืองอยู่ที่บ้านทุ่งตึก หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะคอเขา อำเภอคุระบุรี ไม่ใช่ที่ตะกั่วป่าปัจจุบัน

สำหรับเมืองพังงา ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และคุระบุรี ทีมีการสืบทอดต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบันเป็นชุมชนที่เกิดจากการขยายตัวของการผลิตและค้าแร่ดีบุกในสมัยอยุธยา ชุมชนเหล่านี้มีฐานะเป็นเมืองขนาดเล็กขึ้นกับเมืองถลาง และอยู่ในความดูแลของหัวเมืองชายฝั่งตะวันออกโดยเฉพาะเมืองนครศรีธรรมราช หรือไม่ก็ส่งขุนนางผู้ใหญ่จากเมืองหลวงออกไปปกครองโดยตรง เช่น ระหว่างปี พ.ศ. 2319 – 2352 จนกระทั่งพม่าเผาทำลายเมืองถลางและเมืองขึ้นเสียหายอย่างหนักในปี พ.ศ.2352 จึงมีการรวบรวมผู้คนขึ้นใหม่ที่เมืองพังงา จากจุดนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของเมืองต่างๆ โดยเฉพาะเมืองพังงา ตะกั่วป่า และตะกั่วทุ่งยุคใหม่

ก่อนปี พ.ศ.2352 เมืองพังงามีฐานะเป็นเพียงแขวงขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า “กราภูงา” หรือบ้านปากน้ำพังงาเป็นทางผ่านจากถลาง ตะกั่วทุ่ง กราภูงา ข้ามเขานางหงส์ไปออกปากลาว ปากพนม แม่น้ำหลวง และเมืองไชยา ในพงศาวดารเมืองถลางกล่าวถึงอาณาบริเวณที่เป็นเมืองพังงาไว้ว่า “เมืองพังงานี้เดิมเป็นเมืองช่องแขวงพื้นเมืองตะกั่วป่า เอาคลอง ถ้ำ แม่น้ำ เป็นแดนคนละฟาก ฝ่ายเหนือน้ำตลอดเข้าป่าดง ใต้น้ำลงไฟฝ่ายลำคลองถ้ำข้าบูรพ์ ได้กับเมืองพังงา ลำคลองตลอดจนไปถังพระอาดเถ้า เกาะยาง เกาะพิงกัน เป็นแขวงเมืองพังงา...ฝ่ายอุดรเมืองพังงา เขาเขมาเหล็กเป็นแดนเฉียงอิสาน ก็ราสูง สองแรกเป็นเขตแดนเมืองพังงา”

หลังจากพม่าเผาทำลายเมืองถลาง ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ในปี พ.ศ.2352 บ้านเมืองเสียหายอย่างหนัก ชาวเมืองแตกตื่นหลบหนีพม่าไปอาศัยอยู่ในป่าดง และเมืองต่างๆ จึงไม่สามารถจัดตั้งเมืองถลางในเกาะภูเก็ตได้ ต้องใช้วิธีรวบรวมผู้คนที่เมืองพังงาก่อน ในปี พ.ศ.2354 พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมหมื่นศักดิพลเสพย์ ผู้กำกับราชการกรมพระสมุหกลาโหม ได้อาสาต่อทางราชธานีที่จะเป็นผู้จัดตั้งเมืองถลางขึ้นใหม่ ซึ่งหวังที่จะได้ผลประโยชน์จากการทำเหมืองแร่ในเกาะภูเก็ต แต่เนื่องจาก “เมืองถลางยับเยินมาก ถึงจะจัดแจงตั้งได้แต่ใน 2 หรือ4 ปี ก็ยังหาเต็มภาคภูมิเหมือนแต่ก่อนไม่” จึงทำให้ทาฝ่ายรัฐบาลต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งในที่สุดก็ตัดสินใจให้พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เป็นแต่เพียงผู้ดูแลหัวเมืองถลางและเมืองขึ้นอื่นๆ ส่วนภารกิจในการจัดตั้งเมืองถลางที่พังงานั้นได้มอบให้พระวิเชียรภักดี (เจิม) อดีตยกกระบัตรเมืองตะกั่วทุ่งเป็นผู้ดำเนินการโดยตรง โดยแต่งตั้งให้พระวิเชียรภักดี (เจิม) เป็นผู้ว่าราชการเมืองถลางที่พังงาในปีเดียวกัน

turtleการก่อตั้งเมือง

การจัดตั้งเมืองถลางที่พังงาครั้งนั้นต้องพบกับปัญหาต่างๆ หลายประการ เป็นต้นว่า ปัญหาขาดแคลนข้าวบริโภค ต้องพึ่งจากเมืองไทรบุรีและกรุงเทพฯ ปัญหาการคุกคามจากพม่าซึ่งยังส่งเรือรบและกองกำลังย่อยๆ ออกมาจับผู้คนที่ตะกั่วป่าและกะเปอร์ไปสืบข่าวคราวอยู่บ่อย ๆ และปัญหาเกี่ยวกับราษฎรและกรมการเมืองที่ตั้งไว้แล้วไม่ยอมไปอยู่ประจำที่เมืองพังงา เพราะยังเป็นเมืองที่ทุรกันดารและห่างไกลสุดหล้าฟ้าเขียวอยู่ทางฝ่ายรัฐบาลกลาง ต้องมีสารตราออกมาบังคับบัญชาให้เจ้าเมืองต่างๆ ทางภาคใต้ “ขับต้อนพระหลวง กรมการและราษฎรขึ้นไป ณ ที่กราภูงา ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ด้วยพระถลาง” ทุกเมืองและเมืองละหลายๆ ครั้ง โดยเฉพาะเมืองนครศรีธรรมราชถึงแม้ไม่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดตั้งโดยตรง แต่ต้องรับภาระเป็นพี่เลี้ยงดูแลความปลอดภัยของเมืองถลางที่พังงาอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะตั้งตัวได้ ซึ่งก็เสียเวลานานหลายปี และจากความดีความชอบที่อุตส่าห์ตั้งเมืองถลางครั้งนั้น ในปี พ.ศ.2356 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศพระวิเชียรภักดี (เจิม) เจ้าเมืองถลางขึ้นเป็นพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ประสิทธิสงคราม (เจิม) ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งในสารตราของเจ้าพระยาอัครมหาเสนาสมุหพระกลาโหม ที่มีไปถึงพระปลัดและกรมการเมืองถลาง ในปี พ.ศ.2356 ตอนหนึ่งว่า “แลซึ่งพระวิเชียรภักดี (เจิม) มีน้ำในอุตสาหะตกแต่งให้ไพร่พลเมืองขึ้นไปตั้งอยู่ ณ ที่กราภูงา เป็นภาคภูมิลงได้ดังนี้ พระวิเชียรภักดีมีความชอบ ทรงพระกรุณาให้เลื่อนพระวิเชียรภักดี เป็นพระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ประสิทธิสงคราม (เจิม) พระยาถลาง พระราชทานสัปทนสักกะหลาดแดงคันหนึ่ง เสื้อมังกรสีตัวหนึ่ง ผ้าปูม ผืนหนึ่ง กระบี่บั้งทองเล่มหนึ่งให้แก่พระยาถลาง

ในระยะตั้งเมืองถลางที่พังงา ในปี พ.ศ.2365 ร้อยเอกเจมส์ โลว์ หัวหน้าคณะทูตของผู้ว่าการเกาะปีนัง ที่รับหน้าที่มาเจรจาปัญหาเมืองไทรบุรีกับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ที่เมืองตรัง ได้เดินทางไปเยี่ยมเมืองพังงาในระยะที่รอคำตอบจากนครศรีธรรมราช และได้บันทึกเกี่ยวกับเมืองพังงาไว้มากมายหลายประการ เป็นต้นว่า “หุบเขาพังงามีความยาวประมาณ ๓ไมล์ กว้างไม่เกิน ๒ ไมล์ ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวผสมกับดินสีแดง และดูเหมือนจะอุดมสมบูรณ์ เนื้อที่ตอนที่กว้างใหญ่ที่สุดของหุบเขามีบรรดากระท่อมกับเรือกสวนตั้งอยู่ส่วนพื้นที่ตรงอื่นๆ เป็นทุดงนา และทุ่งหญ้าเลี้ยงควาย เมืองพังงามีผู้คนไม่เกิน ๗๐ หลังคาเรือน มีประชากรระหว่าง ๖,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ คน เป็นชาวจีนประมาณ ๓๐ หลังคาเรือน หรือประมาณ ๖๐๐ คน ๒ ใน ๓ของชาวจีนเป็นชาวหมาเก๊า มีชาวมลายูหลายร้อยคนกระจัดกระจายอยู่ในอ่าวปากน้ำ เพราะคนไทยไม่ยอมให้อาศัยอยู่ใกล้ตัวเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ทำงานรับจ้างที่เหมืองแร่ เป็นระยะเวลาครึ่งปีแล้วกลับไปเก็บเกี่ยวข้าวในระหว่างเวลาที่เหลือ เจ้าเมืองส่งคนไทยไปทำงานที่เหมืองแร่เท่าที่พอใจ และคนเหล่านั้นจะได้รับแต่เพียงอาหารเท่านั้น สินแร่ที่ขุดได้จะนำไปขายให้แก่ผู้รับเหมาชาวจีน และผลกำไรก็ตกอยู่แก่เจ้าเมือง การน้ำสินแร่ลงมาข้างล่างนั้นบรรทุกมาบนหลังช้างหรือไม่ก็เรือมาด ซึ่งใช้เวลา ๒ หรือ ๓ วัน...อย่างไร ก็ตามบรรดานายเหมืองชาวจีนไม่ต้องเสียภาษี พวกจีนนั้นมักพอในที่จะได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษภายใต้รัฐบาลสยามซึ่งพลเมืองโดยกำเนิดไม่ได้รับ พวกเขาได้รับการยกเว้นหน้าที่ซึ่งชาวสยามทุกคนถูกบังคับให้รับใช้รัฐเมื่อถูกเรียกร้อง ไม่ว่าจะในการเข้ารับราชการทหาร ช่างฝีมือ หรืองานกรรมกรรายวัน...

ถึงแม้เจ้าเมืองพังงา ถือประโยชน์เอาจากอำนาจที่เขาได้รับและสร้างความร่ำรวยให้แก่ตัวเอง จากค่าใช้จ่ายของข่าวไพร่ผู้คนของเขาก็ตามแต่การปกครองของเขายังไม่กดขี่มากเท่ากับการปกครองของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และประชาชนก็ยังมีความผูกพันต่อเขามากกว่า หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือประชาชนไม่เกลียดเขารุนแรงมากเหมือนที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราชเกลียดชังเจ้าเมืองของตน...บรรดาสตรีที่พังงาเก็บตัวอยู่สันโดษมากกว่าสตรีที่ถลาง ทั้งนี้เพราะพวกผู้ชายในประเทศสยามไม่มีนิสัยอิจฉาริษยา ผู้หญิงในประเทศนี้ถูกปล่อยให้มีเสรีภาพมาก แต่...ข้อกำหนดที่พวกผู้ชายต้องมีหน้าที่รับใช้บ้านเมืองปีละหลายเดือน พวกผู้หญิงจึงต้องแบกภาระงานหนักต่างๆ ที่พวกผู้ชายต้องทำเอาไว้ ฉะนั้นพวกผู้หญิงเหล่านี้ก็ย่อมจำเป็นอยู่เองที่จะต้องหาเลี้ยงตนเอง ขณะที่สามีของตนไม่อยู่ หญิงพวกนี้ ต้องทำนา ปลูกผัก และทอผ้า หรือมิฉะนั้นก็ค้าขายในตลาดเล็กๆ

เจ้าเมืองพังงา มีผู้ช่วย ๒ คน มีรายได้จากแรงงานของประชาชน เท่าที่จะหาได้จาการค้าขายส่วนตัวของเขา และเรียกเอาจากการซื้อขายของบรรดาพ่อค้าต่างด้าวที่เมืองนี้ เจ้าเมืองพังงามีสำเภาจีน ๓ ลำ ซึ่งไปค้าขายยังปีนัง เรือสำเภาเหล่านี้บรรทุกดีบุก ข้าวและสิ่งของสินค้าพื้นเมืองเล็กๆ น้อยๆ ไปยังเกาะปีนัง ขากลับก็บรรทุกผ้า ผ้าดอกสีต่างๆ สำหรับหุ้มเก้าอี้ เครื่องแก้ว และเครื่องหัตถกรรมอื่นๆ มา เจ้าเมืองพังงามิได้ถวายเงินแก่พระเจ้าแผ่นดินเป็นประจำ แต่เขาส่งไปถวายเมื่อสิ้นกำหนด ทุก ๓ หรือ๔ ปี หรือมิฉะนั้นก็นำเอาของมีค่าไปถวายพระองค์ แน่นอนทีเดียวพระเจ้าแผ่นดินทรงได้รับผลกำไรทั้งหมด ซึ่งเพิ่มพูนงอกเงยขึ้นจากการขายดีบุก”

หลังจากปี พ.ศ.2352 ภัยจากการคุกคามของพม่าลดลงไปมาก มีแต่ส่งกองเรือลาดตระเวนออกมาจับคนเท่านั้น ไม่มีการส่งกองทัพใหญ่มาอีก เพราะพม่าเริ่มขัดแย้งกับบริษัทอังกฤษในอินเดีย และในปี พ.ศ.2369 พม่ารบแพ้อังกฤษต้องสูญเสียมณฑลอาระกันและตะนาวศรีให้แก่อังกฤษ ในระยะเดียวกันนั้นเอง ทางฝ่ายรัฐบาลจึงได้ย้ายผู้คนจากพังงาไปตั้งเมืองถลางขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2367 และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยา (กลับ) ไปเป็นเจ้าเมืองพังงาระหว่างปี พ.ศ.2367 – 2383 ต่อมาพระยาไชยา (กลับ) มีความผิดถูกถอด เพราะสนิทสนมกับกรมหลวงรักษ์รณเรศ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) อดีตเจ้าเมืองไทรบุรีมาเป็นเจ้าเมืองพังงา จึงมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองส่วนภูมิภาคทางหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกตอนบนอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือ ยกเมืองพังงาขึ้นเป็นเมืองโท ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้เมืองถลาง ตะกั่วทุ่ง และตะกั่วป่า ขึ้นตรงต่อเมืองพังงา จนกระทั่งพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2404 โปรดเก้าฯให้พระยาเสนานุชิต (นุช) อดีตผู้ช่วยราชการเมืองไทรบุรี พังงาและเจ้าเมืองตะกั่วป่าในขณะนั้นเป็นเจ้าเมืองพังงา แต่พระยาเสนานุชิต (นุช) น้องชายร่วมมารดาของพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) ไม่ยอมไปรับตำแหน่งที่เมืองพังงา โดยอ้างว่าเคยชินกับเมืองตะกั่วป่า จึงขออยู่ที่เดิม ทางฝ่ายรัฐบาลกลางจึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองหัวเมืองเหล่านั้นเสียใหม่ กล่าวคือยกเมืองตะกั่วป่าขึ้นเป็นเมืองโทแทนเมืองพังงา มีพระยาเสนานุชิต (นุช) เป็นเจ้าเมือง แยกเมืองพังงาและถลางออกจากตะกั่วป่า ยกเป็นเมืองตรี ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ) บุตรชายคนโตของพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) เป็นเจ้าเมืองพังงาระหว่างปี พ.ศ.2404 – 2437

turtle สมัยกรุงรัตนโกสินทร์-ปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2383 เป็นต้นมา เมืองพังงาค่อยๆ ขยายตัวเจริญขึ้นตามลำดับ จาการสนับสนุนส่งเสริมโดยตรงจากรัฐบาลกลาง ดังจะเห็นได้จากตอนที่ถอนพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) มาเป็นเจ้าเมืองพังงา ก็โปรดเกล้าฯ ให้ถอน “ผู้คนแขกเก่าที่ไว้ในสนิท เคยรับใช้สอยอยู่กับ พระยาไทร (แสง) นั้น ก็จัดแจงให้พระยาไทรมาบ้าง จะได้เป็นกำลังราชการมากขึ้นข้างเมืองพังงา ถ้ามันเป้ฯคนผิดและไว้ใจมิได้ก็ผ่อนเอาเข้ามาเสีย ให้มีกำลังเมืองไทยอยู่แต่น้อย และกำปั่นเรือรบ เรือไล่ ปืนใหญ่ ปืนน้อย เครื่องศาสตราวุธ ของพระยาไทรมีอยู่เท่าไร ก็ผ่อนจัดแจงให้พระยาไทรมา เสียให้สิ้น” นอกจากนี้ยังมอบอำนาจให้แก่พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพังงา และหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกตอนบนหลายเมือง มีศักดินาสูงถึง 10,000 ในฐานะเจ้าเมืองโท ความมั่งคั่งรุ่งเรืองของเมืองพังงาไม่ได้เกิดขึ้นจากท้องที่ตัวเมืองแต่ขึ้นกับเมืองขึ้นมากกว่า กล่าวคือ บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ดีบุกจริงๆ นั้น อยู่ที่เมืองถลาง ภูเก็ต และตะกั่วป่ามากกว่าที่พังงา ดังนั้นเมื่อแยกเมืองเหล่านั้นออกไปในปี พ.ศ.2404 ฐานะของเมืองพังงาจึงลดเป็นเมืองตรี เจ้าเมืองมีศักดินาลดลงเหลือเพียงราว 5,000 เท่านั้น ความมั่งคั่งของบ้านเมืองและเจ้าเมืองคงลดลงไปด้วย ดังจะเห็นได้จากในสมัยรับกาลที่ 4 เมืองพังงาเคยรับประมูลทำภาษีปีละ 26,960 บาท เท่ากับเมืองตะกั่วป่าและมากกว่าเมืองภูเก็ต แต่ครั้นถึงปี พ.ศ.2415 เงินภาษีเมืองภูเก็ตสูงขึ้นถึงปีละ 336,000 บาท แต่เมืองพังงากลับสูงขึ้นเล็กน้อย คือรวมปีละ 29,920 บาทเท่านั้น และได้โอนภาษีเมืองตะกั่วทุ่งไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าในปีเดียวกันด้วย

ในปี พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองพังงา ในระยะที่บ้านเมืองสงบ มีสันติสุขพอควรแก่อัตภาพ ได้ทรงบันทึกเกี่ยวกับสภาพของเมืองพังงาในระยะนี้ไว้อย่างน่าสนในว่า “เมืองพังงาไม่เหมือนเมืองอื่น เห็นเขารอบข้าง เป็นเขาสูงๆ ถึงสัก ๘๐๐ ฟิตก็มี ช่องออกไปตะกั่วป่าทาง ๑ ต้องขึ้นเขาสูง ทางไปปากลาวที่ช่องเขานางหงส์ก็เป็นเขาสูงเหมือนกัน เป็นไปมาสะดวกแต่อยู่แต่ตะกั่วทุ่ง...เหมืองดีบุกที่นี่ทำมาช้านาน แต่แร่ที่ดีหมดไป เสียมาก โรยมานานแล้ว เดี๋ยวนี้มีจีนทำอยู่หมดด้วยกัน ๖๐๐ คนเศษ เหมืองใหญ่มีอยู่ ๒ เหมือง คนประมาณ ๓๐ – ๔๐ คนว่าทำเหมืองครากันโดยมาก...ฝนตกมากกว่าเมืองอื่นๆ เพราะเขาสูงล่อให้ตก นาข้างเหนือน้ำมักจะดี ข้างใต้แล้วมักจะเสียด้วยล่มน้ำเป็นพื้น ที่นาก็มีน้อยเหมือนเมืองอื่นๆ ข้าวพม่าเข้าเมืองปีหนึ่ง ๘,๐๐๐ กุหนี หรือ ๕๗๒ เกวียน มากพอใช้ เราชวนให้คิดอ่านปลูกต้นไม้อื่นที่เป็นสินค้าแทนนา พระยาบริรักษ์ (ขำ) เป็นคนแม่นยำและรู้การในบ้านเมืองมากจริง ถามอะไรไม่จนและไม่คลาดเคลื่อน ระวังผิดอย่างเอก...พวกผู้หญิงมาหาคือสุ่นที่พระยาบริรักษ์ (ขำ) กับเป้าน้องที่เฆี่ยนคนตาย เมียชื่ออินเป็นคนในวัง...กับมีพีน้องมาอีกหลายคนด้วยกัน ดูค่อยคล่องแคล่วกว่าพวกตะกั่วป่า...ที่พังงาเขามีผู้หญิงมาก ทำกับข้าวไทยได้ดีๆ เพราะมักจะเป็นชาววังชุม...ให้ตราจุลสุราภรณ์ พระยาบริรักษ์ (ขำ) เพราะเป็นเจ้าเมืองมานานรู้การงานมากแล้วรักษาถนนรนแคมไม่ทรุดโทรม”

จากบุคลิกลักษณะของพระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ) เจ้าเมืองพังงา ซึ่งเป็นคนละเอียดลออรู้การงานในบ้านเมือง และไม่สนใจสะสมเงินทอง การทำเหมืองมีน้อย จึงไม่กระทบกระเทือนเรื่องผลประโยชน์ ในระหว่างปี พ.ศ.2422 – 2433 ซึ่งเจ้าเมืองภูเก็ต ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า กำลังประสบปัญหาเก็บภาษีส่งรัฐบาลได้น้อยกว่าที่ประมูลไว้ บางรายต้องคืนภาษี เช่น เจ้าเมืองภูเก็ต เป็นต้น และบางรายถูกจับตัวไป กักขังเร่งภาษีบ้าง ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ.2435 พระเสนานุชิต (นุช) ค้างภาษีรัฐบาลกลางติดต่อกัน 7 ปี เป็นเงิน 283,315 บาท จึงถูกเรียกตัวไปเร่งเงินภาษีที่ภูเก็ต เป็นต้น แต่ปรากฏว่าเจ้าเมืองพังงาคือพระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ) ซึ่งในขณะนั้น “แก่ชราแล้วจักษุมืดมัวทั้ง 2 ข้าง” สามารถนำเมืองพังงาผ่านมรสุมต่างๆ ไปได้ จนกระทั่งเริ่มมีการปฏิรูปการปกครองมณฑลภูเก็ตในปี พ.ศ.2437 พระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ) ก็ถึงแก่อสัญกรรม การแบ่งท้องที่ในเมืองพังงาออกเป็นอำเภอและตำบลต่างๆ ตามระบบการปกครองแบบใหม่ จึงตกเป็นหน้าที่ของพระเพชรภักดีศรีพิไชยสงครามฯ (พลาย) พระปลัดเมืองพังงา น้องชายพระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ) นั่นเอง ในการแบ่งท้องที่ครั้งนั้น ได้โอนเมืองตะกั่วทุ่งมาเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองพังงา และจัดแบ่งเมืองพังงาออกเป็น 4 อำเภอ 24 ตำบล คือ อำเภอกลางเมือง มี 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลท้ายช้าง ตลาดใหญ่ ฝ่ายท่าตากแดด นบปริง ป่าก่อ ทับแหวน เผล่ ทุ่งคาโงก บางเตย เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ อำเภอทุ่งมะร้าว มี 6 ตำบล คือ ตำบลทุ่งมะพร้าว ลำภี ลำแก่น ท่าซ่อ นาเตย บางคลี อำเภอทับปุดมี 7 ตำบล คือ ตำบลคลองมะรุ่ย เขาเต่า โคกซอย ใสเสียด บางเหรียง บ่อแสน แลถ้ำทองหลาง อำเภอตะกั่วทุ่งมี 8 ตำบล คือ กระโสม ถ้ำกระไหล ท่าอยู่นากลาง โคกกลอย บางหลาน คลองตะเคียน และบางทอง

ในปี พ.ศ.2459 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองพังงาเป็นจังหวัดพังงา และเปลี่ยนตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อมาเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ยุบตะกั่วป่า ซึ่งมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งลงในอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดพังงา และย้ายที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจากที่เดิมซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านชายค่ายไปตั้งที่บ้านท้ายช้างในปี พ.ศ.2473 และปี พ.ศ.2515 ได้ย้ายไปตั้งที่ใหม่ที่หน้าถ้ำพุงช้าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดปัจจุบัน (ปัจจุบันอาคารดังกล่าวถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองพังงา ส่วนอาคารศาลากลางได้สร้างใหม่อยู่บริเวณหน้าเขารุปช้าง *30/10/59) ส่วนชื่ออำเภอเมืองก็เปลี่ยนเป็นอำเภอท้ายช้าง ในปี พ.ศ.2459 และกลับมาเรียกว่าอำเภอเมืองพังงา อีกในปี พ.ศ.2481 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ที่ท่องเที่ยวในจังหวัด

  • น้ำตกโตนต้นไทร เขต/อำเภอคุระบุรี 
  • น้ำตกโตนไพร เขต/อำเภอท้ายเหมือง 
  • วนอุทยานแห่งชาติสระนางมโนห์รา เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • วัดนารายณิการาม เขต/อำเภอกะปง 
  • วัดราษฎร์อุปถัมภ์ เขต/อำเภอทับปุด 
  • สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพังงา เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • ถ้ำลอดใหญ่ เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • สำนักสงฆ์ถ้ำตาปาน เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • ชุมชนชาวมอแกน เขต/อำเภอคุระบุรี 
  • หาดคลองจาก เขต/อำเภอเกาะยาว 
  • หาดท่าเขา เขต/อำเภอเกาะยาว 
  • หาดท้ายเหมือง เขต/อำเภอท้ายเหมือง 
  • หาดบางสัก เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • หาดป่าทราย เขต/อำเภอเกาะยาว 
  • หาดเขาปิหลาย เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • อุทยานแห่งชาติศรีพังงา เขต/อำเภอคุระบุรี 
  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เขต/อำเภอท้ายเหมือง 
  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เขต/อำเภอคุระบุรี 
  • อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • อุทยานแห่งชาติเขาลำปี หาดท้ายเหมือง เขต/อำเภอท้ายเหมือง 

  • อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา  เขต/อำเภอ เมือง 
  • น้ำตกสระนางมโนราห์ อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • น้ำตกโตนปริวรรต/น้ำตกสองแพรก* อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • น้ำตกโตนน้ำฟุ้ง อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • ถ้ำลอดใหญ่ อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • ถ้ำลอดเกาะพนัก อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำเสือ อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • เขาหมาจู อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • เขาตาปู-เขาพิงกัน อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • เขาเขียน อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • เกาะปันหยี* อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • ถ้ำเขางุ้ม หาดทราย ชายทะเล เขต/อำเภอ เมือง 
  • เขาช้างและถ้ำพุงช้าง* อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • เขาช้าง* อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • ตึกเก่าชิโน-โปรตุเกส* อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • เกาะห้อง* มนุษย์สร้างขึ้น เขต/อำเภอ เมือง 
  • เกาะละวะใหญ่ หาดทราย ชายทะเล เขต/อำเภอ เมือง 
  • เกาะทะลุนอก หาดทราย ชายทะเล เขต/อำเภอ เมือง 
  • สำนักสงฆ์ถ้ำตาปาน หาดทราย ชายทะเล เขต/อำเภอ เมือง 
  • เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ เมือง 
  • บ่อน้ำพุร้อนบ้านบ่อดาน อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ ท้ายเหมือง 
  • เขาหลัก อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ ท้ายเหมือง 
  • ศูนย์อนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ ท้ายเหมือง 
  • อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง** มนุษย์สร้างขึ้น เขต/อำเภอ ท้ายเหมือง 
  • หาดท้ายเหมือง อุทยาน ป่าเขา เขต/อำเภอ ท้ายเหมือง 

  • [หน้าต่อไป]  [หน้าสุดท้าย
    ไปหน้าที่ | 1  2  3  4  5 
    วัดในจังหวัด
  • วัดลำปี เขต/ตำบล ท้ายเหมือง ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดดอนปริง เขต/ตำบล นาเตย ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดอินทนิน เขต/ตำบล ทุ่งมะพร้าว ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดนิโรธรังสี เขต/ตำบล ท้ายเหมือง ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดเหมืองประชาราม เขต/ตำบล ท้ายเหมือง ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดหลักแก่น เขต/ตำบล ลำแก่น ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดปัตติการาม เขต/ตำบล ท้ายเหมือง ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดลาภี เขต/ตำบล ลำภี ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดประชุมศึกษา เขต/ตำบล ทุ่งมะพร้าว ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดนิคมสโมสร เขต/ตำบล นาเตย ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดลุมพินี เขต/ตำบล นาเตย ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดหาดทรายสมบูรณ์ เขต/ตำบล ทุ่งมะพร้าว ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดประชาธิการาม เขต/ตำบล นาเตย ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดสุวรรณาวาส เขต/ตำบล บางทอง ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดราชา เขต/ตำบล บางทอง ท้ายเหมือง พังงา 
  • วัดอุทัยราษฎร์บำรุง เขต/ตำบล มะรุ่ย ทับปุด พังงา 
  • วัดพิทักษ์ธรรมาราม เขต/ตำบล ทับปุด ทับปุด พังงา 
  • วัดไสเสียด เขต/ตำบล บ่อแสน ทับปุด พังงา 
  • วัดนิโครธคุณากร เขต/ตำบล มะรุ่ย ทับปุด พังงา 
  • วัดราษฎร์อุปถัมภ์ เขต/ตำบล บางเหรียง ทับปุด พังงา 
  • วัดนิโครธาราม เขต/ตำบล ทับปุด ทับปุด พังงา 
  • วัดคีรีวงก์ เขต/ตำบล ถ้ำทองหลาง ทับปุด พังงา 
  • วัดโคกสวย เขต/ตำบล โคกเจริญ ทับปุด พังงา 
  • วัดศรัทธาราม เขต/ตำบล มะรุ่ย ทับปุด พังงา 
  • วัดป่าสวนงาม เขต/ตำบล บางวัน คุระบุรี พังงา 
  • วัดบ้านเตรียม เขต/ตำบล คุระ คุระบุรี พังงา 
  • วัดตำหนัง เขต/ตำบล บางวัน คุระบุรี พังงา 
  • วัดบางวัน เขต/ตำบล บางวัน คุระบุรี พังงา 
  • วัดสามัคคีธรรม เขต/ตำบล แม่นางขาว คุระบุรี พังงา 
  • วัดนางย่อน เขต/ตำบล คุระ คุระบุรี พังงา 

  • More...

    ไปไหนในท้องที่ พังงา

    สถานพยาบาล
  • สถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดพังงา
  • รพ.ฐานทัพเรือพังงา
  • ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองพังงา
  • รพ.พังงา
  • สสอ.เมืองพังงา
  • สสจ.พังงา
  • สอ. พรุใน
  • รพ.ท้ายเหมือง
  • รพ.ทับปุด
  • รพ.คุระบุรี
  • รพ.บางไทร
  • รพ.ตะกั่วทุ่ง
  • รพ.กะปง
  • รพ.เกาะยาว
  • รพ. โรงพยาบาลฐานทัพเรือพังงา

  • สถานศึกษา
  • โรงเรียนทุ่งโพธิ์วิทยา 
  • โรงเรียนบ้านคลองดินเหนียว 
  • โรงเรียนอ่าวกะพ้อ 
  • โรงเรียนบ้านพรุใน 
  • โรงเรียนบ้านท่าเรือ 
  • โรงเรียนอ่าวมะม่วง 
  • โรงเรียนบ้านลำแก่น 
  • โรงเรียนพระราชทานทับละมุ 
  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 
  • โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม 
  • โรงเรียนบ้านบางมรวน 
  • โรงเรียนบ้านบางม่วง 
  • โรงเรียนบ้านปากวีปมิตรภาพที่ 124 
  • โรงเรียนวัดคมนียเขต 
  • โรงเรียนบ้านบางเนียง 
  • โรงเรียนบ้านนอกนา 
  • โรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์ 
  • โรงเรียนวัดราษฎร์อุปถัมภ์ 
  • โรงเรียนบ้านคอกช้าง 
  • โรงเรียนทับปุด 
  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม 
  • โรงเรียนบ้านทุ่งไทรงาม 
  • โรงเรียนบ้านทุ่งต่อเรือ 
  • โรงเรียนวัดโคกสวย 
  • โรงเรียนบ้านโคกเจริญ 
  • โรงเรียนทับปุดวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านบ่อแสน 
  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 54 (วัดไสเสียด) 
  • โรงเรียนตัรบียะห์อิสลามียะห์ 
  • โรงเรียนสังคมอิสลามวิทยา 
  • โรงเรียนวัดศรัทธาราม 
  • โรงเรียนวัดนิโครธคุณากร 
  • โรงเรียนบ้านท่าสนุก 
  • โรงเรียนบ้านในวัง 
  • โรงเรียนบ้านกะปง 
  • โรงเรียนวัดนารายณิการาม 
  • โรงเรียนบ้านช้างเชื่อ 
  • โรงเรียนบ้านปากคลอง 
  • โรงเรียนบ้านท่าหัน 
  • โรงเรียนบ้านรมณีย์ 
  • โรงเรียนกะปงพิทยาคม 
  • โรงเรียนบ้านบางแก้ว 
  • โรงเรียนบ้านสะพานเสือ 
  • โรงเรียนบ้านปากพู่ (รองหงส์ทองรัฐรังสรรค์) 
  • โรงเรียนบ้านปากถัก 
  • โรงเรียนกะปง 
  • โรงเรียนเยาววิทย์ 
  • โรงเรียนบ้านย่าหมี 
  • โรงเรียนบ้านคลองบอน 
  • โรงเรียนบ้านริมทะเล 
  • โรงเรียนบ้านน้ำจืด 
  • โรงเรียนเกาะยาว 
  • โรงเรียนศรัทธาธรรม 
  • โรงเรียนบ้านคลองเหีย 
  • โรงเรียนบ้านช่องหลาด 
  • โรงเรียนเกาะยาววิทยา 
  • โรงเรียนดาริสสลามวิทยา 
  • โรงเรียนเกียรติประชา 
  • โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก 
  • โรงเรียนบ้านคุรอด 
  • โรงเรียนบ้านบางครั่ง 
  • โรงเรียนบ้านตำหนัง 
  • โรงเรียนบ้านบางวัน 
  • โรงเรียนบ้านทุ่งละออง 
  • โรงเรียนบ้านบางติบ 
  • โรงเรียนโชคอำนวย 
  • โรงเรียนบ้านคุระ 
  • โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ 
  • โรงเรียนบ้านทับช้าง 
  • โรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม 
  • โรงเรียนคุระบุรี 
  • โรงเรียนบ้านกลางประชาสรรค์ 
  • โรงเรียนบ้านหินลาด 
  • โรงเรียนบ้านบางหว้า 
  • โรงเรียนบ้านเตรียม 
  • โรงเรียนบ้านสวนใหม่ 
  • โรงเรียนบ้านห้วยทรัพย์มิตรภาพที่ 61 
  • โรงเรียนวัดนากลางมิตรภาพที่ 163 
  • โรงเรียนบ้านในหยง 
  • โรงเรียนบ้านแหลมหิน 
  • โรงเรียนบ้านทองหลาง 
  • โรงเรียนบ้านควน 
  • โรงเรียนบ้านบางจัน 
  • โรงเรียนบ้านบากัน 
  • โรงเรียนบ้านท่าปากแหว่ง 
  • โรงเรียนบ้านท่านุ่น 
  • โรงเรียนบ้านเขาปิหลาย 
  • โรงเรียนบ้านอ่าวจิก 
  • โรงเรียนวัดไตรมารคสถิตตั้งตรงจิตร 11 ฯ 
  • โรงเรียนโคกกลอยวิทยา 

  • More..

    ร้านของฝาก/ที่ระลึก
  • บายูบาติก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • คิก คิก บาติก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • กลุ่มแม่บ้านเกษตรบ้านปริง เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • กลุ่มอาชีพสตรีพังงา เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • มานิตย์เครื่องประดับมุกแท้ เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • กลุ่มประดิษฐ์ตะกร้าไม้มังเคล เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • เครื่องประดับมุกนายเจริญ เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • กลุ่มปันหยีมุกอันดามัน เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • วิไลผลิตภัณฑ์ประดับมุก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • เครื่องประดับมุกนางบีด๊ะ เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • โสภาเครื่องประดับมุก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • เครื่องประดับมุกสุพรรณี เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • เครื่องประดับอลีนาเพิร์ล เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • เครื่องประดับมุกนางรัตนา เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • จรรยาเครื่องประดับมุก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • ดวงใจเครื่องประดับมุก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • หรมม่าเครื่องประดับมุก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • สุดาเครื่องประดับมุก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • เดชาเครื่องประดับมุก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • อ้าบ่าฉ๊ะเครื่องประดับมุก เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • ลามูน เขต/อำเภอเมืองพังงา 
  • ร้านขนมเต้าส้อเจ๊หยี่ เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • เต้าส้อแม่ประมวล เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • ขนมโรตีกรอบแม่พิมภา เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • ศิริพรผ้าบาติก เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • ร้านคุณรัตนา เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • ร้านเจ๊หนุ๋ย เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • กลุ่มคลองเคียนบาติก เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • หจก.สุภารัตน์ แฮนด์แมด เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • กุ้งเสียบสามรส ปิยาลักษณ์ เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • กุ้งเสียบสามรสเบญวรรณ เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • พนิดา ปลาเค็มสามรส เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • แม่นงเยาว์ เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • กลุ่มดอกไม้ศรีพังงา เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • ภูตาล เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • กลุ่มผลิตดอกไม้จากใบยางพารา เขต/อำเภอตะกั่วทุ่ง 
  • ขนมทองม้วนยายแป้น เขต/อำเภอทับปุด 
  • กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเขาตำหนอน เขต/อำเภอทับปุด 
  • เสื้อสกุณา เขต/อำเภอท้ายเหมือง 
  • กลุ่มผ้าบาติกท้ายเหมือง เขต/อำเภอท้ายเหมือง 
  • น้ำพริกอิสริยา เขต/อำเภอท้ายเหมือง 
  • กลุ่มขนิมบาติก เขต/อำเภอท้ายเหมือง 
  • กลุ่มจักรสานหมวกใบร่มข้าว เขต/อำเภอกะปง 
  • ไข่มุกอันดามัน แดนสวรรค์ เมืองพังงา เขต/อำเภอคุระบุรี 
  • ขนมเต้าส้อ แม่อารี เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • ร้านตวงรัตน์ เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • หรอยดีจัง เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • จะรี่ขนมบาบิ่น เขต/อำเภอเกาะยาว 
  • เต้าส้อนันทวัน เขต/อำเภอตะกั่วป่า 
  • ภูอนันต์ เขต/อำเภอคุระบุรี 

  • บริษัท / ห้าง /ร้าน
  • บริษัท เค แอนด์ จุน จำกัด
  • บริษัท ภูเก็ตอินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด
  • บริษัท ไมล์สโตน คอร์ปเปอเรชั่น จำกัด
  • บริษัท เอ.วี.พี.กรุ๊ป จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดเกมบีร่าทราเวลแอนด์เทรดดิ้ง
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดส.โชคเจริญพาณิชย์
  • บริษัท ชัยมั่นคง จำกัด
  • บริษัท เพาเวอร์ ใจ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  • บริษัท พังงา เอเลเฟ่น ปาร์ค จำกัด
  • บริษัท ฮันเตอร์ อิน แอนด์ เอ็กปอร์ต จำกัด
  • บริษัท เอส.ไอ.เอ็น.ทีม (ประเทศไทย) จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงอินทร์ การโยธา
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดโชคสุพร
  • บริษัท กระบี่ ไทย พาร์ทเนอร์ จำกัด
  • บริษัท สุพจน์ พังงา จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดกัลยาณี ศรีเมือง
  • บริษัท วอลเตอร์ กรุ๊ป เวิร์ลวาย จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดแอนนี่ แฮปปี้ไลฟ์
  • บริษัท ท่าเรือบุญชู จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดอันดามัน เน็ทเวอร์ค แอนด์ เซอร์วิส
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดเซาท์เทิร์น มิเดียบรอดคาสติ้ง เน็ทเวอร์ค
  • บริษัท กระบี่พังงาขนส่ง จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดวีอาร์พังงาเทเลคอม (2014)
  • บริษัท จิมมี่ แอนด์ เค จำกัด
  • บริษัท วูลฟ โฟร์ ครอส จำกัด
  • บริษัท โกลบอล อะควาเทค จำกัด
  • บริษัท ยูวิชั่น เทคโนโลยี จำกัด
  • บริษัท วิลล่า พังงา จำกัด
  • บริษัท พังงา วอเตอร์ จำกัด
  • บริษัท แอท วัน (วูด ฟอร์ กรีน) จำกัด
  • บริษัท เขาหลัก โฮม ดีไซน์ จำกัด
  • บริษัท เกาะยาวใหญ่ เอทีวี ทัวร์ จำกัด
  • บริษัท ตะกั่วป่า สแควร์ จำกัด
  • บริษัท เอบี ดีไซน์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท ดิ อันดามณิ จำกัด
  • บริษัท โกลเด้น อาร์ติซัน จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดฟรีเนอร์จี้ แอร์ ซัพพลาย
  • บริษัท บ้านแกรนิต และดีไซน์ จำกัด
  • บริษัท เดอะ วิโอล่า รีสอร์ท จำกัด
  • บริษัท ไซโน ฟูด ไทย จำกัด

  • More..
    พังงา


    ไปหน้าที่ | 1