ค้นข้อมูล
Home Thailand Data ข้อมูลจังหวัด สถานพยาบาล สถานศึกษา แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า บริษัท ศาสนสถาน ข้อมูลภาครัฐ Login

Forest

ขอนแก่น
Khon Kaen


คำขวัญ ขอนแก่น : พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่10885.991 ตารางกิโลเมตร
จำนวนประชากร 628656 ครัวเรือน
ประชากรชาย 887501
ประชากรหญิง 915371
ประชากรรวม 887501
Khon Kaen ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน แบ่งเป็นยุคต่างๆได้ดังนี้


สมัยก่อนประวัติศาสตร์



ในอดีตกาลยุคก่อนประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปกว่าร้อยกว่าล้านปีมาแล้ว ในบริเวณเขตจังหวัดขอนแก่นเคยที่อยู่ของ “ไดโนเสาร์” สัตว์โลกดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่สูญพันธ์ไปแล้ว โดยนักธรณ๊วิทยาได้ค้นพบรอยเท้าและฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์กินพืชและพันธุ์กินเนื้ออายุกว่า 4,000 – 2,000 ปี

ขอนแก่นเคยเป็นถิ่นอาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฎหลักฐานจากการขุดค้นของนักโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีโนนนกทา บ้านนาดี ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ขุดค้นเมื่อ พ.ศ. 2509 ค้นพบโครงกระดูกกว่า 200 โครงกระดูก นอกจากนั้นยังพบเครื่องสำริด และเหล็กมีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน รวมทั้งแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำไลแขนสำริดคล้องอยู่ที่โครงกระดูกท่อนแขน ซ้อนกันหลาย วง พบกำไรทำด้วยเปลือกหอย รวมทั้งพบแหวนเหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้ายทอผ้าใช้ในยุคนั้นแล้ว นอกจากนี้ ยังพบขวานทองแดง อายุ 4,600-4,800 ปี เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทย ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ในชั้นดินที่ 20 การกำหนดอายุโดยคาร์บอนด์ 14 จากชั้นดินที่ 19 ปรากฏว่าอายุ 4,275 ปี มีเครื่องปั้นดินเผาที่มีอายุใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง โดย ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์สังคมเกษตรกรรมที่รู้จักการใช้โลหะซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกันนี้พบกระจายตัวอยู่ทั่วขอนแก่น 100 แห่ง โดยส่วนมากพบตามที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำพรม แม่น้ำพอง แม่น้ำเชิญ และแม่น้ำชี ซึ่งบางส่วนก็ยังไม่ได้มีการขุดค้นขึ้นมาศึกษาอย่างจริงจัง
การขยายตัวของชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายนี้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนมากมายอย่างมากมายจากชุมชนที่ผลิตเพื่อการบริโภค อุปโภค ภายในชุมชน กลายมาเป็นการผลิตเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มชน จนกลายเป็นสังคมเมืองในที่สุด

จากหลักฐานข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่าอาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรม วัฒนธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี

สมัยประวัติศาสตร์

ในสมัยประวัติศาสตร์จังหวัดขอนแก่น ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมแบบทวารวดีจากภาคกลางเข้ามาสู่ภาคอีสานเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 และได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณบ้านโนนเมือง วัดป่าพระนอน ตำบลชุมแพ ได้พบเสมาหินปักอยู่เป็นระยะและล้มจมดิน มีรอยสลักกลีบบัว กลีบเดียวหรือสองกลีบ แท่งหินที่สำคัญที่ชาวบ้านเรียกว่าเสาหลักเมืองเป็นรูปทรงกลมมีรอยจารึก ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวอักษรมอญโบราณ ได้นำเอามาทำเป็นหลักเมืองขอนแก่น เมืองโบราณแห่งนี้




กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ฝังอยู่อย่างเป็นระเบียบ มีโบราณวัตถุหลายอย่าง ฝังรวมอยู่ด้วย สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่มาหลายยุคหลายสมัยบริเวณยอดเขาภูเวียงเป็นวงกลมซึ่ง โอบล้อมพื้นที่ 3 ตำบล มีพระพุทธรูปแบบทวารวดี จากภาพถ่ายทางอากาศ พบเมืองโบราณหลายแห่งอยู่ใกล้ ลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสำคัญ คือเมืองโบราณที่วัดดงเมืองแอม ในเขตอำเภอเขาสวนกวางเมืองมีขนาด 2900X3000 เมตร ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสานเท่าที่ได้พบเห็นในประเทศไทย จะเป็นรองอยู่ก็
เฉพาะเมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ) ในจังหวัดขอนแก่นพบว่ามีการสร้างเมืองโบราณในลักษณะของการขุดคูน้ำ-คันดินล้อมรอบชุมชนโบราณกว่า 26 แห่ง ความสำคัญอีกประการหนึ่งของเมืองโบราณบ้านดงแอม คือ พบศิลาจารึกด้วยหินทรายหนึ่งหลักอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 มีข้อความกล่าวถึง พระเจ้ามเหนทรวรมัน กษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ(อันเป็นบรรพบุรุษของกลุ่มชนเขมรในยุคโบราณ) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกลุ่มชนเขมรที่มีในพื้นที่มาอย่างตั้งแต่โบราณ การเข้ามาของอิทธิพลเขมร ส่งผลให้ศาสนาฮินดูได้แพร่ตามเข้ามาด้วย


โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 เห็นได้จาก ปราสาทเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย มีลักษณะเป็นปราสาทหิน 3 หลังตั้งอยู่บนศิลาแลงเดียวกัน โดยมีกำแพงศิลาแลง และคูน้ำล้อมรอบ ถือศาสนาสถานสำคัญที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู
และในช่วงศตวรรษที่ 18 อิทธิพลของเขมรแบบบายนที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน โดยมี กู่ประภาชัย อำเภอน้ำพอง ศาสนสถานสำคัญที่ใช้เป็น อโรคยาศาล(สถานพยาบาล) ประกอบด้วย ปราสาทศิลาแลงอยู่ตรงกลาง 1 หลัง และบรรณาลัย(หอเก็บพระคำภีร์) 1 หลัง อยู่ที่มุมด้านหน้าของปราสาทประธาน ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อันเป็นช่วงที่เขมรหันมานับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน หลังจากนั้น

ราวพุทธศตวรรษที่ 19 วัฒนธรรมล้านช้างแถบลุ่มน้ำชีลุ่มน้ำโขง และวัฒนธรรมแบบล้านนา ได้เจริญรุ่งเรืองและได้เข้ามามีบทบาทในพื้นที่แทนวัฒนธรรมดั้งเดิม กลายเป็นวัฒนธรรมผสมผสานที่แพร่หลายไปทั่วดินแดนอีสาน เรียกว่า ศิลปะแบบล้านช้าง ซึ่งสถาปัตยกรรมที่สำคัญสำหรับศิลปะรูปแบบนี้ คือ พระธาตุขามแก่น อำเภอน้ำพอง อันเป็นการพัฒนารูปทรงมาจากพระธาตุศรีสองรักษ์ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย (พระธาตุศรีสองรักษ์ สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต) มีประวัติความเป็นมาว่า แต่เดิม ณ ที่แห่งนี้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีชาวบ้านเข้ามาหักล้างถางพง จับจองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนั้น ชาวบ้านพบว่ามีตอมะขามที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง แต่ต่อมาปรากฏว่าแก่นมะขามนั้นกลับมีการแตกใบ ผลิดอก ดูแปลกประหลาด และพบว่าหากมีใครที่ไปทำการอะไรที่เป็นการดูหมิ่นหรือลบหลู่ตอมะขามนั้น คนผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไป ชาวบ้านจึงเกิดความเคารพบูชา และร่วมกันสร้างเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นไว้ พร้อมกับบรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 9 ประการ ไว้ในนั้นด้วย จึงเรียกเจดีย์ที่สร้างนั้นว่า พระเจ้าเก้าพระองค์ หรือ เจดีย์บ้านขาม ต่อมาจึงเป็นพระธาตุขามแก่น ถือเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองและเป็นที่มาของชื่อจังหวัดขอนแก่น

การสร้างบ้านแปงเมือง
ประวัติศาสตร์การสร้างเมืองขอนแก่นได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2322 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์ได้เกิดเหตุพิพาทกับกลุ่มของเจ้าพระวอจนถึงกับยกทัพไปตีค่ายของเจ้าพระวอแตกที่บ้านดอนมดแดง (อุบลราชธานีปัจจุบัน) และจับเจ้าพระวอประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถือว่าฝ่ายเจ้าพระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปตีเวียงจันทน์ จากนั้นจึงได้ยกทัพกลับมายังกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธปฏิมากร และพระบางกลับมาถวายแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย
เจ้าแก้วบุฮม (แก้วบรม) กับพระยาเมืองแพน (หรือเพี้ยเมืองแพน) สองพี่น้อง ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าแสนปัจจุทุม (ท้าวแสนแก้วบุฮม) ได้ยกกองทัพจากบ้านเพี้ยปู่ เขตแขวงเมืองทุละคม (ธุระคม) ซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์ในทุกวันนี้ ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่บ้านโพธิ์ตาก (บ้านโพธิ์ตาก ตำบลบ้านกง อำเภอเมืองขอนแก่น) และบ้านยางเดี่ยว บ้านโพธิ์ศรี (บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบ้านโนน อำเภอกระนวน) บ้านโพธิ์ชัย (บ้านโพธิ์ชัย อำเภอมัญจาคีรี) เมืองมัญจาคีรีหรืออำเภอมัญจาคีรี ปรากฏอยู่ในทำเนียบมณฑลอุดร กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นชื่อเมืองมัญจาคีรี โดยมีจางวางเอกพระยาพฤติคุณธนเขม (สน สนธิสัมพันธ์) เป็นเจ้าเมืองคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2433-2439 เจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระเกษตรวัฒนา (โส สนธิสัมพันธ์) เมื่อ พ.ศ. 2439-2443 และมีปรากฏประวัติเมืองมัญจาคีรีในหนังสือประวัติจังหวัดในประเทศไทย บ้านสร้าง บ้านชีโหล่น (อยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน)
ในปัจจุบัน บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอน้ำพอง บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภออาจสามารถ (จังหวัดร้อยเอ็ด) บางบ้านก็อยู่ในเขตจังหวัดยโสธร บางบ้านก็อยู่ที่อำเภอมัญจาคีรี และบางบ้านก็อยู่ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว (จังหวัดยโสธร) เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเมืองในสมัยหลัง ๆ ต่อมานั่นเอง
เจ้าแก้วบุฮมได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพธิ์ชัย พระยาเมืองแพนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านชีโหล่น คุมไพร่พลคนละ 500 คน ขึ้นกับเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิ ครั้นต่อมาอีกราว 9 ปี ในปี พ.ศ. 2331 เพี้ยเมืองแพนก็ได้พาราษฎรและไพร่พลประมาณ 330 คน ขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบึงบอน ยกขึ้นเป็นเมืองที่บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ย (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเพี้ย ตำบลเมืองเพี้ย อำเภอบ้านไผ่)

บึงบอนหรือดอนพยอมในปัจจุบันได้ตื้นเขินเป็นที่นาไปหมดแล้ว แต่ก็ยังปรากฏเป็นรูปของบึงซึ่งมีต้นบอนขึ้นอยู่มากมาย ต่อมาก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น ดังปรากฏข้อความในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรว่า


“ลุจุลศักราช 1159 ปีมเสง นพศก (พ.ศ. 2340) ฝ่ายเพี้ยเมืองแพน บ้านชีโล่น เมืองสุวรรณภูมิ เห็นว่าเมืองแสนได้เป็นเจ้าเมืองชนบท ก็อยากจะได้เป็นบ้าง จึงเกลี้ยกล่อมผู้คนให้อยู่ในบังคับสามร้อยคนเศษ จึงสมัครขึ้นอยู่ในเจ้าพระยานครราชสีมา แล้วขอตั้งบ้านบึงบอนเป็นเมือง เจ้าพระยานครราชสีมาได้มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองแพนเป็นที่พระยานครศรีบริรักษ์ เจ้าเมือง ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น ขึ้นกับเมืองนครราชสีมา...”
เอกสารพงศาวดารอีสานฉบับพระยาขัติยวงศา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) ได้กล่าวถึงการตั้งเมืองขอนแก่นว่า
“...ได้ทราบข่าวว่าเมืองแพน บ้านชีโล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ พาราษฎร ไพร่พลประมาณ 330 คน แยกจากเมืองสุวรรณภูมิไปขอตั้งฝั่งบึงบอนเป็นเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น...” ขอนแก่นจึงได้ที่มาว่าเป็นเมืองคู่กับมหาสารคามนั้นเอง
สมัยรัตนโกสินทร์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2339 ได้มีการย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งอยู่ที่บ้านหนองเหล็ก (ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบัน) โดยได้ขอขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร คือจะขอส่งส่วยต่อกรุงเทพมหานครโดยตรง ไม่ผ่านเมืองสุวรรณภูมิ เพราะให้เหตุผลว่า บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ยอยู่ใกล้กับแขวงเมืองนครราชสีมา ซึ่งก็เป็นจริง เพราะอยู่ใกล้กับเมืองชนบทอันเป็นแขวงเมืองนครราชสีมาอยู่ขณะนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เข้าใจว่าเจ้าเมืองในขณะนั้นอยากจะแยกตัวออกเป็นอิสระ คืออยากจะแยกออกมาเป็นเมืองใหญ่อีกต่างหาก การย้ายเมืองครั้งนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบัง (บุตรเจ้าแก้วบุฮม) เป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นต่อมา
ในปี พ.ศ. 2352 ได้ย้ายเมืองจากบ้านหนองเหล็กไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านดอนพันชาด (เขตตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) พระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้ง) ได้ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตร (ท้าวคำยวง) น้องชายของพระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้ง) ซึ่งมีความดีความชอบจากการไปราชการสงคราม ขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น เป็นที่ “พระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี ศรีศุภสุนทร” เจ้าเมืองขอนแก่น
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2381 เมืองขอนแก่นก็ได้ย้ายจากบ้านดอนพันชาดไปตั้งอยู่ที่ริมฝั่งบึงพระลับโนนทอง คือบ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอ




เมืองขอนแก่นในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่า "บ้านโนนทอง" ต่อมาเมื่อย้ายเมืองไปอยู่ที่นั่น จึงเรียกว่าบ้านเมืองเก่า สาเหตุที่ย้ายเมืองนั้นเล่ากันว่า เกิดการแย่งราษฎรไพร่พลขึ้น และเกิดแผ่นดินแยกที่ถนนกลางเมือง มีโรคภัยไข้เจ็บผู้คนล้มป่วยกันมาก จึงถือว่าที่ตรงนั้นไม่เป็นมงคลต่อการอยู่อาศัย จึงย้ายเมืองอีกครั้งหนึ่ง จากบึงพระลับโนนทองไปตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกที่บ้านโนนทัน (อยู่ในตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น ปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2398 พอดีพระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) ได้ถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอินธิวงษ์ บุตรคนเล็กของพระยานครศรีบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น เพราะมีวิชาความรู้ดีกว่าพี่ชายคนอื่น ๆ โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในราชทินนามเดิมของบิดาสืบมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2407 ท้าวอินธิวงษ์เจ้าเมืองขอนแก่นได้ถึงแก่อนิจกรรมลงอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบุ่ง (พี่ชายท้าวอินธิวงษ์) ผู้เป็นอุปฮาดแต่เดิมให้เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นสืบแทนน้องชายต่อมาอีก 3 ปี เพราะชราภาพมากแล้ว
ในปี พ.ศ. 2410 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอุ (ราชบุตร) ซึ่งเป็นหลานท้าวอินธิวงษ์ (พระยานครศรีบริรักษ์) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น และได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านโนนทันกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าอีก (บ้านโนนทองเดิม) พอถึงปี พ.ศ. 2413 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านเมืองเก่าไปตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม (บ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองขอนแก่น) ด้วยเหตุผลทางด้านการคมนาคมสะดวก เนื่องจากต้องใช้แม่น้ำในการคมนาคมติดต่อ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวอุ (ราชบุตร) เจ้าเมืองขอนแก่นในขณะนั้น เป็นพระนครศรีบริรักษ์ และให้ท้าวหนูหล้า บุตรคนเล็กของท้าวอินธิวงษ์ เป็นปลัดเมืองขอนแก่น (หรืออุปฮาด)
ในปี พ.ศ. 2434 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช ได้โปรดเกล้าให้เปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองลาวใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือให้เป็นหัวเมืองลาวพวน ดังนั้น เมืองขอนแก่นจึงกับขึ้นกับเมืองลาวพวน ในสมัยนั้นได้มีสายโทรเลข ที่เดินจากเมืองนครราชสีมา ผ่านเมืองชนบท เข้าเขตเมืองขอนแก่นข้ามลำน้ำชีที่ท่าหมากทัน ตรงไปท่าพระ บ้านทุ่ม โดยไม่เข้าเมืองขอนแก่น และตรงไปข้ามลำน้ำพองไปบ้านหมากแข้งเมืองอุดรธานี กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลทรงดำริว่า ที่ว่าการเมืองขอนแก่นที่ตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม ไม่สะดวกแก่ราชการ และบ้านทุ่มก็ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น ใกล้เส้นทางไปมาในสมัยนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนครศรีบริรักษ์ (อุ) ย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่บ้านทุ่ม (อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน) ในปลาย พ.ศ. 2434 และเปลี่ยนนามตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง
ในปี พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวหนูหล้าปลัดเมืองขอนแก่นเป็นพระพิทักษ์สารนิคม และในปี พ.ศ. 2441 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านทุ่มกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าตามเดิม โดยตั้งศาลากลางขึ้นที่ริมบึงเมืองเก่าทางด้านเหนือ (หน้าสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบัน) ด้วยเหตุผลที่ว่า บ้านทุ่มนั้นกันดารน้ำในฤดูแล้งไม่เหมาะแก่การตั้งเมืองใหญ่
ในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการได้เกณฑ์แรงงานของราษฎรที่เคยหลงผิดไปเชื่อผีบุญ-ผีบาป ที่เขตแขวงเมืองอุบลราชธานีในตอนนั้น โดยให้พากันมาช่วยสร้างทำนบกั้นน้ำขึ้นเป็นถนนรอบบึงเมืองเก่า เพื่อกักน้ำไว้ใช้สอยในฤดูแล้ง เพราะบึงนี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวเมืองขอนแก่น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 พระนครบริรักษ์ (อุ นครศรี) เจ้าเมืองขอนแก่น ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เหตุเพราะชราภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งพระพิทักษ์สารนิคม (หนูหล้า สุนทรพิทักษ์) ปลัดเมืองขอนแก่นขึ้นเป็นผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น และในปีนั้นเอง ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองขอนแก่นเป็นข้าหลวงประจำบริเวณลำชี ส่วนเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นต่อนั้น ก็ให้เปลี่ยนเป็นอำเภอ และผู้เป็นเจ้าเมืองนั้น ๆ ก็ให้เปลี่ยนเป็นนายอำเภอ ตำแหน่งอุปฮาดก็เป็นปลัดอำเภอไป
ต่อมาใน พ.ศ. 2450 ได้ย้ายศาลากลาง มาตั้งที่บ้านพระลับ (ที่ทำการเทศบาลนครขอนแก่น ในปัจจุบัน) และเปลี่ยนนามข้าหลวงประจำบริเวณลำชี มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองตามเดิม
ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดแทน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจึงกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และศาลาว่าการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นศาลากลางจังหวัด

และใน พ.ศ. 2507 สมัย จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สร้างศาลากลางใหม่ที่สนามบินเก่า ห่างจากที่เดิม 2,000 เมตร ตามดำริของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ได้เริ่มต้นไว้ก่อนแล้ว ปัจจุบันเรียกว่า "ศูนย์ราชการ" ซึ่งตรงกับสมัย นายสมชาย กลิ่นแก้ว เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งในระหว่าง พ.ศ. 2503 – 2511 นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ที่ท่องเที่ยวในจังหวัด

  • วัดพระพุทธบาทหินลาด เขต/อำเภอบ้านไผ่ 
  • วัดอุดมคงคาคีรีเขต เขต/อำเภอโคกโพธิ์ไชย 
  • ศาลาไหมไทย เขต/อำเภอชนบท 
  • ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์หลักเมือง เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • หมู่บ้านงูจงอางแห่งประเทศไทย บ้านโคกสง่า เขต/อำเภอน้ำพอง 
  • สวนเต่าเพ็ก เขต/อำเภอมัญจาคีรี 
  • อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เขต/อำเภอชุมแพ 
  • อุทยานแห่งชาติภูเวียง เขต/อำเภอภูเวียง 
  • โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์ เขต/อำเภออุบลรัตน์ 
  • เมืองโบราณโนนเมือง เขต/อำเภอชุมแพ 
  • จุดชมวิวหินช้างสี เขต/อำเภอบ้านฝาง 
  • น้ำตกทับพญาเสือ เขต/อำเภอภูเวียง 
  • สวนสุขภาพ บึงทุ่งสร้าง เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • ถ้ำค้างคาว เขต/อำเภอภูผาม่าน 
  • ถ้ำฝ่ามือแดง เขต/อำเภอภูเวียง 
  • ถ้ำภูตาหลอ เขต/อำเภอภูผาม่าน 
  • น้ำตกตาดฟ้า เขต/อำเภอภูเวียง 
  • กู่ประภาชัย เขต/อำเภอน้ำพอง 
  • บึงแก่นนคร เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • พระธาตุขามแก่น เขต/อำเภอน้ำพอง 



  • ไปหน้าที่ |
    วัดในจังหวัด
  • วัดฉัททันต์สนาน เขต/ตำบล หนองแซง บ้านแฮด ขอนแก่น 
  • วัดสาลวัน เขต/ตำบล โนนทอง แวงใหญ่ ขอนแก่น 
  • วัดบ้านหนองหุ่ง เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดบ้านหนองพุก เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดป่าสามัคคีธรรม เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดแคนเหนือ เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดแคนใต้ เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดโนนสะอาด เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดป่ายาง (ราษฎร์รังสรรค์) เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดขอนแก่นเหนือ เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดบ้านป่าบาก(ป่าบาก) เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดขอนแก่นใต้(แคนใต้) เขต/ตำบล ขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด 
  • วัดอรัญญวาส เขต/ตำบล เปือยใหญ่ โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดสีหนาทาราม เขต/ตำบล เปือยใหญ่ โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดสระบัวรอง เขต/ตำบล เปือยใหญ่ โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดศิริชัยมงคล เขต/ตำบล ป่าปอ โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดศรีสุธรรม เขต/ตำบล โนนแดง โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดศรีสว่างโนนแดงใหญ่ เขต/ตำบล โนนศิลา โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดศรีประชาสรรค์ เขต/ตำบล บ้านหัน โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดวิสุทธิการาม เขต/ตำบล บ้านหัน โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดระทอกโพ เขต/ตำบล โนนศิลา โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดป่าสาคร เขต/ตำบล โนนศิลา โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดป่าภูเขาดิน เขต/ตำบล เปือยใหญ่ โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดนารานิวาส เขต/ตำบล บ้านหัน โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดเทพาราม เขต/ตำบล บ้านหัน โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดแจ้งศิริ เขต/ตำบล โนนศิลา โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดแก้วกู่ชัยมงคล เขต/ตำบล บ้านหัน โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดศรีประชาสรรค์ เขต/ตำบล บ้านหัน โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดวิสุทธิการาม เขต/ตำบล บ้านหัน โนนศิลา ขอนแก่น 
  • วัดเสนชัยดาประสิทธิ์ เขต/ตำบล โนนสมบูรณ์ บ้านแฮด ขอนแก่น 

  • More...

    ไปไหนในท้องที่ ขอนแก่น

    สถานพยาบาล
  • ศสช.สิรินธรจังหวัดขอนแก่น
  • ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 จ.ขอนแก่น
  • ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 5 (บ้านหนองใหญ่) เทศบาลนครขอนแก่น
  • สถานพยาบาลคลินิกศูนย์ไตเทียมขอนแก่น
  • หน่วยบริการปฐมภูมินักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สถานพยาบาลทัณฑสถานนบำบัดพิเศษขอนแก่น
  • สถานพยาบาลเรือนจำกลางขอนแก่น
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศูนย์วิชาการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอนแก่น
  • ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ม.ขอนแก่น
  • ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น
  • รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ขอนแก่น
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีขอนแก่น
  • เทศบาลเทศบาลนครขอนแก่น
  • สถานส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก ขอนแก่น
  • รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • รพ.ขอนแก่นราม
  • รพ.ขอนแก่น
  • สอ.ต.กุดขอนแก่น
  • สสอ.เมืองขอนแก่น
  • สสจ.ขอนแก่น
  • รพ. ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6
  • โรงพยาบาลแม่และเด็กเมืองพล ศูนย์อนามัยที่ 6 สาขาพล
  • รพ. จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • รพ.โพนทอง
  • รพ. ค่ายศรีพัชรินทร
  • ศูนย์หัวใจสิริกิติ์
  • รพ. ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น
  • ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น
  • รพ.ขอนแก่น
  • รพ.โนนสะอาด
  • รพ.ซำสูง
  • รพร.สมเด็จพระยุพราชกระนวน
  • รพ.ภูผาม่าน
  • รพ.เขาสวนกวาง
  • รพ.ชนบท
  • รพ.มัญจาคีรี
  • รพ.ภูเวียง
  • รพ.หนองสองห้อง
  • รพ.แวงน้อย
  • รพ.แวงใหญ่
  • รพ.พล
  • รพ.เปือยน้อย
  • รพ.บ้านไผ่
  • รพ.อุบลรัตน์
  • รพ.น้ำพอง
  • รพ.สีชมพู
  • รพ.ชุมแพ
  • รพ.หนองเรือ
  • รพ.พระยืน
  • รพ.บ้านฝาง

  • สถานศึกษา
  • โรงเรียนบ้านสารจอดร่องกลอง 
  • โรงเรียนบ้านโคกสูงวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านนาก้านเหลือง 
  • โรงเรียนบ้านถ้ำแข้ 
  • โรงเรียนวัดท่ากระบือวิทยาสรรค์ 
  • โรงเรียนบ้านเขาวง 
  • โรงเรียนบ้านวังสวาบ 
  • โรงเรียนหนองแห้ววังมนศึกษา 
  • โรงเรียนบ้านป่ากล้วย 
  • โรงเรียนบ้านโนนคอม 
  • โรงเรียนบ้านสองคอน 
  • โรงเรียนบ้านสะแกเครือ 
  • โรงเรียนนาฝายวิทยา 
  • โรงเรียนภูผาม่าน 
  • โรงเรียนบ้านซำภูทอง 
  • โรงเรียนชีพอนุสรณ์ 
  • โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์ 
  • โรงเรียนบ้านนาน้ำซำ 
  • โรงเรียนบ้านโนนสว่างท่ากระบือ 
  • โรงเรียนบ้านสว่างโนนสูง 
  • โรงเรียนบ้านหินฮาวลำวังชู 
  • โรงเรียนบ้านหนองนกเขียนนาเสถียร 
  • โรงเรียนบ้านส้มป่อย 
  • โรงเรียนบ้านวังผือขามป้อม 
  • โรงเรียนบ้านโกน้อย 
  • โรงเรียนกู่ทองพิทยาลัย 
  • โรงเรียนเปือยน้อยศึกษา 
  • โรงเรียนบ้านสระแก้วประชาสรรค์ 
  • โรงเรียนบ้านนาเสียวโคกสว่าง 
  • โรงเรียนบ้านวังหินเก่าค้อ 
  • โรงเรียนบ้านห้วยแร่ 
  • โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง 
  • โรงเรียนบ้านโสกนาค 
  • โรงเรียนบ้านวังม่วง 
  • โรงเรียนบ้านโนนสว่าง 
  • โรงเรียนไตรคามประชาพัฒนา 
  • โรงเรียนชุมชนบ้านหัวขัว 
  • โรงเรียนบ้านหนองแซงแสงอรุณ 
  • โรงเรียนบ้านรัตนะสาขาชีวังเวิน 
  • โรงเรียนบ้านรัตนะ 
  • โรงเรียนบ้านป่าไม้งาม 
  • โรงเรียนโนนทองวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านโนนข่าวิทยา 
  • โรงเรียนชุมชนบ้านแวงใหญ่ 
  • โรงเรียนบ้านบะแค 
  • โรงเรียนป่าแดงคุรุราษฎร์บำรุง 
  • โรงเรียนบ้านโนนใหญ่ 
  • โรงเรียนบ้านดอนโจด 
  • โรงเรียนบ้านดงบังคุรุราษฎร์อุปถัมภ์ 
  • โรงเรียนบ้านคอนฉิม 
  • โรงเรียนวังบงน้อยวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านโนนสะอาดประชาสรรค์ 
  • โรงเรียนนาโพธิ์ชีวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านกุดหมากเห็บ 
  • โรงเรียนบ้านหนองแดง 
  • โรงเรียนบ้านโสกไผ่สาขาโสกเหลื่อม 
  • โรงเรียนบ้านใหม่นาเพียง 
  • โรงเรียนบ้านโสกไผ่ 
  • โรงเรียนบ้านโนนจันทึก 
  • โรงเรียนบ้านถลุงเหล็ก 
  • โรงเรียนบ้านโจดใหญ่ 
  • โรงเรียนชุมชนบ้านดอนหัน 
  • โรงเรียนโนนสะอาดวิทยาคาร 
  • โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม 
  • โรงเรียนอนุบาลอำไพแวงใหญ่ (อำไพพิทยา) 
  • โรงเรียนบ้านโสกน้ำขาว 
  • โรงเรียนพระยืนวิทยาคาร 
  • โรงเรียนประชารัฐวิทยาเสริม 
  • โรงเรียนบ้านดงเก่า 
  • โรงเรียนบ้านดงกลาง 
  • โรงเรียนบ้านโจดใหญ่ 
  • โรงเรียนชุมชนบ้านโต้นศรีพิมลวิทยา 
  • โรงเรียนบ้านโจดศรีวิชัย 
  • โรงเรียนพระบุบ้านหันราษฎร์ประสาท 
  • โรงเรียนบ้านหินเหิบศิลาทิพย์ 
  • โรงเรียนบ้านป่าหม้อหนองคู 
  • โรงเรียนบ้านป่าส่าน 
  • โรงเรียนบ้านโนนบ่อ 
  • โรงเรียนบ้านนาล้อม 
  • โรงเรียนบ้านแก่นประดู่ 
  • โรงเรียนชุมชนบ้านพระยืน 
  • โรงเรียนบ้านหนองแวงหนองจิกโนนตุ่น 
  • โรงเรียนหนองโพธิ์ประชานุกูล 
  • โรงเรียนบ้านหนองหญ้าข้าวนก 
  • โรงเรียนบ้านบ่อแก 
  • โรงเรียนบ้านชาด 
  • โรงเรียนบ้านขามป้อมสำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 86 
  • โรงเรียนดงมันพิทยาคม 
  • โรงเรียนบ้านสะอาดหนองเรือ 
  • โรงเรียนบ้านนาศรีดงเค็ง 

  • More..

    ร้านของฝาก/ที่ระลึก
  • มรดกไทย เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • แม่หญิง เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • รินไหมไทย เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • ศูนย์สงเสริมอุตสาหกรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • ศูนย์สิ่งทอพระธรรมขันต์ ขอนแก่น เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • สืบสาน เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • ศูนย์หัตถกรรม 4 ภาค เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • บุญมีไหมไทย เขต/อำเภอชนบท 
  • ฟ้าฝนไหมไทย เขต/อำเภอชนบท 
  • มีอุดมไหมไทย เขต/อำเภอชนบท 
  • ไวยรัตน์ไหมไทย เขต/อำเภอชนบท 
  • สาวิตรีไหมไทย เขต/อำเภอชนบท 
  • กุนเชียงนายบู๊ เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • เจ๊รัช เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • เตียฮั่วหยู เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • ไสวรสทิพย์ เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • แหนมลับแล เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • แหนมปริญญา เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • เฮงง่วนเฮียง เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • ลี้กั่งเยง เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 
  • บ้านไผ่ลิ้มซินเฮียง เขต/อำเภอบ้านไผ่ 
  • ชุมแพ ชุมเพลิน เขต/อำเภอชุมแพ 
  • บ้านของฝาก เขต/อำเภอเมืองขอนแก่น 

  • บริษัท / ห้าง /ร้าน
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดรักน้ำพอง
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดเนตรศรีศักดิ์ ฟาร์ม
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดช่างอีสาน เซอร์วิส
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจเจเอส เครื่องชั่ง
  • บริษัท รัษฎากรการบัญชีและภาษีอากร จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยโซล่าร์ ทรานฟอร์เมอร์
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดสวีท แลบ
  • บริษัท ศุภโชค เคมีคอล ซัพพลาย จำกัด
  • บริษัท ขอนแก่นวัฒนา เอ็กซ์เพรส แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
  • บริษัท ไอ คูล พลัส จำกัด
  • บริษัท พีพี เฮลท์ แอนด์ บิวตี้ จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดภูธร ทนายความ
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดแอคคูเรท เทรดดิ้ง
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดแพสชั่น เฮ้าส์
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจเอส.เจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดรุ่งตะวันเอ็นจิเนียริ่ง ขอนแก่น
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดนำโชคบุรีก่อสร้าง
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุตรจันทร์ เซอร์วิส
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดชนะศุภพล รุ่งเรืองพาณิชย์
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดสยามก่อสร้าง 1985
  • บริษัท บุญแปง ๒๕๐๓ จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดซีทีซี คอนสตรัคชั่น
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดลพบุรี คอนกรีต
  • บริษัท พี ทู พี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
  • บริษัท เคดีพี รักสกุล คอนสตรัคชั่น จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดหินวิเศษ ฟาร์ม
  • บริษัท ไอทา คอนสตรัคชั่น จำกัด
  • บริษัท โลบิสเน็ตเวิร์ค จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงสว่างพลาสติก
  • บริษัท คุณแม่ คอนสตรัคชั่น จำกัด
  • บริษัท บุญทัน ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดธรรมทรัพย์ เอ็นจิเนียริ่ง
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดพี.ซี.รุ่งเจริญทรัพย์ กรุ๊ป
  • บริษัท เพิ่มโพธิ์ตระกูล จำกัด
  • บริษัท เค.บี.เอส.ดี.ลีเกิล จำกัด
  • บริษัท วี-วรรณ โปรดักส์ จำกัด
  • บริษัท สุวรรณวงศ์ จำกัด
  • บริษัท ซายน์ไลน์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด
  • บริษัท ซิสเต็ม อินทิเกรชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
  • บริษัท วี.ดับเบิลยู ซีดส์ โปรดักชั่น จำกัด

  • More..
    ขอนแก่น


    ไปหน้าที่ | 1