พระธาตุจำปา 
[Phrathat Cham Pa]

Phrathat Cham Pa แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มผู้สูงอายุ/


เปิดGoogle map

พระธาตุจำปา วัดธาตุจำปา ตั้งอยู่ที่บ้านเสาเล้า ตำบลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ ตามประวัติการสร้างวัดธาตุจำปา พบว่าก่อสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2253 โดยการนำของพระภิกษุดี กตปุญโญ และนายกัญญา ดวงคูสัน พร้อมด้วยชาวบ้านเสาเล้า (อพยพมาจากแขวงคำม่วน ในประเทศลาว โดยประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นชาวเผ่าไทญ้อ) และหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมกันสร้าง ส่วนองค์พระธาตุจำปานั้นมีหลักฐานการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2458 โดยการนำของพระภิกษุเม้า ปญฺญาวโร ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 7 ปี ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระธาตุจำปาจัดเป็นธาตุอีสานสมัยรัตนโกสินทร์ องค์พระธาตุก่อด้วยอิฐถือปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานกว้างยาวด้านละ 4.40 เมตร สูงประมาณ 20 เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ 2 ชั้น ทำซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ลักษณะพระธาตุเป็นแบบกลุ่มฐานสูง ได้รับอิทธิพลรูปแบบจากองค์พระธาตุพนม (องค์ก่อนบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2483) และมีรูปทรงคล้ายกลับพระธาตุท่าอุเทนมากที่สุด แต่ต่างกันที่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะของเรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมสูง เรือนธาตุชั้นแรกและชั้นที่ 2 ประดับด้วยซุ้มประตูหลอกและลายปูนปั้นลงสีอย่างสวยงามทั้ง 4 ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆังทำทรงบัวเหลี่ยมประดับด้วยกระจกสีและลายดอกจอก ปูนปั้น ถัดขึ้นไปเป็นแอวขันรองรับส่วนตีนหีบที่ยืดสูงคอดเรียวขึ้นไปเป็นลักษณะคอขวด โดยระหว่างปลียอดและส่วนตีนหีบคั่นกลางด้วยแอวขัน จากนั้นจึงเป็นส่วนของยอดธาตุที่ทำเป็นบัวเหลี่ยมเรียวขึ้นไปสู่ยอดสุดติดกับฉัตร ซึ่งแต่เดิมฉัตรทำด้วยทองเหลืองแต่ถูกฟ้าผ่าเมื่อปี พ.ศ. 2525 จึงได้นำฉัตรเหล็กขึ้นไปใส่ไว้ใหม่ พระธาตุจำปาเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญกับชุมชนในแถบจังหวัดนครพนม โดยเฉพาะในเขตอำเภอโพนสวรรค์ โดยถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสำคัญ 1 ใน 5 แห่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพบูชาเช่นเดียวกับวัดพระธาตุพนม พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณูนคร และพระธาตุประสิทธิ์ โบราณสถานวัดธาตุจำปา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 69 ง ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2548

 Visitor:13