ธาตุก่องข้าวน้อย 
[That Kong Kao Noi]

That Kong Kao Noi แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อนุสาวรีย์/อนุสรณ์สถาน

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มครอบครัว/


เปิดGoogle map

ธาตุก่องข้าวน้อย หรือ นิยมเรียกอีกชื่อว่า พระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งที่ถูกต้องของธาตุองค์นี้ ควรจะเรียกว่า "ธาตุก่องข้าวน้อย" มากกว่า "พระธาตุก่องข้าวน้อย" เพราะภายในบรรจุอัฐิบุคคลธรรมดา หาใช่เป็นอัฐิพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนเช่นพระธาตุ หรือพระบรมธาตุทั่วไป ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์เก่าแก่ศิลปะแบบขอมตั้งอยู่วัดทุ่งสะเดาบ้านสะเดา ตำบลตาดทองอำเภอเมืองจังหวัดยโสธร โดยธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป มีลักษณะ เป็นก่องข้าว องค์ธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลาง ขององค์ธาตุ มีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของ ธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตร อีกทั้งบริเวณด้านหลังองค์ธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐนับถือ ว่าศักดิ์สิทธิ์มาก นอกจากนี้ในเดือนห้า (เมษายน) จะมีการประเพณีสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น นอกจากนี้แล้วบริเวณรอบ ๆ องค์ธาตุ กรมศิลปากรได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ เกี่ยวกับการอยู่อาศัย ณ ที่แห่งนี้ ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของไทย และภาพเขียนสียุคเดียวกับโบราณสถานบ้านเชียงอีกด้วย ประวัติของการสร้างธาตุแห่งนี้มีความแตกต่างไปจากธาตุอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยเป็นนิทานพื้นบ้านเล่าว่า มีชายหนุ่มชาวนา ที่ได้ทำนาทั้งชีวิต วันหนึ่งเมื่อเขาออกไปไถนา ในเวลาเที่ยงเขารู้สึกเหนื่อยล้า เกิดอาการร้อนรนและหิวโซ;มารดาของหนุ่มชาวนา มาส่งข้าว แต่มาช้ากว่าเวลาปกติ ชายหนุ่มเห็นว่าก่องข้าวที่มารดาถือมาให้นั้นก่องเล็กมาก เขาโกรธมารดามาก จึงทำร้ายมารดา ด้วยความโมโหหิว เอาคันไถนาฟาดไปที่มารดา จนมารดาล้มและเสียชีวิต หลังจากนั้นเขากินข้าวที่มารดานำมาให้ แต่ก็กินเท่าไร ข้าวก่องน้อยนั้นก็ไม่หมดก่อง ลูกชายเริ่มได้สติ หันมาเห็นมารดานอนเสียชีวิตบนพื้น จึงรู้สึกเสียใจมากที่ได้ทำผิดไป จึงรีบไป สาระภาพความผิดต่อเจ้าเมืองและขอบวชเพื่อไถ่บาปกรรมเจ้าเมืองก็อนุญาต เมื่อลูกชายเป็นพระภิกษุแล้วก็ปฏิบัติธรรมวินัยอย่าง เคร่งครัดจนเจ้าเมืองและชาวบ้านพากันเลื่อมใสศรัทธา จึงพากันมาถวายไม้กวาดลานวัดซึ่งด้ามทำด้วยทองคำ ภายหลังหมู่บ้านนั้น มีชื่อว่า “บ้านตาดทอง” (ตาดเป็นภาษาถิ่นอีสาน หมายถึงไม้กวาดด้ามยาว) ต่อมาพระภิกษุผู้เป็นลูกได้สร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อไถ่บาป ที่ฆ่าแม่ เมื่อชาวบ้านทราบเช่นนี้จึงมาช่วยกันสร้างพระธาตุเจดีย์สูงเท่าลำตาล เรียกกันว่า “พระธาตุก่องข้าวน้อย”

 Visitor:37