ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้ 
[Thai So Culture Center]

Thai So Culture Center แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มผู้สนใจด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ/


เปิดGoogle map

ประเพณีเลี้ยงผีของไทโส้ ไทโส้เป็นชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของภาคอีสาน มีมากที่สุดที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งมาก ผู้เขียนเป็นครูสอนที่โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม มีลูกศิษย์ไทโส้จำนวนมากจึงอยากเล่าประเพณีอันมีคุณค่าให้ทุกท่านได้ศึกษาร่วมกัน ประเพณีเลี้ยงผีประจำปีของชาวไทโส้ เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งเพื่อเป็นการซ่อมเสริมสุขภาพของตน ในกลุ่มคนที่รักษาคนด้วยการเหยา ในแต่ละหมู่บ้านจะรวบรวมผู้มีศรัทธาต่อแม่ครูซึ่งเคยให้การบำบัดรักษาคนมาแล้วให้มาทำพิธีร่วมกันเป็นประจำทุกปี โดยจัดทำพิธีในหมู่บ้านของตน และนิยมจัดกันระหว่างช่วงเดือน ๔ ถึงเดือน ๕ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน ดอกไม้ป่าบานสะพรั่ง สามารถเก็บมาบูชาแม่ครู พิธีเลี้ยงผีมีชื่อเรียกว่า "ลงสนาม"ภาษาไทโส้เรียกว่า"แซงสนาม" โดยปกติจะจัดขึ้น ๒ วัน โดยช่วงวันงานจะมีผู้ที่ได้รับการอุปสมให้เป็นหัวหน้ากลุ่มผู้ทำพิธีเรียกว่า "ลูกแก้ว" จะปรึกษาหารือกำหนดวันลงสนามติดต่อนัดหมายกันกับแม่ครู รวมทั้งรวบรวมเงินทองที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายในวันทำพิธีกรรมและค่าตอบแทนแม่ครู (สถานที่บ้านโคกม่วง ต.นาโพธิ์ อ.กุสุมาลย์)เก็บเงินคนละ ๒๐๐ บาท รวม ๒๘ คน ครั้นถึงวันงานในภาคเช้าจะช่วยกันทำตูบทำผาบ (ปะรำพิธี) ปะรำพิธีจัดขึ้นไม่ยากนัก โดยหาบริเวณที่เป็นลานกว้างด้านหนึ่งจะปลูกเป็นร้านปักเสาเป็นล็อค ๆให้มีความกว้างยาวพอที่จำนวนลูกแก้วและแม่ครูจะนั่งทำพิธีหรือนอนพักผ่อนในเวลากลางคืนได้ รวมทั้งมีพื้นที่จะวางสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ปะรำพิธีปกคลุมหลังคาด้วยวัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น เช่น หญ้าแฝก ผ้าใบ ผ้าร่มด้านหนึ่งของปะรำพิธีหาแผ่นไม้หรือแผ่นสังกะสีกั้นไว้มิให้โล่งแจ้งเพื่อวางเครื่องบูชาของลูกแก้วแต่ละคน

 Visitor:20