แหล่งเรียนรู้รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทนตั้งอยู่บนถนนทางหลวงแผ่นดิน 212 ท่าอุเทน – บ้านแพง ห่างจากอำเภอท่าอุเทน 27 กม.โดยตั้งอยู่ที่ตำบลพนอม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม รอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทนนั้นส่วนใหญ่พบอยู่ในแหล่งห้วยด่านชุม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมโดยพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์บนพื้นหินทราย สีน้ำตาลแดง หมวดหินโคกกรวด ในยุคครีเตเซียสตอนต้นอายุประมาณ 100 ล้านปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ เทอร์โรพอตและออร์นิโธพอต สำหรับความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2544 ขณะที่คนงานกำลังระเบิดหินในพื้นที่ของเอกชนเพื่อนำไปก่อสร้างเขื่อนกั้นตลิ่งตามแนวลำน้ำโขงก็สังเกตเห็น "รอยเท้าประหลาด" ของสัตว์ฝังอยู่ในหิน จึงได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณีวิทยา นำโดย ดร.วราวุธ สุธีธร ลงพื้นที่มาตรวจสอบ ผลการตรวจสอบสร้างความตื่นตะลึงเป็นอย่างมาก เพราะรอยเท้าประหลาดที่พบ คือ รอยเท้าของ ไดโนเสาร์ นกกระจอกเทศ และ อีกัวดอน รวมทั้ง รอยเท้าจระเข้ขนาดเล็ก อีก 1 ชนิดรอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทน พบอยู่ในแหล่งห้วยด่านชุม อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พบว่าเป็นรอยตีนไดโนเสาร์บนพื้นหินทราย สีน้ำตาลแดง หมวดหินโคกกรวดในยุคครีเตเซียสตอนต้นอายุประมาณ 100 ล้านปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือเทอร์โรพอตและออร์นิโธพอต รอยตีนไดโนเสาร์ออร์นิโธพอต มีจำนวน 1 แนวทางเดิน ขนาดรอยตีนยาวประมาณ 18 เซนติเมตร กว้าง 12.12 เซนติเมตร คำนวณความสูงจากสูตรของThulborn (1989) ได้ประมาณ 86.4 เซนติเมตร คำนวณความเร็วจากสูตรของAlexander(1976) เร็ว ประมาณ 8.07กิโลเมตร/ชั่วโมง รอยตีนไดโนเสาร์เทอร์โรพอต จำนวน 29 ทางเดิน ขนาดของรอยตีนกว้าง 6 ถึง 16.1 เซนติเมตรยาว 10 ถึง 18 เซนติเมตร ประมาณความสูงได้ 48 เซนติเมตรถึง 75.15 เซนติเมตร มีความเร็วประมาณ 4.53 ถึง 11.66 กิโลเมตร/ชั่วโมงจากร้อยเท้านับร้อย ๆ รอย และแนวทางเดินนับสิบรอย มีทั้งที่กำลังเดิน ไปทางซ้าย ทางขวากำลังวิ่ง ลื่นไถล ไปข้างหน้า วกกลับมาทางเดิมแสดงให้เห็นถึงจำนวนไดโนเสาร์นับสิบตัวที่เดินผ่านไปมาบริเวณนี้ในช่วงเวลา ใกล้กันซึ่งส่วนใหญ่เป็นรอยเท้าของ ไดโนเสาร์ออร์นิโธนิโมซอหรือไดโนเสาร์ นกกระจอกเทศ ที่มักอาศัยอยู่รวมกัน เป็นฝูงนอกจากนั้นเป็นรอยเท้าของ ไดโนเสาร์อิกัวโนดอนไดโนเสาร์จำพวก ซอโรพอด และจระเข้ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเมื่อ 100 ล้านปีที่แล้วบริเวณนี้เคยเป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำที่บรรดาสัตว์หลายชนิดต่างลงมาหากินอยู่บริเวณนี้ธรณีวิทยาแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทนแหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ท่าอุเทนจัดอยู่ในหมวดหินโคกกรวด ยุคครีเทเซียส อายุประมาณ 100 ล้านปีมาแล้ว ประกอบด้วยชั้นหินทรายสีน้ำตาลแดงหินทรายแป้งสีน้ำตาลแดง และหินโคลนสีน้ำตาลแดงมีรอยริ้วคลื่น และรอยระแหงโคลน การคัดขนาดของเม็ดทรายแดงอยู่ในระดับปลานกลาง แสดงสภาพแวดล้อมอมโบราณแบบแม่น้ำพัดพาริมฝั่งแม่น้ำท่าอุเทนในอดีต