เขาดานพระบาท 
[Khao Dan Phra Bat]

Khao Dan Phra Bat แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มวัยทำงาน/


เปิดGoogle map

เขาดานพระบาท เนื้อที่ 150 ไร่ ท่ามกลางป่าไม้นานาพันธุ์ขึ้นเขียวชอุ่มปกคลุมไปทั่วบริเวณ ไร้แสงแดดส่อง ทำให้ร่มรื่น สงบเงียบยิ่งนัก แถมมีลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของชาวอำนาจเจริญ และยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางศาสนาอย่างต่อเนื่อง สำหรับพระมงคลมิ่งเมือง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง อำนาจเจริญ ผู้ที่จะเข้ามาทำงานในพื้นที่ทั้งข้าราชการและพ่อค้าประชาชน นักธุรกิจ ต่างเดินทางเข้ามานมัสการองค์พระมงคลมิ่งเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคล ทำงานสะดวกราบรื่นและอยู่เย็นเป็นสุข พระมงคลมิ่งเมือง มีพุทธลักษณะตามอิทธิพลด้านศิลปะอินเดียเหนือแคว้นปาละ ซึ่งได้แผ่อิทธิพลมายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 16 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 11 เมตร ส่วนสูงวัดจากพื้นดินระดับต่ำสุดถึงยอดเปลว 20 เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยตลอด ผิวนอกฉาบปูนด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง ก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งพระมงคลมิ่งเมืองเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนทั้งชาวอำนาจเจริญและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพและกราบไหว้บูชาตลอดเวลา นอกจากนี้ ด้านข้างก็จะเป็นที่ตั้งของใบเสมาหินขนาดใหญ่ ครกหิน ลูกนิมิตจำนวนหนึ่ง ซึ่งขุดขึ้นมาจากหนองน้ำด้านทิศใต้ของพุทธอุทยาน เนื่องจากหลวงปู่แสง วัดพระมงคลมิ่งเมือง นิมิตเห็นใบเสมา, ครกหินและลูกนิมิตฝังอยู่ใต้หนองน้ำด้านทิศใต้ของพุทธอุทยาน โดยเทวาอารักษ์เฝ้าอยู่มาหลายพันปีแล้ว จึงอยากให้นำขึ้นมาให้ประชาชนได้สักการบูชา ปกป้องรักษาชาวอำนาจเจริญ จึงได้ไปปรึกษานายศักดิ์ชัย ตั้งตระกูลวงศ์ นายกเทศมนตรีเมืองอำนาจเจริญ (ตำแหน่งขณะนั้น) ต่อมาจึงได้อัญเชิญขึ้นมาจากหนองน้ำ โดยทำพิธีทางพราหมณ์และทางศาสนาอยู่ 3 วัน จึงสามารถนำขึ้นมาได้ และนำไปตั้งไว้ที่พุทธอุทยานอย่างที่เห็นในปัจจุบัน สำหรับด้านหลังองค์พระมงคลมิ่งเมือง เป็นที่ประดิษฐานพระละฮาย 2 องค์ สลักด้วยหินทรายสีแดง ยังสลักไม่เสร็จ พุทธลักษณะตรงกับสมัยทวารวดีรุ่นหลังพุทธศตวรรษที่ 10 12 ซึ่งขุดได้จากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยปลาแดกหรืออ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน เพื่อใช้ในการเกษตรและผลิตน้ำประปาหล่อเลี้ยงชาวเมืองอำนาจเจริญ ซึ่งอยู่ตรงข้ามพุทธอุทยาน นอกจากนี้ ด้านหลังพระละฮายซึ่งพื้นที่มีลักษณะเป็นเขาหินดานธรรมชาติ สูงจากระดับพื้นดินเป็นดอนๆ และเป็นที่ตั้งพุทธสถานศักดิ์สิทธิ์มาช้านาน เนื่องจากพบหลักฐานสำคัญคือยังมีรอยพระพุทธบาทจารึก และห่างไปก็จะเป็นป่ารกชัฏ มีถ้ำหลายถ้ำ ซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ท่ามกลางแมกไม้ป่ารกชัฏ สลับเสียงนกกาจักจั่นขับร้องขับกล่อมเป็นเสียงเพลง ลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา จะเป็นที่ตั้งศาลาการเปรียญแบบไม้ยกสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร ค่อนข้างเก่า เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ญาติโยมถวายภัตตาหารแด่พระครูสารธรรมคุณาพร หรือพระอาจารย์คำ จันทสาโร ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่นี่ พร้อมพระสงฆ์อีก 1 รูป สังกัดธรรมยุต สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และพระอาจารย์ฟั่น อาจาโร เป็นต้น ซึ่งนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนที่มานมัสการพระมงคลมิ่งเมืองก็จะแวะฟังธรรมเทศนาจากพระอาจารย์คำ จันทสาโร เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นมงคลชีวิตก่อนเดินกลับเป็นประจำทุกครั้ง

 Visitor:14