ค้นข้อมูล
Home Thailand Data ข้อมูลจังหวัด สถานพยาบาล สถานศึกษา แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า บริษัท ศาสนสถาน ข้อมูลภาครัฐ Login

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร

พิจิตร ที่ท่องเที่ยว ภาคเหนือ

อุทยานเมืองเก่าพิจิตร เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพิจิตรเก่า สร้างในสมัยพระยาโคตรบอง ประมาณปี พ.ศ. 1601 ภายในบริเวณกำแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่เศษ มีลักษณะเป็นเมืองโบราณ ประกอบไปด้วย กำแพงเมือง คูเมือง เจดีย์เก่า ฯลฯ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่งของชาวพิจิตร มีการขุดค้นพบศิลปะเครื่องปั้นดินเผา และพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุเจดีย์ของวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นโบราณสถาน ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ทรงลังกา ด้านหน้าพระเจดีย์คือ วิหารแก้ว ห้องด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ ภายในบริเวณอุทยานแห่งนี้มีต้นไม้ร่มรื่นหลายชนิดเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และภายในอุทยานยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นที่น่าสนใจ อาทิ สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น ที่ต้องการปรับปรุงพื้นที่บริเวณเมืองเก่าแห่งนี้ ซึ่งมีสภาพรกร้างและถูกราษฎรบุกรุกทํากินให้เป็นที่ สาธารณประโยชน์ และแหล่งท่องเที่ยว จึงได้สั่งการให้สํานักงานป่าไม้จังหวัดพิจิตรในขณะนั้น เข้ามาดําเนินการจัดตั้งสวนรุกขชาติ โดยให้ชื่อว่า “สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร” ศาลหลักเมืองพิจิตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 อาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ด้านบนจะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ส่วนด้านล่างจะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "พ่อปู่" วัดมหาธาตุ เป็นโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองพิจิตรเก่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านเก่า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของวัดนื้เมื่อ พ.ศ.2478 ประกอบไปด้วยพระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงลังกา ภายในมีพระเครื่องชนิดต่างๆ ซึ่งได้ถูกลักลอบขุดค้นไป ด้านหน้าพระเจดีย์เป็นที่ตั้งของวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ มีใบเสมา 2 ชั้น มีรากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมาองค์พระก็พลอยโค่นลงมาด้วย บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อพ.ศ. 2534 บริเวณใต้เนินดินส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2 ยุคสมัยคือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบพบเจดีย์รายจำนวนมากและแนวกำแพงขนาดใหญ่ ถ้ำชาละวัน มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2 ลักษณะเป็นช่องขุดลึกลงไปในดิน มีเรื่องเล่าว่า เมื่อประมาณ 65 ปีมาแล้ว พระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนหมดเทียนเล่มหนึ่งก็ยังไม่ถึงก้นถ้ำ จึงไม่ทราบว่าภายในถ้ำชาละวันจะสวยงามวิจิตรพิสดารเพียงใด ในปัจจุบันดินพังทลายทับถมจนตื้นเขิน ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันไว้ที่บริเวณปากถ้ำด้วย เกาะศรีมาลา มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็กๆ อยุ่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบเกาะแต่ตื้นเขิน สันนิษฐานว่าแต่เดิมน่าจะเป็นป้อม หรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอกเมืองและอยู่กลางคูเมือง วนอุทยานนครไชยบวร เป็นแหล่งพื้นที่ป่าผืนสุดท้ายของพิจิตร มีต้นไม้ยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่น ในฤดูหนาวมีนกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีอาคารสถานที่พักแรม และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังเป็นสถานที่ฝึกอบรมเพื่อการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ชุมชนบ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร ตามเส้นทางพิจิตร วังจิก

กิจกรรม:

กิจกรรมย่อย:

กลุ่มเป้าหมาย:กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มวัยทำงาน/กลุ่มนักเรียนนักศึกษา/เยาวชน/วัยรุ่น/

การขนส่ง: รถยนต์/เดินเท้า/มอเตอร์ไซค์/จักรยาน/

สิ่งอำนวยความสะดวก:

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ:

Website คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์

FB คลิกเพื่อเปิดFacebook

เปิด-ปิด เวลา 08.00-17.00 น.


เปิดGoogle map

จังหวัด>> นราธิวาส   ยะลา   ปัตตานี   พัทลุง   ตรัง   สตูล   สงขลา   ชุมพร   ระนอง   สุราษฎร์ธานี   ภูเก็ต   พังงา   กระบี่   นครศรีธรรมราช   ประจวบคีรีขันธ์   เพชรบุรี   สมุทรสงคราม   สมุทรสาคร   นครปฐม   สุพรรณบุรี   กาญจนบุรี   ราชบุรี   เพชรบูรณ์   พิจิตร   พิษณุโลก   สุโขทัย   ตาก   กำแพงเพชร   อุทัยธานี   นครสวรรค์   แม่ฮ่องสอน   เชียงราย   พะเยา   น่าน   แพร่   อุตรดิตถ์   ลำปาง   ลำพูน   เชียงใหม่   มุกดาหาร   นครพนม   สกลนคร   กาฬสินธุ์   ร้อยเอ็ด   มหาสารคาม   หนองคาย   เลย   อุดรธานี   ขอนแก่น   หนองบัวลำภู   บึงกาฬ   อำนาจเจริญ   ชัยภูมิ   ยโสธร   อุบลราชธานี   ศรีสะเกษ   สุรินทร์   บุรีรัมย์   นครราชสีมา   สระแก้ว   นครนายก   ปราจีนบุรี   ฉะเชิงเทรา   ตราด   จันทบุรี   ระยอง   ชลบุรี   สระบุรี   ชัยนาท   สิงห์บุรี   ลพบุรี   อ่างทอง   พระนครศรีอยุธยา   ปทุมธานี   นนทบุรี   สมุทรปราการ   กรุงเทพมหานคร  
©WhereIs.center