วัดหนองเงือก 
[Wat Nong Ngeung]

Wat Nong Ngeung แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ศาสนสถาน (วัด/โบสถ์/มัสยิด ฯลฯ)

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มนักเรียนนักศึกษา/เยาวชน/วัยรุ่น/


เปิดGoogle map

วัดหนองเงือกตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองเงือก ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซางไปทางทิศใต้ ประมาณ ๔ กิโลเมตร ถนนเข้าสู่วัดอยู่ฝั่งตะวันตกของถนนสายป่าซาง ลี้ ตามประวัติกล่าวว่า ในปี ๒๓๗๑ ได้มีชาวบ้านหนองเงือกคนหนึ่งชื่อว่านายใจ มีความคิดที่จะสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้าน หนองเงือก เนื่องจากว่าในขณะนั้นหมู่บ้านนี้ ยังไม่มีวัดเลย จึงปรึกษากับครูบาปารมี และได้นิมนต์ท่านครูบามาเป็นประธานในการ สร้างวัด ในปี พ.ศ.๒๓๗๒ จึงแล้วเสร็จและตั้งชื่อวัดตามหมู่บ้านว่า วัดหนองเงือก โดยมีท่านครูบาปารมีเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก วัดนี้มีความสำคัญในฐานะที่มีโบราณสถาน ที่มีรูปแบบศิลปกรรมสวยงาม และมีสภาพที่สมบูรณ์ มากทีเดียวนั่นคือหอไตร ซุ้มประตูวัดดั้งเดิมและพระเจดีย์ หอไตรของวัดตั้งอยู่ทางด้านใต้เจดีย์เป็นหอไตรก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ตัวหอไตรสร้างเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องโล่งมีทางเข้าด้านเดียว ทางเข้านี้ทำเป็นซุ้มโค้งมีทั้งหมด ๕ ช่อง ช่องด้านซ้ายมือสุด เป็นผนังทึบมีรูปเทวดาปูนปั้น ๒ องค์ประดับ ผนังของหอไตรชั้นล่างทั้ง ๓ ด้านมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนประดับเอาไว้ ผนังด้านซ้ายมือภาพเลอะเลือนไปมาก ผนังในสุดซึ่งเป็นพื้นที่กว้างที่สุดแบ่งพื้นที่ ของภาพออกเป็น ๒ ส่วน ด้านซ้ายมือเขียนเป็นเรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าตอนที่ ทรงนำพระอรหันต์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นไปแสดงพระธรรม เทศนาโปรดพุทธมารดา ส่วนด้านขวามือนั้นเขียนเป็นภาพเมืองบาดาลมีพระยานาคมารอรับเสด็จ พระพุทธองค์ ด้านขวาสุดเขียนเป็นภาพเจ้าวิธูรบัณฑิต นั่งอยู่ในปราสาท ด้านบนของผนังส่วนนี้ มีข้อความเขียนด้วยอักขระล้านนามีใจความว่า “ ศักราชได้ ๑๒๗๙ ตัว ปีเมืองไส้ เดือน ๙ ลง ๑๕ ค่ำ เม็งวันเสาร์ ไทยกัดเป้า ยามกองแลงได้แต้มข่าวเนื่องพระพุทธเจ้าโผดสัตว์ ในชั้นฟ้า เมืองคน แลเมืองนาค ถวายค่านี้ ๔๐ แถบ รวมหมดเสี้ยง ๕๘ แล “ ส่วนผนังด้านขวามือนั้นเขียนเป็นเรื่องราวจากนิทานชาดกเรื่อง “พรหมจักรชาดก” ซึ่งเป็นนิทานพุทธศาสนาที่มีเค้าโครงเรื่องมาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ลักษณะของภาพ จิตรกรรมฝาผนังในหอไตรวัดหนองเงือก นี้เป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบ พม่าค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของคนในภาพ แต่คำอธิบายภาพทั้งหมดเขียนด้วย อักขระล้านนาทั้งสิ้น  

 Visitor:19