อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ 
[Sri Thep Historical Park]

Sri Thep Historical Park แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคเหนือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา/เยาวชน/วัยรุ่น/


เปิดGoogle map

เป็นโบราณสถานสำคัญที่น่าสนใจศึกษาหาความรู้มากที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประจำปี 2543 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยม อุทยานฯ มีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ซึ่งมีชื่อเดิมว่า ""เมืองอภัยสาลี"" สร้างขึ้นในยุคขอมเรืองอำนาจ มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,๐๐๐ ปี เมืองโบราณศรีเทพมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ2,889ไร่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เมืองส่วนใน มีพื้นที่ 1,300 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีช่องทางเข้าออก 6 ช่องทาง พื้นที่ภายในเป็นที่ราบลอนคลื่น มีสระน้ำ หนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไป พบซากโบราณสถานกว่า 70 แห่ง บางแห่งได้รับการขุดแต่งบูรณะแล้ว และ เมืองส่วนนอก มีพื้นที่ 1,589 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกับเมืองส่วนใน ขนาดเป็น 2 เท่าของเมืองส่วนใน มีช่องทางเข้าออก 6 ช่องทาง มีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป และพบโบราณสถานกระจายอยู่แบบเดียวกัน โบราณสถานและสถานที่สำคัญในอุทยานฯ สำหรับเส้นทางการท่องเที่ยวและการศึกษาภายในเขตอุทยานฯ ได้เรียงลำดับให้ง่ายต่อการเดินชมดังนี้ ศูนย์บริการข้อมูล เป็นอาคารจัดแสดงโบราณสถาน และนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีของเมืองโบราณศรีเทพ ภายในประกอบด้วยห้องจัดแสดงนิทรรศการ และส่วนจำหน่ายหนังสือ สินค้าที่ระลึก อาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี เป็นอาคารจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูกช้างที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ พ. ศ. 2531 ปรางค์สองพี่น้อง ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีประตูทางเข้าทางเดียว จากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตีประทับนั่งอยู่เหนือโคอุศุภราช ลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ โดยอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด และมีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับบนกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น ปรางค์ศรีเทพ เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะเขมรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟักแบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่วไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้ พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยสันนิษฐานจากการค้นพบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย ระหว่างปรางค์สองพี่น้องและปรางค์ศรีเทพมีกำแพงล้อมรอบและมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผังในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย โบราณสถานเขาคลังใน ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมือง สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 12ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังเมืองและศิลปะการก่อสร้างเป็นสมัยทวารวดีซึ่งคล้ายกับการค้นพบที่จังหวัดนครปฐม และเมืองโบราณบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี มีการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคลและสัตว์ประดับเป็นศิลปะสมัยทวารวดี เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติจึงเรียกว่า ""เขาคลัง"" โบราณสถานเขาคลังนอก หมู่ 11 บ้านสระปรือ ตำบลศรีเทพ อยู่ทางด้านทิศเหนือของเมืองโบราณศรีเทพ ห่างออกไปราว 2 กิโลเมตร ที่มาของชื่อเขาคลังนอกเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันมาแต่เดิม เพราะเหตุว่ามีรูปร่างลักษณะคล้ายภูเขาสูงใหญ่และเชื่อกันว่ามีทรัพย์สมบัติและอาวุธเก็บรักษาอยู่ภายใน ประกอบกับในเขตเมืองโบราณศรีเทพ มีโบราณสถานที่มีลักษณะคล้ายภูเขาซึ่งเรียกว่า “เขาคลังใน” จึงได้เรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า “เขาคลังนอก” เขาคลังนอกมีลักษณะเป็นมหาสถูป ตั้งอยู่นอกตัวเมืองโบราณ อาจรับคติการสร้างจากพุทธศาสนามหายาน ที่นิยมสร้างอาคารบนฐานสูง รูปแบบผังมณฑลจักรวาล และมีความสัมพันธ์กับเขาถมอรัตน์ ที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองศรีเทพไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะเกือบ 20 กิโลเมตร โดยมีภาพสลักเกี่ยวกับพุทธศาสนามหายานอยู่ภายในถ้ำบนยอดเขา และน่าจะมีอายุร่วมสมัยกัน จุดเด่นของโบราณสถานแห่งนี้ อยู่ที่ฐานอาคาร ซึ่งยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ และมีรูปแบบศิลปะอินเดียผสมผสานอยู่มาก กล่าวได้ว่าในประเทศไทยยังไม่เคยพบโบราณสถานที่ร่วมสมัยกัน ที่ยังคงสภาพและมีขนาดใหญ่เท่านี้มาก่อน แสดงคุณค่าทางรูปแบบศิลปกรรมอย่างชัดเจน โบราณวัตถุสำคัญที่พบ ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี สลักจากหินทรายสีเขียว มีลักษณะประทับยืนปางแสดงธรรม (วิตรรกะ) 2 พระหัตถ์ ขนาดสูง 57 เซนติเมตร กว้าง 16 เซนติเมตร

 Visitor:21