อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีชื่อเรียกตามชาวบ้านว่า น้ำตกปากรอง อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สภาพทั่วไปเป็นป่าอุดมสมบูรณ์และธรรมชาติที่สวยงาม เป็นต้นว่า น้ำตกชาติตระการ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า น้ำตกปากรอง เพราะตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปากรอง หน้าผาสูงชันที่มีสีสันผิดแปลกกันเป็นร่องรอยของศิลปยุคแรกของมนุษย์ และจุดชมวิวบนยอดเขาสูง เเหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานเเห่งชาติน้ำตกชาติตระการได้แก่ น้ำตกชาติตระการเป็นน้ำตกที่สวยงามมากในจังหวัดพิษณุโลก มี 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความงดงามต่างกันออกไป และตั้งชื่อตามนามธิดาท้าวสามลในวรรณคดีไทยเรื่องสังข์ทอง โดยเฉพาะชั้นที่ 3 และ 4 น้ำตกจากหน้าผา สูงประมาณ 10 เมตร แผ่เป็นฝอยกระจายทั่ว ชั้นที่เป็นแอ่งใหญ่ที่สุดคือ ชั้นที่ 1 ระยะทางเดินจากชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 7 ประมาณ 1,220 เมตร นอกจากนี้ในบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการยังมีสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ ผาแดง มีลักษณะเป็นหน้าผาชันมีหินทรายสีแดง อยู่ถัดจากน้ำตกชาติตระการชั้นที่ 4 ไปทางขวามือ เส้นทางนี้ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง น้ำตกนาจาน มีทั้งหมด 7 ชั้น ชั้นที่ 1 มีลักษณะไหลเอื่อยไม่ค่อยสูงนัก มีหินสวยงามแต่ค่อนข้างลื่น ชั้นที่ 2 มีลักษณะสวยงามมากแห่งหนึ่ง สูงประมาณ ๒ ๓ เมตร เส้นทางนี้ยังไม่ได้เปิดเป็นทางการ ชั้นที่ 3 มีความงามเป็นพิเศษน้ำตกไหลลดลงมาพร้อมกันทีเดียวถึง 3 ทาง สูงประมาณ 5 6 เมตร ยาวประมาณ 15 20 เมตร ชั้นที่ 4 7 เป็นน้ำตกต่อเนื่อง สวยงามมาก มีความสูงประมาณ 30 เมตร เป็นเส้นทางเดินเท้าประมาณ ๓ กิโลเมตร ควรออกจากที่ทำการก่อนเวลา 08.00 น. ผากระดาน อยู่ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งเป็นภาพแกะสลักของมนุษย์หินยุคโบราณ ลักษณะเป็นรูปทรงเหมือนเรขาคณิต สร้างความตื่นตาตื่นใจได้มาก ถ้ำน้ำมุด เป็นถ้ำที่เกิดจากน้ำตกนาจานชั้นข้างบน แยกออกเป็น 3 สาย เป็นระยะทางประมาณ 200 250 เมตร มีสายน้ำไหลผ่านภายในถ้ำ มีความสวยงามแปลกตา ถ้ำกา มีร่องรอยของมนุษย์ยุคโบราณ ที่ได้แกะสลักไว้บนแผ่นหินขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่ามีอายุมากกว่า 7,000 ปี เขาช้างล้วง มีสัณฐานคล้ายลูกช้างหมอบ เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่มีตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เป็นสถานที่ปักธงแห่งพ่อขุนบางกลางท่าวหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เจ้าเมืองบางยาง ก่อนและหลังทำศึกสงครามประเพณีปักธงชัยเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญของชาวอำเภอนครไทย ที่จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 14 15 ค่ำ เดือน 12 จากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ชก.2 (เขาช้างล้วง) ขึ้นไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงเขาฉันเพลซึ่งเป็นหินก้อนใหญ่สูงประมาณ 15 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอนครไทยได้โดยรอบ เมื่อเดินทางต่อไปอีกประมาณ 400 เมตร จะถึงเขายั่นไฮ มีลักษณะเป็นหน้าผาตระหง่านสูงประมาณ 15 เมตร และมีบันไดขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อดูทิวทัศน์ของอำเภอนครไทย และเป็นสถานที่ปักธงชัยอีกแห่งหนึ่ง จากจุดนี้สามารถมองเห็นยอดเขาช้างล้วง จากนั้นเดินทางต่อจากเขายั่นไฮไปอีกประมาณ 100 เมตร จะถึงยอดเขาช้างล้วงซึ่งสูงประมาณ 15 เมตร เป็นสถานที่ที่ชาวอำเภอนครไทยนำธงขึ้นไปปัก และเป็นเทือกเขาที่สวยงามแปลกตาเป็นอย่างมาก สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง