ค้นข้อมูล
Home Thailand Data ข้อมูลจังหวัด สถานพยาบาล สถานศึกษา แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า บริษัท ศาสนสถาน ข้อมูลภาครัฐ Login

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

เชียงราย ที่ท่องเที่ยว ภาคเหนือ

"มีลักษณะเป็นพระรูปของพระองค์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่ง ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงพระมหากษัตริย์แบบล้านนาโบราณ ประทับยืนบนฐานสูงประมาณ 3 เมตร ทรงถือดาบด้วยพระหัตถ์ซ้ายแนบกับพระเพลา ทรงสวมมาลัยพระกรและสวมพระธำมรงค์ที่พระหัตถ์ขวาตรงนิ้วนางและนิ้วก้อย และตรงนิ้วชี้ที่พระหัตถ์ข้างซ้าย และทรงฉลองพระบาท ปัจจุบันมีตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติสีทองอร่ามขนาดใหญ่ประดับอยู่ทางด้านหลังอนุสาวรีย์ด้วย สำหรับฐานใต้พระบรมรูปมีคำจารึกว่า ""พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ.ศ.1782 1860 ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรกเมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาไทยให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ประดิษฐานอยู่บริเวณห้าแยกพ่อขุน อ.เมืองเชียงราย โดยประชาชนชาวเชียงรายร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2507 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 80,000 บาท เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณของพ่อขุนเม็งราย ปั้นโดย นายปกรณ์ เล็กฮอน ลักษณะของอนุสาวรีย์คือ เป็นพระรูปของพระองค์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดเท่าครึ่ง ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ล้านนาโบราณ ประทับยืนบนฐานสูงประมาณ 3 เมตร ทรงถือดาบด้วยพระหัตถ์ซ้ายแนบกับพระเพลา ทรงสวมาลัยพระกร ทรงสวมธำมรงค์ที่พระหัตถ์ขวาตรงนิ้วนางและนิ้วก้อย ที่พระหัตถ์ซ้ายตรงนิ้วชี้ และทรงฉลองพระบาท ปัจจุบันมีตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติประดับอยู่ทางด้านหลังอนุสาวรีย์ด้วย และที่ตรงฐานใต้พระบรมรูปมีคำจารึกว่า ""พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ.ศ.1782 1860 ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรกเมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาไทยให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย "" ตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งนับว่าเป็นวาระอันมงคลยิ่ง พสกนิกรชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่าและเผ่าพันธุ์ได้รวมใจกันเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อน้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสจังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของนายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จังมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้ ตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี รูปแบบตุง มีลักษณะเป็น จลนะภาพ คือการแสดงออกถึงพลังแห่งการเคลื่อนไหว อิสระเบ่งบานในการรังสรรค์ที่มิได้ยึดรูปแบบดั้งเดิม หากแต่ยังไว้ซึ่งศักยภาพในด้านเนื้อหา ปรัชญาศรัทธา และสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยความหมายของกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ โดยใช้รูปแบบของนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นพระราชลัญจกรของรามาวตาร พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระราม รูปพระนารายณ์สี่กรทรงตรี คธา จักร และสังข์ ประทับยืนบนครุฑ ช้างเอราวัณสามเศียร หมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต ที่สถิตของพระอินทร์ และพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ อยู่บนฐานปัทม์ ดอกบัวเสี้ยงเดือนรูปปิ่นพระศิวะ และกระต่ายแทนปีพระราชสมภพ และเป็นสัญลักษณ์ของ ศศิธรประภามณฑลของพระอิศวร ตามปกิรนัมตรีมูรติ จิตรกรแทนหกรอบพระชันษา โดยใช้ชื่อสัตว์หิมพานต์ทั้งหก อันมีช้างเอราวัณ ครุฑ นาค นรสิงห์ คชสีห์ และกระต่าย นับได้ว่าเป็นงานรังสฤษฎ์ที่สมบูรณ์ด้วยรูปแบบ เปี่ยมด้วยความหมาย ทรงพลังและเข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก ตุงผืนที่ ๒ ออกแบบโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นตุงแห่งความจงรักภักดีของชาวเชียงรายและปวงประชาไทย น้อมเกล้าถวายบูชาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แสดงออกด้วยรูปแบบที่บ่งบอกถึง”จากแผ่นดิน สู่แผ่นฟ้า” ดิน หมายถึง รูปทรงล่างสุดของตุง ที่มีสัญลักษณ์รูปช่างอันเป็นตราประจำจังหวัดเชียงรายโอบอุ้มขึ้นไปสู่รูปทรงที่ปรากฏเป็นภาพประชาชนชาวเชียงรายถวายเครื่องสูง เพื่อน้อมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในบรรยากาศของขุนเขาดอยนางนอน และองค์พระธาตุดอยตุง เหนือจากดอยตุงเป็นภาพพญาครุฑ อันเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์พระมหากษัตริย์ หลังของพญาครุฑเป็นรัศมีที่โอบอุ้มมี ๑๐ องค์ หมายถึง การปกครองด้วยทศพิธราชธรรม เหนือพญาครุฑเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ มีเปลวกนกที่หมายถึงพระเมตตา รองรับพญานาค

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ห้าแยกพ่อขุน ถนนเชียงราย แม่จัน ตำบลเวียง เมืองเชียงราย

กิจกรรม:

กิจกรรมย่อย:

กลุ่มเป้าหมาย:กลุ่มผู้สูงอายุ/

การขนส่ง: รถยนต์/รถโดยสารประจำทาง/เดินเท้า/มอเตอร์ไซค์/จักรยาน/

สิ่งอำนวยความสะดวก:

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ:

Website คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์

FB คลิกเพื่อเปิดFacebook

เปิด-ปิด เวลา ทุกวัน 24 ชั่วโมง


เปิดGoogle map

จังหวัด>> นราธิวาส   ยะลา   ปัตตานี   พัทลุง   ตรัง   สตูล   สงขลา   ชุมพร   ระนอง   สุราษฎร์ธานี   ภูเก็ต   พังงา   กระบี่   นครศรีธรรมราช   ประจวบคีรีขันธ์   เพชรบุรี   สมุทรสงคราม   สมุทรสาคร   นครปฐม   สุพรรณบุรี   กาญจนบุรี   ราชบุรี   เพชรบูรณ์   พิจิตร   พิษณุโลก   สุโขทัย   ตาก   กำแพงเพชร   อุทัยธานี   นครสวรรค์   แม่ฮ่องสอน   เชียงราย   พะเยา   น่าน   แพร่   อุตรดิตถ์   ลำปาง   ลำพูน   เชียงใหม่   มุกดาหาร   นครพนม   สกลนคร   กาฬสินธุ์   ร้อยเอ็ด   มหาสารคาม   หนองคาย   เลย   อุดรธานี   ขอนแก่น   หนองบัวลำภู   บึงกาฬ   อำนาจเจริญ   ชัยภูมิ   ยโสธร   อุบลราชธานี   ศรีสะเกษ   สุรินทร์   บุรีรัมย์   นครราชสีมา   สระแก้ว   นครนายก   ปราจีนบุรี   ฉะเชิงเทรา   ตราด   จันทบุรี   ระยอง   ชลบุรี   สระบุรี   ชัยนาท   สิงห์บุรี   ลพบุรี   อ่างทอง   พระนครศรีอยุธยา   ปทุมธานี   นนทบุรี   สมุทรปราการ   กรุงเทพมหานคร  
©WhereIs.center