เมืองโบราณเวียงกาหลง ตั้งอยู่บ้านป่าส้าน หมู่ที่ ๕ ตำบลเวียงกาหลง ห่างจากเส้นทางหลักสายเชียงใหม่ เชียงราย แยกเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๑๐๓๕ ไปทางอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ประมาณ ๓ กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่เมืองโบราณเวียงกาหลง ตั้งอยู่บนเนินดิน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ . ศ . ๔๙๙ – ๕๐๐ ในปัจจุบันมีสิ่งที่พอจะเห็นได้คือ แนวกำแพงเมืองชั้นนอกและชั้นใน และสิ่งที่สำคัญที่พบในบริเวณใกล้เคียง คือเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า “ เตาแบบเวียงกาหลง ” เมืองโบราณเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการค้นพบเตาและชิ้นส่วนภาชนะต่าง ๆ อยู่ในทั่วไปในบริเวณ มีแนวคันดินแลคูเมืองเดิมยังหลงเหลืออยู่บางส่วน เวียงกาหลง สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๕ ( พ . ศ . ๕๐๐ – ๕๙๙ ) ซึ่งปรากฎตามหลักฐานในหนังสือพงศาวดารชาติไทยเล่ม ๒ ของพระบริหารเทพธานี ได้กล่าวถึงแว่นแคว้นยวนเชียง ( หน้า ๔ บรรทัดที่๔ ๖ ) ว่า “ เมื่อภายหลัง พ . ศ . ๕๙๐ แว่นแคว้นยวนเชียงก็แยกตั้งบ้านเมืองออกไปทางทิศตะวันตกอีกหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง ( เวียงป่าเป้า ) เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง ( วังเหนือ ) แจ้ห่ม เป็นต้น ” และในหนังสือประวัติศาสตร์เชียงราย ซึ่งจัดพิมพ์ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ หน้า ๑๓ ก็ปรากฏความคล้ายกันคือ “ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๕ มีพวกไทยถอยร่นจากตอนใต้ประเทศจีนปัจจุบัน มาสมทบกับพวกไทยที่เมืองเชียงลาวเพิ่มขึ้นมากทุกที จึงขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปอีก เรียกว่า แคว้นชุนยางหรือยวนเชียว มีอาณาเขตแผ่ไปถึงหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง ( เวียงป่าเป้า ) แจ้ห่ม เวียงฮ่อ ดงเวียง เวียงวัง ( วังเหนือ ) และเชียงแสน ทั้งนี้ภายหลังพ . ศ . ๕๙๐ เป็นต้นมาชื่อของเครื่องถ้วยเวียงกาหลงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ปีพ . ศ . ๒๔๖๗ เป็นต้นมา นับแต่ พระยานครพระราม ( สวัสดิ์ มหากายี ) สำรวจพบซากเตาเผาจำนวนมาในพื้นที่ใกล้เคียงกับเมืองโบราณเวียงกาหลง และได้เขียนบทความผลการสำรวจและศึกษาวิเคราะห์ลงตีพิมพ์ในวารสารของสยามสมาค