คุ้มวิชัยราชา 
[Wichairacha House]

Wichairacha House แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/


เปิดGoogle map

เลขที่ 8 ถนนวิชัยราชา ต.ในเวียง อ.เมือง เป็นบ้านไม้สักที่เก่าแก่อายุมากกว่า 100 ปี อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่ ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าอาจสร้างในปี พ.ศ. 2434 2438 เป็นคุ้มของพญาแสนศรีชวามาก่อนแต่ในอดีต สืบทอดมาจนถึงยุคสมัยของพระวิชัยราชา เป็นเรือนไม้สักทรงมะนิล คุ้มวิชัยราชา อาคารไม้เก่าแก่ที่เป็นสถาปัตยกรรมอันล้ำค่ามีอายุกว่าร้อยปี อยู่คู่เมืองแพร่มายาวนาน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2441 แต่เดิมนั้นคุ้มวิชัยราชา เป็นที่อยู่อาศัยของ เจ้าหนานขัติ แสนศิริพันธุ์ เสนาฝ่ายคลังในสมัยเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย เป็นราชบุตรในเจ้าแสนเสมอใจ ซึ่งเป็นเครือญาติเจ้าหลวงเทพวงศ์ และเป็นต้นราชสกุล แสนศิริพันธุ์ คุ้มแห่งนี้ก็ยังมีเรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์และเหตุการณ์สำคัญหลายๆช่วงที่เกิดขึ้นในจังหวัดแพร่และประเทศไทย ในช่วงที่โจรเงี้ยวก่อจลาจลปล้นเมืองแพร่และเข่นฆ่าข้าราชการไทยที่มาจากภาคกลางนั้น เจ้าหนานขัติ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งดูแลคลังเมืองแพร่ ได้ให้ความช่วยเหลือข้าราชการที่ถูกพวกโจรเงี้ยวตามล่า ได้พาข้าราชการขึ้นไปหลบซ่อนบนเพดานบ้านหลังนี้เป็นเวลาหลายวันจนปลอดภัย และภายหลังท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงวิชัยราชา” นอกจากวีรกรรมของเจ้าหลวงวิชัยราชาที่ยอมเสี่ยงเข้าช่วยเหลือข้าราชการไทยจากภาคกลางซ่อนไว้ในบ้านหลังนี้ จนปลอดภัยรอดพ้นจากเงื้อมมือพวกโจรเงี้ยวแล้ว ต่อมาในยุคสมัยของ “เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธุ์” บุตรชายของหลวงวิชัยราชา ซึ่งเป็น ส.ส. คนแรกของจังหวัดแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2475 ได้สร้างเกียรติประวัติเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเสรีไทย จังหวัดแพร่ เพื่อกู้ชาติระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ใช้บ้านหลังนี้เป็นศูนย์กลางประสานงานไปยังหนองม่วงไข่ เวียงต้า และอำเภอต่างๆ ของจังหวัดแพร่ จากบทบาทและวีรกรรมของขบวนการกู้ชาติเสรีไทยนี่เอง ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นฝ่ายแพ้สงคราม สามารถรักษาเกียรติภูมิศักดิ์ศรี และอธิปไตยของชาติไว้ได้อย่างหวุดหวิดจนมาถึงทุกวันนี้ เรือนไม้สักหลังงามแห่งนี้ ได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม โดดเด่นด้วยลวดลายฉลุที่สวยงามอ่อนช้อย มีความงดงามที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ควรค่าแก่การที่อนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่สืบต่อไป

 Visitor:323