ค้นข้อมูล
Home Thailand Data ข้อมูลจังหวัด สถานพยาบาล สถานศึกษา แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า บริษัท ศาสนสถาน ข้อมูลภาครัฐ Login

วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

อุตรดิตถ์ ที่ท่องเที่ยว ภาคเหนือ

วัดพระฝางปรากฏชื่ออยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 ซึ่งได้กล่าวถึงพระมหาเถรศรีศรัทธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นหลานของพ่อขุนผาเมือง ว่าก่อนที่ท่านจะเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่ลังกา ในสมัยพญาเลอไท ได้แวะมานมัสการพระธาตุวัดพระฝาง แล้วจึงเดินทางต่อไปยังเมืองแพร่ ลำพูน และลงเรือที่อ่าวเมาะตะมะไปลังกา นอกจากนี้ในศิลาจารึกหลักที่ 3 ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1900 ก็ได้ปรากฏชื่อเมืองฝางอยู่ด้วยเช่นกัน ในจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์นในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ. 2230 ) ก็ได้กล่าวถึงความศรัทธาของคนสยามต่อพระทันตธาตุเมืองพระฝางไว้เช่นเดียวกัน แสดงถึงความสำคัญของพระบรมธาตุเมืองฝางในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี หาดแม่น้ำน่าน หน้าวัดพระฝาง ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5ในปี พ.ศ. 2310 ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพระฝางมีความสำคัญมาก คือ เป็นศูนย์กลางของชุมชนพระฝาง ซึ่งมี "เจ้าพระฝาง" (เรือน) เป็นหัวหน้าสามารถขยายอาณาเขตกว้างขวางจากทิศเหนือ ถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศใต้ถึงเมืองพิษณุโลก ทิศตะวันออกถึงลาว และทิศตะวันตกถึงเมืองศรีสัชนาลัย เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และเป็นชุมนุมสุดท้ายที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมเป็นอาณาเขตเดียวกันกับกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2313 วันที่ 25 ต.ค. พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้เสด็จฯ มาสักการะวัดพระฝาง ปรากฏข้อความในพระราชนิพนธ์ของพระองค์ตอนหนึ่งว่า “เมื่อถึงหน้าเมืองฝางก็มีหาดโต เมืองนั้นตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก มีพระวิหารกลางใหญ่ มีลายประตูเป็นลายสลักก้านขดหน้าสัตว์ต่างๆ เช่น บานวัดสุทัศน์ แต่เด่นออกมามากกว่าวัดสุทัศน์ ทำงามดีมาก” พระฝางเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาประมาณ พ.ศ. 2280 มีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของแผ่นดินไทยอีกองค์หนึ่ง สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือเจ้าพระฝาง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระฝาง เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดพระฝางหรือวัดสว่างคบุรีมุนีนาถ พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพหลวงมาตีชุมนุมพระฝางได้ และโปรดเกล้าฯ ให้รับละครขึ้นมาสมโภชพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ ที่วัดพระฝางถึง 3 วัน เท่ากันกับการสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ซึ่งนับว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองไทยองค์หนึ่ง ในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่5) ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระฝางไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรฯจนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บ้านฝาง ตำบลผาจุก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กิโลเมตร

กิจกรรม:เชิงศาสนา/

กิจกรรมย่อย:นมัสการศาสนสถาน/บูรพาจารย์/ขอพร/

กลุ่มเป้าหมาย:กลุ่มครอบครัว/

การขนส่ง: รถยนต์/รถโดยสารประจำทาง/เดินเท้า/มอเตอร์ไซค์/จักรยาน/

สิ่งอำนวยความสะดวก:ป้ายชี้ทางเข้าถึง/

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ:

Website คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์

FB คลิกเพื่อเปิดFacebook

เปิด-ปิด เวลา 08.00-17.00 น.


เปิดGoogle map

จังหวัด>> นราธิวาส   ยะลา   ปัตตานี   พัทลุง   ตรัง   สตูล   สงขลา   ชุมพร   ระนอง   สุราษฎร์ธานี   ภูเก็ต   พังงา   กระบี่   นครศรีธรรมราช   ประจวบคีรีขันธ์   เพชรบุรี   สมุทรสงคราม   สมุทรสาคร   นครปฐม   สุพรรณบุรี   กาญจนบุรี   ราชบุรี   เพชรบูรณ์   พิจิตร   พิษณุโลก   สุโขทัย   ตาก   กำแพงเพชร   อุทัยธานี   นครสวรรค์   แม่ฮ่องสอน   เชียงราย   พะเยา   น่าน   แพร่   อุตรดิตถ์   ลำปาง   ลำพูน   เชียงใหม่   มุกดาหาร   นครพนม   สกลนคร   กาฬสินธุ์   ร้อยเอ็ด   มหาสารคาม   หนองคาย   เลย   อุดรธานี   ขอนแก่น   หนองบัวลำภู   บึงกาฬ   อำนาจเจริญ   ชัยภูมิ   ยโสธร   อุบลราชธานี   ศรีสะเกษ   สุรินทร์   บุรีรัมย์   นครราชสีมา   สระแก้ว   นครนายก   ปราจีนบุรี   ฉะเชิงเทรา   ตราด   จันทบุรี   ระยอง   ชลบุรี   สระบุรี   ชัยนาท   สิงห์บุรี   ลพบุรี   อ่างทอง   พระนครศรีอยุธยา   ปทุมธานี   นนทบุรี   สมุทรปราการ   กรุงเทพมหานคร  
©WhereIs.center