วัดพระธาตุไฮสร้อย 
[Wat Pratart Hisoi]

Wat Pratart Hisoi แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ศาสนสถาน (วัด/โบสถ์/มัสยิด ฯลฯ)

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/


เปิดGoogle map

วัดพระธาตุไฮสร้อย ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๓๐ บ้านไฮสร้อย หมู่ที่ ๕ ตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๓ งาน วัดพระธาตุไฮสร้อยเป็นวัดโบราณสร้างมามีอายุไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ ปี เป็นวัดหลวงกลางเวียงลองที่อยู่ ตอนกลางแอ่งลอง ซึ่งร่วมสมัยกับวัดตรอกสลอบ(ร้าง) ที่เป็นวัดหลวงกลางเวียงตรอกสลอบ(ปัจจุบันอยู่ บริเวณสถานีตำรวจ อ.วังชิ้น จ.แพร่) ที่อยู่ทางตอนใต้แอ่งลองและมีแม่น้ำยมไหลผ่านด้านทิศตะวันออก ของเวียงเช่นเดียวกัน มีศิลาจารึกระบุว่ามีการสร้างพระธาตุตรอกสลอบโดยเจ้าเมืองตรอกสลอบขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๘๒ เวียงลองตรงบริเวณบ้านไฮสร้อยในปัจจุบัน ในอดีตเป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองลองยุค แรกประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ( ช่วง พ.ศ. ๑๖๐๐ ๑๖๙๙ ) มีกำแพงคันดิน ๔ ชั้นและคูน้ำ ๓ ชั้น ล้อม รอบด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก ส่วนด้านทิศตะวันออกใช้แม่น้ำยม(กว้างประมาณ ๑๐๐ เมตร) และด้านทิศ ใต้ใช้ห้วยแม่ลอง(ลึกประมาณ ๑๕ เมตร)เป็นปราการธรรมชาติ สันนิษฐานว่าเดิมกำแพงเวียงลองอาจมี ๑ – ๒ ชั้น แต่มีการก่อสร้างเพิ่มเป็นจำนวน ๔ ชั้นในสมัยพญาเป็กขะจา(พญาหูหิ้น)เป็นเจ้าเมืองลอง เพราะ ช่วงนี้ประมาณพ.ศ.๑๙๙๔ ๒๐๑๘ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาทรงทำสงครามกับพระบรมไตรโลก นาถ กษัตริย์อยุธยา เมืองลองจึงเป็นเมืองหน้าด่านหรือเมืองกันชนของล้านนา ขณะที่อยุธยามีเมืองพิชัย (ปัจจุบันอยู่ในเขตจ.อุตรดิตถ์) เป็นเมืองหน้าด่านและพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นมาประทับสั่งการเมือง ลองในช่วงนี้จึงมีการสร้างคูน้ำคันดินอย่างหนาแน่น ภายในเวียงลองจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ หัวเวียงเป็นที่ตั้งของวัดหลวงหัวเวียง(วัดหัวข่วง) โฮงไชยผีเมือง(พ่อเฒ่าหลวง,แม่นางแก้ว) ถัดลงมาเป็น ข่วงสนามหลวง กาดหลวง คุ้มหลวงเจ้าเมืองและ ญาติวงศ์ กลางเวียงเป็นที่ตั้งวัดมหาธาตุกลางเวียง (วัดพระธาตุไฮสร้อย) มีพระธาตุไฮสร้อยเป็นใจเมือง (สะดือเมือง)หรือศูนย์กลางเมืองลอง ซ้อนทับอยู่กับไม้ใจเมือง(ต้นไทรย้อย) ที่เป็นศูนย์กลางตามความ เชื่อผีดั้งเดิมอยู่ภายในวัด ซึ่งไทรย้อยต้นนี้ด้วยการเป็นไม้ใจเมืองจึงมีการให้ความสำคัญตลอดมา เช่น นำมาตั้งเป็นชื่อวัดว่า "วัดไฮสร้อย" (ไฮ – ต้นไทร, สร้อย รากไทรที่ย้อยลงมา) หรือจากในจารึกท้าย คัมภีร์ใบลาน(คำส่อ)ของวัดพระธาตุไฮสร้อย พบว่ามักเรียกชื่อวัดหลากหลายตามสภาพแวดล้อมที่ตั้งกับ ต้นไทร เช่น "วัดพระธาตุไฮสร้อยกิ่งย้อยดอนแท่น" "วัดพระธาตุไฮสร้อยดอนแท่นริมยม" หรือ "วัดพระ ธาตุไฮสร้อยดอนแท่นวังต๊ะครัว" และมีพุทธทำนาย(บางตำนานว่าพระเจ้าอโศกทรงทำนาย)ของวัดพระ ธาตุไฮสร้อยก็เชื่อมโยงกับต้นไทรว่า "เมื่อใดต้นไทรย้อย นี้รากย้อยถึงพื้นดิน เมื่อนั้นวัดพระธาตุแห่งนี้จะ มีผู้อุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง

 Visitor:10