วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร 
[Wat Suwandaranram Rajawaraviharn]

Wat Suwandaranram Rajawaraviharn แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคกลาง กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/


เปิดGoogle map

อยู่ในเขตพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง เหนือบริเวณป้อมเพชร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม แต่พอถึงสามแยกให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปประมาณ ๑ กิโลเมตร จะเห็นป้ายทางเข้าวัดอยู่ทางด้านขวามือ วัดนี้เดิมชื่อว่า“วัดทอง”เป็นวัดที่พระบรมมหาชนกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างไว้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดทองขึ้นใหม่และพระราชนามว่า “วัดสุวรรณดาราราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี ตามพระนามเดิมของทั้งสองพระองค์คือ“ทองดี” และ“ดาวเรือง” วัดแห่งนี้มีสิ่งต่างๆที่น่าชมไม่ว่าจะเป็นพระอุโบสถซึ่งยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย คือทำส่วนฐานโค้งอ่อนลงตรงกลางคล้ายปากเรือสำเภา หน้าบันอุโบสถสลักลายเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเทพชุมนุมที่ผนังอุโบสถตอนบน ตอนล่างเขียนเรื่องเวสสันดรชาดก เตมีย์ชาดกและสุวรรณสามชาดก ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพมารวิชัย มีแม่พระธรณีบีบมวยผมอยู่ตรงกลาง ส่วนพระประธานในพระอุโบสถรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯให้จำลองขยายส่วนจากพระแก้วมรกต นอกจากนั้นภายในพระวิหารมีลักษณะรูปแบบฐานเป็นเส้นตรง ไม่ใช้ฐานอ่อนโค้งตามรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา บัวหัวเสามีลักษณะเป็นบัวกลีบยาวหรือบัวแวง พระวิหารสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ ภายในพระวิหารมีภาพเขียนสีในสมัยรัชกาลที่ ๗ แสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี นับเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีฝีมือยอดเยี่ยมงดงามมาก กรมศิลปากรได้ถ่ายแบบภาพเขียนนี้ไปไว้ที่อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี บริเวณหน้าพระอุโบสถจะเห็น แท่นพระศรีมหาโพธิ์ ลักษณะเป็นแท่นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย ประดิษฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำหน่อโพธิ์มาจากประเทศอินเดีย ไม่ไกลกันนั้นมี หอระฆัง ลักษณะแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก ก่ออิฐถือปูน มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมสองชั้น ชั้นล่างเจาะประตูเป็นรูปโค้งแหลม ชั้นบนเป็นส่วนของหอระฆัง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ พร้อมกับการปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่

 Visitor:15