ค้นข้อมูล
Home Thailand Data ข้อมูลจังหวัด สถานพยาบาล สถานศึกษา แหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า บริษัท ศาสนสถาน ข้อมูลภาครัฐ Login

วัดไชโยวรวิหาร

วัดไชโยวรวิหาร

อ่างทอง ที่ท่องเที่ยว ภาคกลาง

"เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นโท เดิมเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ มีนามว่า วัดไชโย ครั้นเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามได้เลือกวัดนี้เป็นที่สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ตั้งอยู่กลางแจ้ง กล่าวว่าการก่อสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลานานเกือบ 3 ปี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงเสร็จ แล้วสมเด็จพุฒาจารย์ได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า """"วัดเกษไชโย” ใน พ.ศ.2430 มีการปฏิสังขรณ์วัดเกษไชโยทั้งพระอาราม ทำให้พระพุทธรูปได้รับแรงกระเทือนจากการก่อสร้างพระวิหารก็พังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ทดแทนโดยโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการเป็นแม่กองช่าง โดยรื้อองค์พระเดิมออกหมดวางรากฐานก่อสร้างใหม่ใช้โครงเหล็กรัดอิฐปูนไว้ภายในลดขนาดจากองค์เดิมลงพระพุทธรูปองค์นี้ได้รับพระราชทานนาม """"พระมหาพุทธพิมพ์” ขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง 11 วา ศอก 7 นิ้ว และโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยให้เป็นพระอารามหลวง นอกจากนี้ยังมีการก่อ พระวิหาร สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาทางด้านหน้า มีศาลาราย กำแพงแก้ว ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ หอระฆัง ศาลารายกลางวัด ศาลาท่าน้ำ รวมเวลาการปฏิสังขรณ์นานถึง 8 ปี พระวิหาร มีความสูงใหญ่มากแห่งหนึ่ง รูปทรงแปลกตา ด้านนอกมีรูปทวารบาลลายรดน้ำ เป็นรูปเสี้ยวกวาง เสาหารด้านหน้า หลังพระวิหารมีขนาดใหญ่โตมาก ภายในพระอุโบสถ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นปางสมาธิ ผนังทุกด้านมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเรื่องพุทธประวัติ ภาพเหล่าทวยเทพที่วิจิตรงดงาม ยังอยู่ในสภาพที่ดี บานประตูแกะสลักอย่างประณีต สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ ได้แก่ พระมหาพุทธพิมพ์ หรือที่เรียกว่า หลวงพ่อโต เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่โดดเด่นกว่ายุคสมัยที่ไม่ยึดแนวอุดมคติตายตัว พระพักตร์และพระกรรณจึงเหมือนคนธรรมดามากกว่า มีริ้วรอยย่นของ สบง จีวร ชัดเจน นอกจากจะเป็นวัดสำคัญของอำเภอไชโยแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนรู้จักวัดนี้เป็นอย่างดี ได้แก่ """"พระสมเด็จเกษไชโย” พระเครื่องที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณนานัปการ"

ที่ตั้ง : ห่างจากอำเภอไชโยประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่บนเส้นทางสายอ่างทอง สิงห์บุรี ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

กิจกรรม:

กิจกรรมย่อย:

กลุ่มเป้าหมาย:กลุ่มนักเรียนนักศึกษา/เยาวชน/วัยรุ่น/

การขนส่ง: รถยนต์/เรือ/รถโดยสารประจำทาง/เดินเท้า/มอเตอร์ไซค์/จักรยาน/

สิ่งอำนวยความสะดวก:ป้ายชี้ทางเข้าถึง/

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ:

Website คลิกเพื่อเปิดเว็บไซต์

FB คลิกเพื่อเปิดFacebook

เปิด-ปิด เวลา ทุกวัน 08.00-17.00 น.


เปิดGoogle map

จังหวัด>> นราธิวาส   ยะลา   ปัตตานี   พัทลุง   ตรัง   สตูล   สงขลา   ชุมพร   ระนอง   สุราษฎร์ธานี   ภูเก็ต   พังงา   กระบี่   นครศรีธรรมราช   ประจวบคีรีขันธ์   เพชรบุรี   สมุทรสงคราม   สมุทรสาคร   นครปฐม   สุพรรณบุรี   กาญจนบุรี   ราชบุรี   เพชรบูรณ์   พิจิตร   พิษณุโลก   สุโขทัย   ตาก   กำแพงเพชร   อุทัยธานี   นครสวรรค์   แม่ฮ่องสอน   เชียงราย   พะเยา   น่าน   แพร่   อุตรดิตถ์   ลำปาง   ลำพูน   เชียงใหม่   มุกดาหาร   นครพนม   สกลนคร   กาฬสินธุ์   ร้อยเอ็ด   มหาสารคาม   หนองคาย   เลย   อุดรธานี   ขอนแก่น   หนองบัวลำภู   บึงกาฬ   อำนาจเจริญ   ชัยภูมิ   ยโสธร   อุบลราชธานี   ศรีสะเกษ   สุรินทร์   บุรีรัมย์   นครราชสีมา   สระแก้ว   นครนายก   ปราจีนบุรี   ฉะเชิงเทรา   ตราด   จันทบุรี   ระยอง   ชลบุรี   สระบุรี   ชัยนาท   สิงห์บุรี   ลพบุรี   อ่างทอง   พระนครศรีอยุธยา   ปทุมธานี   นนทบุรี   สมุทรปราการ   กรุงเทพมหานคร  
©WhereIs.center