หมู่บ้านสานปลาตะเพียน 
[ไม่มี]

ไม่มี แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ศูนย์หัตถกรรม

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคกลาง กลุ่มนักเรียนนักศึกษา/เยาวชน/วัยรุ่น/


เปิดGoogle map

"ปลาตะเพียนใบลานเป็นงานหัตถศิลป์ฝีมือชาวมุสลิมในท้องที่ท่าวาสุกรี บ้านหัวแหลมที่อยู่คู่อยุธยามาเป็นเวลาร่วมร้อยปีจนถึงวันนี้ ก็ยังนับได้ว่าอยุธยาเป็นแหล่งผลิตปลาตะเพียนสานใบลานใหญ่ที่สุดในประเทศคนไทยคุ้นเคยและใกล้ชิดกับปลาตะเพียนมานานแล้วและสมัยก่อนเชื่อกันว่าปลาตะเพียนเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เพราะช่วงที่ปลาโตเต็มที่กินได้อร่อยเป็นช่วงที่ข้าวตกรวงพร้อมเก็บเกี่ยวพอดีเรียกว่าเป็นช่วง “ข้าวใหม่ปลามัน"" ด้วยความเชื่อในเรื่องดังกล่าว จึงมีผู้นิยมนำใบลานแห้งมาสานขดกันเป็นปลาตะเพียนจำลองขนาดต่างๆ แล้วผูกเป็นพวงๆ แขวนไว้เหนือเปลนอนของเด็กอ่อนเพื่อให้เด็กดูเล่น และถือเป็นสิ่งมงคลสำหรับเด็ก เท่ากับอวยพรให้เด็กเจริญเติบโตมีฐานะมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ดุจปลาตะเพียนในฤดูข้าวตกรวง บ้างก็มีความเชื่อว่า ปลาตะเพียนเป็นสิ่งสิริมงคล ทำให้เงินทองไหลมาเทมา บ้างก็ว่า หากบ้านไหนแขวนปลาตะเพียนไว้หน้าบ้านจะทำให้บ้านนั้นมั่งมีศรีสุข ทำมาค้าขึ้น นอกจากนี้ปลาตะเพียนยังมีนัยยะที่บ่งบอกถึงเรื่องความขยันหมั่นเพียรอีกด้วย ปลาตะเพียนสานเป็นเครื่องแขวนที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำคัญ 6 ชิ้นคือ กระโจม แม่ปลา กระทงเกลือ ปักเป้า ใบโพธิ์ และลูกปลา มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่เขียนเป็นลวดลายตกแต่งสวยงามสำหรับแขวนเหนือเปลลูกผู้มีบรรดาศักดิ์ และ ชนิดเป็นสีใบลานเรียบๆ ไม่มีการตกแต่งอย่างใดใช้แขวนเหนือเปลลูกชาวบ้านธรรมดาสามัญ ปลาตะเพียนใบลานที่มีลวดลายสีสันต่างๆ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน เป็นปลาตะเพียนที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 สืบทราบได้เป็นเลาๆ ว่าหลวงโยธาฯ ข้าราชการเกษียณผู้มีนิวาสสถานอยู่ใกล้สะพานหัน ตำบลวังบูรพา กรุงเทพฯ เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำให้สวยงามขึ้น แล้วนำออกจำหน่ายตามงานวัดต่างๆ นับแต่นั้นมาคนก็หันมานิยมปลาตะเพียนสานกันมากขึ้น ปัจจุบันความนิยมการสานปลาตะเพียนไปแขวนเปลให้เด็กอ่อนอาจจะเหลือน้อยมากแต่กลายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนและสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันการดำเนินชีวิตในเมืองต่างเร่งรีบ และไม่ได้เป็นครอบครัวใหญ่เหมือนสมัยก่อน เด็กๆเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้นอนเปลนอกจากชนบทที่ยังพอจะได้เห็นกันอยู่ แต่ได้เห็นที่นำมาตกแต่งร้านอาหารหรือที่พักเป็นส่วนมาก การสานปลาตะเพียน ปัจจุบันใบลานขาดแคลน ต้องซื้อมาจากอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีซึ่งยังมีต้นตาลเป็นจำนวนมาก วิธีสานปลาตะเพียนใบลาน มีขั้นตอนดังนี้ เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้สาน เช่นใบลาน พู่กัน แปรงทาสี กรรไกร เข็ม ด้าย มีด เชือก เลียด เป็นต้น นำใบลานมาตัดเป็นแผ่นๆ นำไปชักเลียดให้มีขนาดเล็กลงตามความต้องการ สานใบลานให้เป็นตัวปลา หางปลา หางจะพับเป็นสามเหลี่ยม มีขนาดพอเหมาะกับตัวปลา ผ่าปลายด้านหางตัวปลา นำหางที่พับไว้มาเสียบติดเข้ากับตัวปลา สานใบลานส่วนที่เป็นองค์ประกอบอื่นๆ เช่น กระโจม กระทงเกลือ ครีบปลา ใบไพ เม็ดปักเป้า และลูกปลา นำตัวปลาและเครื่องประกอบอื่นๆระบายสีให้สวยงาม นำลูกปลาเละเครื่องประกอบอื่นๆที่ตกแต่งแล้วมาประกอบกับปลาตัวใหญ่ จะได้ปลาตะเพียนเป็นพวงสวยงาม มีปลาตะเพียนตัวใหญ่อยู่ตรงกลาง มีลูกปลาตะเพียนตัวเล็กๆล้อมรอบ เป็นเสร็จ นำไปแขวนขายได้ ปลาตะเพียนที่นำไปประดับเหนือเปลเด็ก พอถูกลมพัดก็จะค่อยๆหมุนไป เด็กในเปลก็จ้องมองและเคลื่อนสายตาตามไปด้วย นอกจากจะทำให้เกิดความเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นการฝึกการออกกำลังของดวงตาเด็กอีกด้วย ปลาตะเพียนใบลาน เป็นความฉลาดของคนไทยที่ใช้ใบไม้มาทำให้เกิดประโยชน์ เป็นภูมิปัญญาไทยที่ควรศึกษาและน่ายกย่องมากทีเดียว"

 Visitor:24