พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย 
[Somdet Phra Suriyothai Monument]

Somdet Phra Suriyothai Monument แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อนุสาวรีย์/อนุสรณ์สถาน

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคกลาง กลุ่มนักเรียนนักศึกษา/เยาวชน/วัยรุ่น/


เปิดGoogle map

ทุ่งมะขามหย่อง เดิมเป็นทุ่งนาที่มีต้นมะขามต้นเตี้ย ๆ ขึ้นอยู่มาก ผืนนาแห่งนี้มีความสำคัญเป็นมรดกภูมิแผ่นดินของชาติไทยนับจากอดีตถึงปัจจุบัน ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภูมินิเวศวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจจากสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถปกป้องและพัฒนาให้ประชาชาวไทยได้รับความร่มเย็นเป็นสุข และพร้อมใจให้ฉายาว่า ผืนแผ่นดินแห่งพระมหากรุณาธิคุณ ผืนนาแห่งนี้มีบันทึกประวัติศาตร์ว่า เป็นสมรภูมิสู้รบกับข้าศึกหลายครั้ง ที่สำคัญของกองทัพไทยครั้งใหญ่คือในรัชสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ระหว่างปี ๒๐๙๑ ๒๑๑๑ รวม ๒๐ ปีนั้น มีวันที่จารึกเป็นวันประวัติศาสตร์ของชาติไทยตรงวันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๔ พ.ศ.๒๐๙๑ สมเด็จพระมหา จักรพรรดิ์ พร้อมด้วยสมเด็จพระสุริโยทัย พระมเหสีซึ่งฉลองพระองค์เยี่ยงพระมหาอุปราช และพระราชโอรส พระราชธิดาทรงช้างศึกยกกองทัพไปตั้งรับการทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร ในสงครามยุทธหัตถีครั้งนั้น กองทัพไทยเสียหลัก จนเป็นเหตุให้สมเด็จพระสุริโยทัยต้องพระแสงของ้าวของพระเจ้าแปรสิ้นพระชนม์บนคอช้าง ต่อมาในปี ๒๑๒๙ ตรงกับรัชสมัยแผ่นดินพระมหาธรรมราชา(พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มังมอด พระราชบุตรแห่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ยกกองทัพมาตั้งค่ายที่ขนอนปากคู่ ริมทุ่งมะขามหย่อง การป้องกันข้าศึกครั้งนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงดำริตัดกำลังทัพหลวงโดยนำทหารออกปล้นค่ายด่านหน้าของ หงสาวดีจนข้าศึกแตกพ่ายถอยหนี พระองค์จึงไล่ตามตีไปถึงค่ายทัพหลวงของพระเจ้าหงสาว ดี แล้วเสด็จฯลงจากหลังม้า ทรงใช้พระโอษฐ์คาบพระแสงดาบนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงค่าย แต่ถูกทหารใช้หอกแทงตกลงมาหลายครั้ง เมื่อทรงพิจารณาว่ากำลังทหารน้อยกว่าข้าศึก อาจเสียทีได้จึงเสด็จฯกลับพระนคร ทำให้พระแสงดาบเล่มนี้ ปรากฏนาม “พระแสงดาบคานับจากนั้น ไม่ปรากฏการสงครามในทุ่งมะขามหย่องอีก คงเป็นทุ่งกว้างที่เอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกรรมของชาวพระนครศรีอยุธยาอยู่นานถึง ๔ ศตวรรษ กระทั่งถึง รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันแห่งราชวงศ์จักรี เมื่อปี ๒๕๓๑ รัฐบาลได้น้อมรับกระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเผยแพร่พระเกียรติคุณและเฉลิมพระเกียรติวีรสตรีของชาติ สมเด็จพระสุริโย ทัยบค่าย” และสนองแนวพระราชดำริเรื่องการเกษตรและการชลประทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมติคณะรัฐมนตรีดำเนินการสนองพระราชดำริเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๑ โครงการพัฒนาทุ่งมะขามหย่องซึ่งมีพื้นที่กว้าง ๒๕๐ ไร่ได้แบ่งพื้นที่ดำเนินการออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่หนึ่งพื้นที่ ๙๖ ไร่ใช้ก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยและสวนสา ธารณะ อีกส่วนหนึ่งใช้เป็นพื้นที่พัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแบ่งเป็นอ่างน้ำกว้าง ๑๘๐ ไร่เก็บกักน้ำได้ ๒.๑ ล้านลูกบาศก์เมตรและพื้นที่ปลูกไม้ใช้สอย การพัฒนาพนที่ตามแนวพระราชดำริทั้ง ๒ โครงการนั้น โครงการแรก กระทรวง มหาดไทย กรมโยธาธิการและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกันรับผิดชอบก่อสร้างพระราชานุ สาวรีย์ฯพร้อมด้วยกลุ่มประติมากรรม ป้อมค่าย ที่เป็นองค์ประกอบภูมิทัศน์จำลองประวัติศาสตร์น้อมเกล้าฯถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบในปี ๒๕๓๕ โครงการที่สองกรมชลประทานและจังหวัดพระนครศรีอยุธยารับผิดชอบการสร้างอ่างเก็บน้ำ และร่วมประสานการจัดภูมิทัศน์ปลูกไม้ใช้สอยตามแนวพระราชดำริผนวกสองโครงการเป็นสาธารณะในพื้นทีเดียวกัน การดำเนินงานสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยระยะแรกนั้น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลา ฤกษ์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2534ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบวงสรวงพระราชานุสาวรีย์ฯเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2538 ทุ่งมะขามหย่องจึงเป็นสวนสาธาณะที่พักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวของพระนครศรีอยุธยาแห่งใหม่ด้วย อนุสรณ์สถานเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและเฉลิมพระเกียรติวีรสตรี สวนสมเด็จพระสุริโยทยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นสถานที่พักผ่อนเป็นสวนสาธารณะภูมิทัศน์สวยร่มรื่น แต่เมื่อปี 2538 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรีและชัยนาทประสบอุทกภัยอย่างรุนแรง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยพระสกนิกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. และเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา อัญเชิญกระแสรับสั่งพระราชทานแก่คณะกรรมการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่าให้ใช้พื้นที่ทุ่งมะขามหย่องเป็นพื้นที่แก้มลิงรับน้ำ

 Visitor:12