พญาอินทิราหรือสุลต่านอิสมาอีล ชาร์ เป็นเจ้าเมืองปัตตานีคนแรกที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ทรงปกครอง เมืองปัตตานี ระหว่าง ปี พ.ศ. 2043 พ.ศ. 2073เป็นผู้สถาปนานคร ปัตตานีดารุสลาม สุลต่านอิสมาอีล ชาห์ เป็นพระราชโอรสกษัตริย์ศรีวังสา(พญาท้าวนภา) แห่งโกตามหลิฆัย ยะรัง พระนามเดิม คือ พญาอินทิราทรงนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ปฐมกษัตริย์แห่งนครรัฐปตานี พระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรคพระฉวีแตก หมอหลวงและหมออื่นๆถวายรักษาแล้วไม่หาย ชีคซาอิดครูสอนศาสนาอิสลามแห่งปาไซและมีความรู้ด้านการรักษาโรคด้วยได้ถวายการรักษาจนอาการพระชวรหายเป็นปกติทรงเข้ารับศาสนาอิสลามพระนามว่า สุลต่านอิสมาอีล ชาห์ ซิลลุลออฮ์ ฟิลอาลัม สถาปนารัฐปาตานีเป็น นครรัฐอิสลามว่า ฟาฎอนี ดารุสสาลาม แปลว่า ปาตานีนครรัฐแห่งสันติ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ในแหลมมลายูและในเอเชียอาคเนย์ ชาวปาตานีภูมิใจมากที่ทำให้ศาสนาอิสลามเจริญรุ่งเรื่องแผร่กระจายไปทั่วอาณาจักรของพระองค์ทรงใช้รูปแบบการบริหารการปกครองตามหลักศาสนา อิสลามอย่างเคร่งครัด เมืองปัตตานีมีความเจริญและมีชื่อเสียงทางการค้าและเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาอิลามทรงเปิดสัมพันธ์ไมตรีกับมาละกาและสยาม ทำการค้ากับจีน ญี่ปุ่น โปรตุเกส และหัวเมืองมลายูอื่นๆ เรือสินค้าของโปรตุเกส มาทำการค้าครั้งแรกกับเมืองปัตตานี พ.ศ. 2059 ในสมัยนี้เองชาวปัตตานีได้เรียนรู้เทคโนโลยีจากชาวตะวันนตก โดยเฉพาะการทำปืนใหญ่ ทำให้กิจการหล่อปืนใหญ่ของเมืองปัตตานีมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก พญาอินทิราเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2073 พระศพของพระองค์ถูกนำมาฝังไว้ที่สุสานอัลมัรโฮม สุสานแห่งนี้มีแนแซหรือหินเหนือหลุมฝังศพที่แกะสลักลวดลายงดงามเก่าแก่ที่สุดในปัตตานี สุสาน รายาสตรีชื่อ รายาฮีเยา บีรู และอูงู สุสานทั้งสองเรียกรวมกันว่าสุสานมัรโฮมหรือสุสานหลวง นอกจากนี้ยังปรากฏประตูเมืองเก่าเรียกว่าประตูช้างหลงเหลือให้เห็น รวมทั้งบ่อน้ำเก่าบริเวณบ้านของแชะห์ ดาวุด นักปราชญ์อิสลามผู้เขียนตำราทางสาสนาจนมีชื่อเสียงร่ำลือทั่วโลก พี่น้องมุสลิมนานาประเทศเดินทางมาเยี่ยมชมบ่อน้ำแห่งนี้ เพื่อรำลึกถึงปรมาจารย์ที่พวกเขาได้ยึดตามของท่านเป็นหลักแห่งศรัทธาใน ศาสนาช้านาน ตำบลบาราโหม มาจากคำว่า บัรโหมหรืออัลบัรโหม ซึ่งแปลว่า ผู้ที่กลับไปหาอัลลอฮ หรือ ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นที่ตั้ง สุสานหลวง ซึ่งมีหลักบานทางประวัติศาสตร์และปัจจุบันคือ สุสานพญาอินทิรา และมีนักปราชญ์ที่มีผลงานด้านการเขียนวิชาการอิสลามหลายแขนงได้รับยอมรับ ว่าเป็นไข่มุกทางวิชาการแห่งนูซันดารา (หมู่เกาะมลายูและโลกอิสลาม)ตำราของท่านยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน