มัสยิดนัจมุดดีน 
[Najmuddeen Mosque]

Najmuddeen Mosque แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคใต้ กลุ่มมุสลิม/


เปิดGoogle map

มัสยิดนัจมุดดีน บาโงยลางา หรือ มัสยิดโบราณบาโงยลางา เป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลาม มีการก่อสร้างแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมของมุสลิม ซึ่งทำให้สุเหร่าแห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับศาลาการเปรียญของไทย พ.ศ. 2177 (ค.ศ.1634) ในรัชสมัยของราชินีราตูอูงู บิน สุลต่านมันซูร ซาห์ รัชกาลที่ 8 แห่งราชอาณาจักรปาตานี ดารุสสลาม ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2167 2178 ซึ่งในสมัยของราชินีราตูอูงูนั้น ได้เกิดสงครามขึ้นระหว่างเมืองปาตานี ดารุสสลามกับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพระเจ้าประสาททองได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าโจมตี ปาตานีดารุสสลาม เกิดสงครามยืดเยื้อเป็นเวลาแรมปี สงครามครั้งนี้เองจึงเป็นที่มาของวีรกรรมอันกล้าหาญของโต๊ะหยางหญิงแห่งบ้าน บาโงยลางา (คำว่า บาโงย เป็นภาษามลายู หมายถึง ควนหรือเนิน ส่วนคำว่า ลางา แปลว่า การปะทะ สถานที่แห่งนี้คือส่วนหนึ่งของสมรภูมิสงครามในครั้งนั้น) โต๊ะหยางหญิงเป็นผู้เก็บพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานในช่วงสงคราม ซึ่งขณะกำลังหนีภัยสงครามนั้นโต๊ะหยางหญิงได้ตกลงไปในหุบเหวเป็นเวลาหลายวัน หลังสงครามสงบโต๊ะหยางได้รับความช่วยเหลือจากชาวบ้านให้ขึ้นจากเหว ซึ่งทุกคนต่างตะลึงเมื่อเห็นสิ่งที่โต๊ะหยางกอดแน่นอยู่กับอกคือพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานเล่มหนึ่งซึ่งถูกจารึกด้วยลายมืออันสวยงามวิจิตร ปกทำจากเปลือกต้นมะม่วงหิมพานต์ พระมหาคัมภีร์อัลกรุอานเล่มนี้ ได้ประดิษฐานในมัสยิดแห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน จากนั้นชุมชนบ้าน ทรายขาวซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาใหญ่สันกาลาคีรี ได้ร่วมกันสร้างมัสยิดขึ้นหลังจากสงครามสงบลง โดยขณะนั้นชาวบ้านทั้งมุสลิมและไทยพุทธในพื้นที่ ได้ร่วมแรงร่วมใจ ในการก่อสร้างสร้างมัสยิดไม้โบราณหลังนี้ โดยไม้ที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง คือไม้แคและไม้ตะเคียนทั้งต้น ซึ่งชาวบ้านตัดมาจากป่าในเทือกเขาสันกาลาคีรี และใช้หวายมัดเป็นเชือกลากลงจากภูเขา จากนั้นก็จะใช้ขวานถากเสาให้เป็นสี่เหลี่ยม ส่วนกระเบื้องที่ใช้มุงหลังคา ทำมาจากอิฐแดง ต้นกำเนิดมาจากจากหมู่บ้านตาระบาตอ ต.กะมิยอ. อ.เมือง จ.ปัตตานี ปัจจุบันพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานฉบับเขียนด้วยมือและเครื่องมือการก่อสร้างบางส่วนยังคงเก็บรักษาไว้รูปแบบการก่อสร้างเป็นศิลปะการก่อสร้างตามแบบศิลปกรรมที่สืบทอดมาจาก สถาปัตยกรรมลังกาสุกะถือเป็นมัสยิดร่วมสมัยกับ มัสยิดตะโละมาเนาะ (วาดีอัลฮุเซน) อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส และมัสยิดเอาห์ บ้านนัดตันหยง ต.มะนังยง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ศิลปะการก่อสร้างแบบมลายูชวา สร้างโดยชุมชนท้องถิ่น

 Visitor:7