วิหารน้อยเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมี 4 ห้อง กว้าง 500 เมตร ยาว 11.50 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สู่แม่น้ำเจ้าพระยา หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่ว และลดชั้นมีเสารองรับ 4 ต้น ที่ด้านหลัง ด้านหน้า ก่อเป็นซุ้มโค้งรูปกลีบบัว มีประติมากรรมปูนปั้นเรียกว่า “ พระฉาย ” คือองค์พระพุทธเจ้าประทับเงาพระองค์บนหน้าผา เป็นพระอุเทสิกะเจดีย์ให้คนที่ผ่านไปมาได้เคารพมีลักษณะพระพุทธเจ้าประทับปรางถวายเนตร พร้อมพระอัครสาวก ๒ องค์ ผนังด้านข้างเจาะเป็นช่องประตูด้านละ 1 ช่อง ทำกรอบช่องประตูปูนปั้นผนังภายในฉาบเรียบ มีฐานชุกชีประดิษฐาน พระพุทธรูปประทับนอนหงายในหีบพระบรมศพพร้อมฝาหีบลงรักปิดทอง ลายพรรณพฤกษา โดยมีพระสาวกกำลังนมัสการพระบรมศพ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ และหายากคู่บ้านคู่เมืองสรรพยามาช้านาน วิหารหลังนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณครั้งของพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวอำเภอสรรพยา ได้เห็นความสำคัญของพระพุทธรูปปางนี้ จึงได้คิดริเริ่มจัดงานประเพณีวันอัฎฐมีบูชาขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า