เป็นวัดประเภทอรัญญาวาสี เริ่มสร้างเป็นสำนักสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. 2474 หลวงชาญนิคม (ทอง จันทรศร) เป็นผู้ถวายที่ดินเริ่มแรก เจ้าประคุณสมเด็ดพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพรหมมุนี เป็นผู้ตั้งนามให้ตามสถานที่ว่า "วัดป่าสาลวัน" เนื่องจากเห็นว่าบริเวณที่สร้างวัดเป็นป่าไม้เต็งรัง เพราะคำว่า สาละ แปลว่า ต้นรัง วนะ แปลว่า ป่า ที่นี่รื่นรมย์สำหรับพระสงฆ์นักปฏิบัติธรรมบำเพ็ญสมาธิภาวนาหาความสงบ จึงมีพระภิกษุธุดงค์ในอดีตจำนวนมาก พักเพื่อปฏิบัติธรรม พระนักปฏิบัติดั้งกล่าวนี้ เมื่อมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา เช่น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่ถือเป็นพระนักปฏิบัติธรรมรูปสุดท้ายที่ดูแลรักษาและพัฒนาวัดป่าให้เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบติธรรม นอกจากนั้นแล้วยังเก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป คือ อาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น รวมทั้งอัฐิของอาจารย์สิงห์ อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้