พระธาตุนางเพ็ญ 
[Phrathat Nang Pen]

Phrathat Nang Pen แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ประวัติความเป็นมา

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มครอบครัว/


เปิดGoogle map

พระธาตุนางเพ็ญตั้งอยู่ที่วัดเกาะแก้ว หมู่15 บ้านศรีสว่างวงค์ ต.เพ็ญ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี มีลักษณะเป็นเจดีย์ มีตำนานเล่ากันว่า นางเพ็ญ เป็นลูกสาวเจ้าเมืองที่มีความงดงามมาก กระโดดบ่อฆ่าตัวตายเพื่อยุติปัญหาการสู้รบกันของเจ้าเมืองต่างๆ ที่สู้รับกันเพื่อแย่งชิงนาง ชาวบ้านจึงสร้างเจดีย์ครอบบ่อน้ำ เพื่อระลึกถึงความดีของนางและให้ชื่อว่า “พระธาตุนางเพ็ญ” อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี 37 กิโลเมตร ท้าวศรีสุทโธ และนางจันทา แม่เมืองครองเมืองเพ็ง ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพ็ง แม่น้ำใหญ่ ปกครองดูแล ประชาชนด้วยความยุติธรรม บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ท้าวศรีสุทโธและแม่เมืองจันทาได้ลูกสาวหน้าสะสวย เหมือนเดือนเพ็ญ จึงให้ชื่อว่า นางเพ็ง หรือนางเพ็ญ เมื่อนางเพ็งเป็นสาวขึ้น ความงามของนางก็ร่ำลือไปไกล เป็นเหตุให้เจ้าเมืองขุนนาง และเศรษฐีเมือง ต่างๆ มาหลงรักอยากได้นางเป็นคู่ครอง ต่างก็จัดหาเครื่องบรรณาการและกองกำลังสู่ขอนาง ท้าวศรีสุทโธและแม่เมืองจันทาทุกข์ใจมาก เพราะไม่ว่าจะยกนางเพ็งให้แก่ใครก็ไม่พ้นสงคราม ชาวเมืองจะต้องล้มตาย บ้านเมืองจะเดือดร้อน นางเพ็งรู้ถึงความทุกข์ใจของบิดามารดาดีทั้งสงสารประชาชนที่จะมาล้มตายด้วย นางเพ็งเป็นต้นเหตุ เพื่อช่วยชีวิตชาวเมือง เพื่อให้บิดามารดาพ้นจากความเดือดร้อนที่ต้องสูญเสียประชาชน และบ้านเมือง นางจึงตัดสินใจกระโดดบ่อน้ำกลางเมืองตาย เพื่อตัดสงคราม ก่อนกระโดดน้ำนางได้เอาใบลำเจียกมาจารึกข้อความลาบิดามารดา และบอกสาเหตุที่ต้องตัดสินใจฆ่าตัวตาย และก่อนจะตายนางได้ กล่าวแสดงความน้อยอกน้อยใจ ที่นางต้องมารับเคราะห์กรรมโดยที่ไม่มีความผิดอันใดเลย นางจึงกล่าวสาป แช่งเมืองเพ็งไว้ว่า “แต่ต่อนี้ไปอย่าให้มีผู้ใดมาใส่ใจเมืองเพ็งอีกเลย ขอให้เมืองเพ็งจงมีแต่ความเศร้าหมอง ขอแต่ชาวเมืองเพ็งเท่านั้นที่อยู่ดีมีสุข” แล้วนางก็กระโดดลงบ่อน้ำไปบรรดาเจ้าเมือง ขุนนาง เศรษฐีทั้งหลายที่หวังปองนางเพ็ง ต่างเศร้าโศกเสียใจเพียงอกจะแตก จึงเรียก เมืองเพ็งว่า “เมืองอกแตก” ท้าวศรีสุทโธและแม่เมืองจันทาสั่งให้เสนาอำมาตย์และชาวเมืองขนแก้วแหวน เงินทอง ทรัพย์สมบัติมีค่าใส่ลงไปในบ่อแล้วสร้างพระธาตุครอบบ่อน้ำนั้นไว้ เพื่อมิให้ผู้ใดรบกวนนางอีกต่อไป พระธาตุนั้นเรียกว่า “พระธาตุนางเพ็งหรือพระธาตุนางเพ็ญ” มาจนทุกวันนี้ เมื่อถึงปีจะมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้นาง โดยมีใบบอกไปยังเมืองต่างๆ ให้จัดบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสนมาจุดประชันกัน และมีมหรสพฉลอง ๗ วัน ๗ คืน จนเกิดเป็นประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอเพ็ญมาจนทุกวันนี้ ต่อมาเพื่อชุมชนเมืองเพ็งขยายตัวขึ้น จึงได้รับการยกเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี และเรียกชื่ออำเภอตามพระธาตุองค์นั้นว่า อำเภอเพ็ญมาจนทุกวันนี้ และพระธาตุนางเพ็ญนี้ ชาวอุดร หนองคาย และ ละแวกใกล้เคียงนับถือว่าเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์

 Visitor:309