สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชหรือแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราช ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 โดยมีภารกิจการวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา จนถึงขณะนี้มีผลงานวิจัยในพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 200 เรื่องขณะเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2519 สถานีฯ สะแกราชได้รับการรับรองจาก UNESCO ภายใต้โครงการ MAB (Man and Biosphere Program) ให้เป็นแหล่งสงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของโลกซึ่งเป็นแห่งแรก ของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 7 แห่งของเอเซียในขณะนั้น ขณะนี้แหล่งสงวนชีวมณฑลมีจำนวน 529 แห่งใน 105 ประเทศ จากความสำคัญของพื้นที่และมีผลงานวิจัยจำนวนมากซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ ทำให้การรวบรวมและจัดระบบฐานข้อมูลของผลงานวิจัยและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องของแหล่ง สงวนชีวมณฑลสะแกราช เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อนำความรู้ต่างๆ ดังกล่าว ถ่ายทอดสู่สังคม ทั้ง นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป และเป็นข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนการ วิจัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งเป็นข้อมูลที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างแหล่งสงวน ชีวมณฑลแห่งอื่นๆ ทั่วโลก ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ศลช.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการ MAB/UNESCO ของประเทศไทย และประสานการดำเนินงานบริหารจัดการความหลากหลายทาง ชีวภาพของประเทศ