ศาลหลักเมืองแพร่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ศาลหลักเมืองแพร่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ศาลหลักเมืองแพร่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่เป็นหลักใหม่สร้างตามนโยบายมหาดไทย ปี พ.ศ. 2535 ได้ตั้งอยู่คู่กับหลักศิลาจารึกเก่าที่กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง สมัยรามคำแหงมหาราช ศาลหลักเมืองแพร่เป็นหลักเมืองที่ได้สร้างขึ้นใหม่ ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535 ตั้งอยู่คู่กับหลักศิลาจารึกเก่าที่กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง ศาลหลักเมืองแพร่ เป็นสถานที่เคารพศักดิ์สิทธิ์ของคนจังหวัดแพร่ และคนต่างจังหวัดที่มาอาศัย หรือทำงานที่จังหวัดแพร่ ในอดีตบริเวณนี้ได้เรียกว่า สะดือเมือง มีสภาพเป็นพื้นที่ร่มรื่นมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่เป็นที่ตั้งของศาลเล็กๆที่ชาวบ้านเรียกว่า ตูบผี โดยต่อมาพื้นที่นี้ได้ถูกถางตัดต้นไม้ใหญ่ออกและนำเอาหลักศิลาจารึกหลักหนึ่งที่พบในวัดร้างศรีบุญเริงบริเวณเรือนจำจังหวัดแพร่มาไว้ แล้วยึดถือเป็นหลักเมืองแพร่ภายหลังจึงได้มีการสร้างศาลหลักเมืองเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขึ้น แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า สะดือเมือง ตั้งอยู่ถนนคุ้มเดิม เยื้องจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นศาลหลักเมืองที่สวยงาม สร้างด้วยศิลปะแบบล้านนาลงรักปิดทอง ประกอบด้วยเสาไม้สักขนาดใหญ่ฝังในผนังปูนอย่างกลมกลืนทั้งสี่มุมศาลหลักเมืองในประเทศไทยส่วนใหญ่ทำจากไม้มงคล เช่น ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ ในลักษณะของเสาปลายยอดเป็นดอกบัวตูม หรือหน้าเทวดา หรืออาจเป็นหลักหินโบราณ ใบเสมาโบราณ ที่พบในพื้นที่นั้น ตัวศาลส่วนใหญ่เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย และมีประตูทั้งสี่ด้าน ยอดอาจจะเป็นแบบปรางค์ แบบปราสาท แบบมณฑป หรือเป็นศาลเจ้าแบบจีน ตามศรัทธาการก่อสร้างในพื้นที่นั้น การยกเสาหลักเมืองเป็นพิธีของศาสนาพราหมณ์ ทำก่อนจะสร้างเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง โดยในประเทศไทย เชื่อว่าทำมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และมีเรื่องเล่ากันว่า พิธีสร้างเมืองต้องฝังอาถรรพ์ 4 ประตูเมืองและเสาหลักเมือง คือ ต้องเอาคนมาฝังในหลุม เพื่อให้เฝ้าบ้านเมือง ซึ่งนาย จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ประธานชมรมสยามทัศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เป็นเพียงเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น ไม่มีบันทึกในพงศาวดาร ไม่น่าจะเป็นไปได้ คงจะเป็นเพียงเรื่องเล่ามาจากนิทานที่เล่าสืบต่อกันมา เหมือนกับการโล้ชิงช้าที่เล่ากันว่าพราหมณ์ตกลงมา ก็ฝังไว้ตรงเสาชิงช้านั่นเอง ศาลหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ และในปี 2535 กระทรวงมหาดไทยมีนโยบายต้องการให้สร้างเสาหลักเมืองให้เป็นมาตรฐานขึ้นทั่วประเทศ ตามคติการสร้างเสาหลักเมืองที่กรุงเทพฯ เมืองแพร่จึงได้ขอพระราชทานไม้ยมหิน ต้นไม้ประจำจังหวัด จากเด่นชัย มาทำเป็นเสาหลักเมือง ในความคิดของคนรุ่นเก่าเห็นว่า การทำหลักเมืองให้ใหญ่โตนี้เป็นเพียงความเชื่อที่รัฐสร้างขึ้นเพื่อการท่องเที่ยว และพ้องกับความเชื่อของคนกลุ่มหนึ่งที่เน้นเรื่องการบูชาหลักเมืองแบบเสาอินทขิลเท่านั้น ที่มีต้นแบบมาจากเมืองเชียงใหม่ ทั้งที่เมืองแพร่ไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติเหมือนกับเชียงใหม่แต่อย่างใด