วัดพระหลวง 
[Wat Phra Luang]

Wat Phra Luang แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มผู้สูงอายุ/


เปิดGoogle map

วัดพระหลวง :  อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ นับเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านพระหลวงใน ปัจจุบัน วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าสร้างขึ้นในสมัยใด จากตำนานวัดพระหลวง ซึ่งเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ.2509 โดยพระครูปัญญาภิชัย เจ้าอาวาสรูปที่ 13 ได้กล่าวว่า แต่เดิมหมู่บ้านและวัดพระหลวงแห่งนี้ เคยเป็นป่าใหญ่ดงหลวงมาก่อน มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นหนาทึบ มีสัตว์ป่าชุกชุม ในจำนวนนั้นก็มีงูใหญ่อยู่ตัวหนึ่ง จะคอยจับสัตว์ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แม้แต่สัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน หากพลัดหลงเข้าไปก็จะถูกงูกัดกินทุกคราวไป ครั้งหนึ่งมีพวกพ่อค้าชาวฮ่อ (จีนฮ่อ) นำสินค้าบรรทุกหลังม้ามาขายและพากันพักแรมที่บ้านสูงเม่น โดยปล่อยม้าให้เที่ยวหากินบริเวณใกล้เคียง ม้าบางตัวที่ล่วงล้ำเข้าไปในดงหลวงก็จะถูกงูใหญ่รัดกินเป็นอาหาร เมื่อเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง ก็ทำความโกรธแค้นให้แก่พ่อค้าชาวจีนฮ่อเป็นอย่างมาก จึงช่วยกันหาวิธีกำจัดงูนั้นเสีย โดยช่วยกันตัดไม้ไผ่มาผ่า แล้วเหลาเอาผิวไม้มาสานขัดแตะเป็นตาแสง 6 เหลี่ยม ซึ่งชาวเมืองเหนือเรียกว่า “ตาแหลว” กะให้รูบ่วงตาแหลวมีขนาดกว้างพอ ๆ กับขนาดขนาดตัวงู แล้วนำไปปิดปากรู ตอกหลักยึดเงื่อนตาแหลวไว้ให้ตรึงแน่นหนา รุ่งขึ้นอีกวันก็พากันมาดูพบว่างูใหญ่ติดบ่วงตาแหลวงอยู่ จึงช่วยกันฆ่างูนั้นเสีย แล้วตัดซากงูออกเป็นท่อน ๆ กองไว้ใกล้ ๆ รูงูนั้น หลังจากวันนั้นพ่อค้าชาวจีนฮ่อก็นำสินค้าไปขายตามปกติ ครั้นเมื่อขายสินค้าหมดก็เดินทางกลับ และพากันไปดูซากงูที่กองไว้ ปรากฏว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะซากงูกลายเป็นท่อนเงินท่อนทอง จึงแบ่งท่อนเงินท่อนทองนั้นออกเป็น 3 ส่วน พวกพ่อค้าเอาไป 1 ส่วน นำไปถวายเจ้าฟ้า (เจ้าเมือง) 1 ส่วน และฝังไว้บริเวณรูงูนั้น 1 ส่วน image วัดสระบ่อแก้วหรือวัดจองกลางเป็นวัดที่ชาวพม่าซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณสอง ข้างถนนน้ำืคือและถนน ยันตรกิจโกศลเป็นผู้สร้างวัดนี้ได้ชื่ออีกหนึ่งว่าว ัดสามโพธเนื่องจากมีชนชาวิ์พม่าตระกูล โพ สามตระกูลเป็นผู้สร้างและ ปฏิสังขรณ์ ต่อมามีกลุ่มชนคณะหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นพวกม่านหรือพม่า ได้พากันมาบุกเบิกป่าดงหลวงนั้น แล้วตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและสร้างวัดขึ้นพร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์ครอบรูงูไว้ จึงเกิดเป็นหมู่บ้านและวัดขึ้น และไม่ปรากฏว่าชุมชนนี้อยู่บริเวณนี้นานเท่าใด ได้อพยพหรือถูกกวาดต้อนเนื่องจากสงครามไปที่ไหนเมื่อไร คงปล่อยให้เป็นหมู่บ้านและวัดร้างอีกเป็นเวลานาน จนเกิดเป็นป่าใหญ่ดงหลวง โบสถ์วิหารสิ่งก่อสร้างสลักหักพังเหลือแต่ซากและแนวขอบเขตของวัด อีกทั้งเจดีย์ พระพุทธรูปพระประธานก็ชำรุดทรุดโทรมมาก จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2330 ได้มีชนกลุ่มไทลื้อ ชาวเชียงแสน จังหวัดเชียงราย พากันอพยพลงมาทางใต้ถึงบ้านสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยมีพระภิกษุสามเณรและชาวบ้าน 3 วัด 3 หมู่บ้าน มาสร้างบ้านเรือนเป็นหมู่บ้านขึ้น และช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดร้าง ตลอดจนพระประธานองค์ใหญ่ในวิหาร และให้ชื่อวัดนี้ว่า “วัดพระหลวง” และหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านพระหลวง” ซึ่งทั้งวัดและหมู่บ้านมีคำว่าหลวง คงเกิดจากที่มีพระประธานองค์ใหญ่ มีชาวบ้านอพยพมาอยู่มากถึง 3 หมู่บ้านและ 3 วัดด้วยกัน และสถานที่นี้เป็นป่าใหญ่ดงหลวง วัดพระหลวงมีโบราณสถานที่มีความสำคัญหลายแห่งคือ เจดีย์วัดพระหลวง หอไตร หอระฆัง ซึ่งชาวบ้านได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานให้เป็นปูชนียสถานที่ควรค่าแก่การเคารพสักการะ และเป็นศูนย์รวมของชุมชนในท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ เจดีย์วัดพระหลวง องค์เจดีย์ก่อด้วยอิฐทรงปราสาท สถาปัตยกรรมแบบล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 มีความสูงประมาณ 12 วา ฐานกว้าง 6 วา 3 ศอก องค์เจดีย์เอียงเล็กน้อยซึ่งภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “เนิ้ง” จึงมักเรียกว่า “ธาตุเนิ้ง” ลักษณะเจดีย์มีเรือนธาตุสี่เหลี่ยม และมีองค์ระฆังเหลี่ยม ลักษณะสถาปัตยกรรมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม 3 ชั้น ตั้งซ้อนขึ้นไปรองรับฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จขนาดใหญ่ เหนือขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยม 3 ชั้น รองรับเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อเก็จ ซุ้มเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนอยู่ภายใน เหนือซุ้มจระนำขึ้นไปเป็นชุดของหลังคาเรือนธาตุ ประกอบด้วยกลุ่มมาลัยเถา 4 ชั้น รองรับองค์ระฆังที่มีขนาดเล็ก หน้าบันประกอบด้วยลวดลายต่างๆ คือทิศตะวันออก ประดับปูนปั้นลวดลายธรรมจักร ทิศเหนือ ใต้และตะวันตก เป็นรูปดอกบัว ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ประทับยืนบนฐานบัว แสดงปางต่างๆ กันคือ ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ปางประทานอภัย (ปางห้ามญาติ) ด้านทิศตะวันออก ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามแก่นจันทร์ พระพุธรูปที่ประดิษฐานในซุ้มจระนำ 

 Visitor:22