ที่วัดต้าม่อน หมู่ 3 บ้านม่อน ต.เวียงต้า อ.ลอง จ.แพร่ กำลังเป็นสนใจของนักท่องเที่ยวเข้าไปเทียวชมวิหารหลังใหม่ พร้อมกับมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ อาคารประกอบ ในบริเวณกว่า 6 ไร ด้วยรูปลักษณ์ของวิหาร หรือ ชาวบ้านเรียกว่า หอคำ เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของไทยใหญ่ วันเสาร์ วันอาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม ตลอด อาจารย์พิทักษ์ ปัญญาฉลาด อดีตครูชำนาญการพิเศษ ร.ร.บ้านเหล่ารัฐราษฎร์บำรุง ต.เวียงต้า ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลเวียงต้า และ พระครูประโชติวีรธรรม เจ้าอาวาส วัดต้าม่อน ได้นำผู้สื่อข่าวเยี่ยมชม ภายในวิหาร พร้อมกันนี้ อาจารย์พิทักษ์ ปัญญาฉลาด ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลเวียงต้า ซึ่งถือว่าเป็นลูกหลานของชาวตำบลเวียงต้าและใกล้ชิดกับเครือญาติผู้ปกครองตำบลเวียงต้า ได้เล่าถึงประวัติของวัดต้าม่อน ตามบทความที่เขียนไว้ว่า ประวัติการสร้างวัดต้าม่อน จากการบอกเล่าของครูบาคำเขื่อนแก้ว วัดต้าม่อน เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2547 ณ วัดต้าม่อน ท่านบอกว่าเรื่องราวต่างๆเป็นการบอกเล่าของคุณย่าของท่าน ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เมื่อ 40 ปีกว่ามาแล้ว ตอนที่ท่านกำลังเป็นเด็ก คุณย่าของท่านเป็นลูกสาวของ เจ้าเมืองพรหม และเจ้าแก้วไหลมา ซึ่งเป็นบุตรคนแรกของเจ้าฮ้อยหลวง เจ้าฟ้าเชียงตุงชาวไทยใหญ่(เงี้ยว) กับเจ้าคำป้อ เจ้าหญิงแห่งเมืองน่าน และคุณย่าของท่านคือเจ้าหล้าจันทร์ ท่านมีพี่น้อง 3 คน คือ เจ้าแจ้ เจ้าอัน ต้นตระกูล รัตนภาพ เจ้าหล้าจันทร์สมรสกับ เจ้าอินทร์แปร แห่งเมืองแพร่ ต่อมาได้หย่าร้างกันเพราะเจ้าหล้าจันทร์ เบื่อความเจ้าชู้มีภรรยาน้อยหลายคน ต่อมาท่านได้พบรักกับคหบดีชาวจีน ชื่อก๋งสี ต้นตระกูล มีบุตรชื่อ คุณนวลศรี และได้สมรสกับคุณสันต์ ซึ่งเป็นบิดามารดาของ ครูบาคำเขื่อนแก้วหรือหลวงพ่ออ๋อย นั่นเอง ท่านเล่าว่า เจ้าฮ้อยหลวงและเจ้าคำป้อ มีบุตรธิดาทั้งหมด 5 คน คือ เจ้าเมืองพรหม ถูกเสือกัดเสียชีวิต ที่แม่ทาม คนที่สองชื่อเจ้าเมืองอินทร์ คนที่สามชื่อเจ้ามังคลา เป็นพระสหายกับเจ้าหลวงเมืองแพร่คือเจ้าพิมสาร คนที่สี่ชื่อเจ้าใจวงศ์และที่ห้าเป็นหญิงชื่อเจ้าจอมศรีเป็นผุ้ได้รับสมบัติครองเรือนต่อจากเจ้าฮ้อยหลวง ต่อมาได้สมรสเจ้าหลวงราชอาจภักดี มาจากลำปางมีบุตรธิดา 3 คนคือ เจ้าเนียม เจ้าดวงเนตร และเจ้าราชบุตร เจ้าเนียมสมรสกับขุนระบิน ปัญญาลาด มีบุตรธิดา 7 คน คือนายบุญยืน ปัญญาฉลาด นายบุญธรรม ปัญญาฉลาด(บิดาของอาจารย์พิทักษ์ ปัญญาฉลาด) นางบุญยง ปัญญาฉลาด นางจันทร์แก้ว ปัญญาบุตร นางจันทร์คำ สงวนเดช นางบุญเทียน สุคันธารักษ์และนางสังวาล ยอดคำ เจ้าเมืองอินทร์ เจ้ามังคราและเจ้าใจวงศ์ ต่อมาได้อพยพครอบครัวข้าทาสบริวาร ไปทำไม้ยังเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยไม่กลับมาเมืองต้าอีกเลย แต่ได้ส่งข่าวมาให้หลานคือเจ้าอ้น รัตนภาพ ไปรับส่วนแบ่งมรดกคือช้าง 25 เชือก ที่เวียงจันทน์ แต่เจ้าอ้นก็ไม่ไปรับ เพราะการเดินทางในสมัยนั้น เป็นไปด้วยความยากลำบาก เจ้าหล้าจันทร์เล่าว่า เมืองต้าเป็นดินแดนที่มีไม้สักทองดีที่สุดในโลก โดยทางกรุงเทพฯ ได้สั่งให้หาไม้ไปสร้างวัดอยู่เป็นประจำ เช่น เสาชิงช้าที่วัดสุทัศน์ ก็ได้นำไม้สักจากป่าห้วยแม่ต้า 1 ต้น และอีกต้นหนึ่งเป็นไม้จากห้วยทรายขาว เมืองลอง เป็นต้น เจ้าเมืองพรหมมอบช้างเผือกให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ เจ้าเมืองพรหมมีช้างเผือกอยู่เชือกหนึ่งชื่อ ” พลายทองแดง” เมื่อนำช้างลงอาบน้ำจะมีสีดังสีหม้อใหม่ ท่านได้มอบช้างเผือกนี้ให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ และต่อมาเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้นำไปถวายต่อให้กับรัชกาลที่ 5 โดยการนำช้างล่องไปตามแม่น้ำปิงและขึ้นแพที่ท่าวาสุกรี ต่อมาช้างเผือกเชือกนี้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “เจ้าพระยาเศวตฉัตรกุญชร” นับว่าเป็น คุณงามความดีของบรรพบุรุษชาวเวียงต้า ที่ควรแก่การสรรเสริญและช้างเผือกดังกล่าวได้ล่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 7 นิยายรักของเจ้าฟ้าเชียงตุงกับเจ้าหญิงแสนสวยของนครน่าน เจ้าฮ้อยหลวง เจ้าฟ้า ไทยใหญ่จากเมืองเชียงตุง นำข้าทาสบริวารอพยพ เข้าสู่เมืองต้าเพื่อทำไม้สักส่งออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ช้างกว่าร้อยเชือกพร้อมคนงานเข้ามาตั้งปางไม้ ต่อมาเป็นชุมชนใหญ่เรียกว่า " เมืองป่า หรือ เมืองต้า " คุ้มของท่านตั้งอยู่บริเวณบ้านของนางสังวาล ยอดคำ ในปัจจุบัน ขณะนั้นเป็นบริวารของเมืองลำปาง แต่ก็สามารถติดต่อสัมพันธ์กับเมืองแพร่และเมืองน่าน เพราะมีเขตแดนติดต่อกัน เจ้าคำป้อ เจ้าหญิงแสนสวยของเมืองน่าน ความสวยของนาง เป็นที่หลงใหลของเจ้าเมืองแพร่ จึงต้องจัดขบวนขันมากไปสู่ขอเป็นพระชายา แต่เจ้าหญิงคำป้อมิได้รักและประสงค์เป็นพระชายาเจ้าเมืองแพร่ จึงต้องหนีจากเมืองน่านโดยมีน้าชายคือเจ้าวงศ์ เป็นผู้พานาง หลบหนีสมรส จากเมืองแพร่มาซ่อนตัวอยู่วัดทุ่งกวาว แต่เห็นว่าไม่ปลอดภัยเจ้าวงศ์จึงพาเจ้าคำป้อเข้ามาหลบที่เมืองต้า ซึ่งปลอดภัยกว่า แ