สะพานดำ 
[Black Bridge]

Black Bridge แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ประวัติความเป็นมา

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคเหนือ กลุ่มครอบครัว/กลุ่มวัยทำงาน/กลุ่มนักเรียนนักศึกษา/เยาวชน/วัยรุ่น/กลุ่มสตรี/กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน/


เปิดGoogle map

สะพานดำหรือสะพานรถไฟจังหวัดลำปางที่พาดผ่านระหว่างสถานีรถไฟนครลำปาง มุ่งสู่สถานีรถไฟบ่อแฮ้ว ลักษณะของสะพานดำนั้นเป็นสะพานเหล็ก บริเวณด้านข้างนั้นเป็นทางเดินที่ทำด้วยไม้ สะพานดำสร้างขึ้นในช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ามาเพื่อเคลื่อนพลผ่านประเทศไทย และได้ตั้งกองบัญชาการที่ลำปาง เข้าทำการยึดอาคารสถานที่ในกิจการของ ทั้งชาวอังกฤษ อเมริกัน และชนชาติอื่น ๆ ทำให้คนเหล่านั้นได้ทำการลี้ภัยออกไป ขณะที่ประเทศไทยสมัยนั้น เป็นคู่สงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร จึงถูกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีเมือง ด้วยการทิ้งระเบิดในพื้นที่ต่าง ๆ หลายๆครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเมือง ได้ทำการย้ายไปอยู่นอกเมืองชั่วคราวเพื่อหลบภัยสงคราม บางร้านที่อยู่ในเมืองก็ต้องพรางอาคารด้วยยอดมะพร้าว หรือเอาสีดำมาทาตัวตึก สะพานก็เหมือนกันอาจจะทาสีดำเพื่ออำพรางไม่ให้โดนระเบิดก็ได้ ดังนั้นการทาสีดำของสะพานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเป็นที่มาของ สะพานดำหรือสะพานรถไฟในปัจจุบัน ในอดีตสะพานดำแห่งนี้มีความสำคัญในด้านการคมนาคม ใช้เดินทางระหว่างผู้คน และการค้าขาย โดยชาวบ้านที่อาศัยฝั่งทางนาก่วมเหนือ (ทางฝั่งสถานีรถไฟนครลำปาง) มักจะเดินทางข้ามไปยังบ้านบ่อแฮ้ว บ้านทับหมาก บ้านดง และจะมีชาวบ้านที่อยู่บริเวณฝั่งบ่อแฮ้ว นำพืชผักสวนครัว หรือข้าวของต่างๆ มาวางขายที่ตลาดเก๊าจาว (ตลาดรัตน์) ซึ่งเป็นตลาดตอนเช้าที่อยู่ติดกับทางรถไฟและสะพานดำ ปัจจุบันมีการสร้างสะพานปูนข้ามแม่น้ำใกล้ๆ กับสะพานดำ ชื่อว่าสะพานสบตุ๋ย จึงทำให้สะพานดำไม่ค่อยได้ถูกใช้สัญจรนักเนื่องจากมีเส้นทางสะพานสัญจรแห่งใหม่ที่สะดวก ไม่อันตราย และสามารถนำยานพาหนะข้ามไปมาได้ด้วย ผนวกกับปัจจุบันเส้นทางรถไฟสะพานดำได้ทรุดโทรมไปมาก โดยเฉพาะบริเวณทางเดินไม้ที่ผุพังตามกาลเวลา ทางสถานีรถไฟจึงมีการติดป้ายไว้ว่าสะพานชำรุด ทว่าสะพานดำก็ยังมีความสำคัญต่อการเดินทางโดยรถไฟไปมาระหว่างผู้คนที่ขึ้นรถไฟจากสถานีเชียงใหม่มุ่งสู่สถานีหัวลำโพง รวมถึงถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายภาพพรีเวดดิ้งสำหรับคู่รักด้วย

 Visitor:20