วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร 
[Wat Sena Sanaram Rat Worawihan]

Wat Sena Sanaram Rat Worawihan แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ประวัติความเป็นมา

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคกลาง กลุ่มครอบครัว/


เปิดGoogle map

"อยู่ทางด้านหลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เป็นวัดโบราณเดิมชื่อ ""วัดเสื่อ"" พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะพระอุโบสถมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้าพระอุโบสถหันหน้าสู่ทิศตะวันออก มีพระยืนประดิษฐานอยู่บนหน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นภาพปั้นลงรักปิดทอง เป็นรูปช้างเอราวัณขนาบด้วยแตร เหนือเศียรช้างเอราวัณเป็นพระอลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์คือ ""พระสัมพุทธมุนี"" เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย สมัยอยุธยาลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๒ นิ้ว สูง ๓ ศอก ๑ นิ้วประดิษฐานเหนือบุษบกปูนปั้นลงรักปิดทอง ฝาผนังพระอุโบสถเป็นภาพจิตรกรรม ด้านบนเป็นภาพของเทพและอัปสรที่มาบูชาพระประธาน ระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพพระราชพิธีสิบสองเดือนซึ่งหาชมได้ยาก ผนังด้านหน้าภายในพระอุโบสถมีพระบรมฉายาลักษณ์ทรงเครื่องต้นเฉลิมพระมหาพิชัยมงกุฎประทับเหนือพระราชบัลลังก์ในกรอบไม้สัก วิหารพระพุทธไสยาสน์ อยู่ติดกับพระเจดีย์องค์ใหญ่ พระวิหารนี้สร้างขวางกับแนวพระอุโบสถ พระพุทธไสยาสน์เป็นศิลปะแบบอยุธยา ประกอบด้วยศิลาเป็นท่อนๆ นำมาเรียงต่อกันแล้วสลักเป็นองค์พระมีขนาดยาว ๑๔.๑๒ เมตร แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างวิหารพระนอนขึ้นในวัด แล้วอัญเชิญพระพุทธไสยาสน์จากวัดมหาธาตุมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ พระอินทร์แปลง เป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัยที่อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์เมื่อปีพ.ศ.๒๔๐๑ หน้าตักกว้าง ๒ ศอกเศษ สูง ๓ ศอกเศษ ประดิษฐานอยู่ในวิหารซึ่งติดกับวิหารพระพุทธไสยาสน์ มีตำนานเล่ากันว่า พระอินทร์แปลงทรงแปลงร่างมาสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ด้านหลังพระอินทร์แปลงเป็นซุ้มศรีมหาโพธิ์ ภายในพระวิหารปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน ทั้งสองข้างองค์พระอินทร์แปลงยกพื้นเป็นอัฒสงฆ์ พร้อมทั้งมีธรรมาสน์หินปิดทอง ๒ แท่น ฝาผนังภายในพระวิหารด้านบน เป็นภาพวาดรูปทวยเทพบูชาองค์พระอินทร์แปลงและระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพวาดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของประชาชนอันเกี่ยวเนื่องด้วยวัดและพระศาสนา บานหน้าต่างเป็นภาพลายรดน้ำเป็นรูปสัตว์ ๑๐ อย่างที่ภิกษุไม่ควรบริโภค พระเจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังคว่ำก่ออิฐฉาบปูนศิลปะสมัยอยุธยา สูงประมาณ ๑๓ วาเศษ มีฐานทักษิณสี่เหลี่ยม"

 Visitor:3