เขื่อนพระราม 6 
[Rama VI Barrage]

Rama VI Barrage แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ภาคกลาง กลุ่มครอบครัว/กลุ่มวัยทำงาน/กลุ่มนักเรียนนักศึกษา/เยาวชน/วัยรุ่น/


เปิดGoogle map

"เขื่อนพระราม 6 อยู่ที่ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นเขื่อนทดน้ำและระบายน้ำแห่งแรกในประเทศไทย เริ่มก่อสร้าง พ.ศ.2458 แล้วเสร็จพ.ศ.2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2467 พระราชทานนามว่า ""เขื่อนพระเฑียรราชา"" และทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปลี่ยนนามเป็น เขื่อนพระราม 6 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2467 เขื่อนแห่งนี้อยู่มานานแล้ว 88 ปี ทำหน้าที่ปิดกั้นแม่น้ำป่าสักที่คุ้งยางนม ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 15,494,452 บาท โครงสร้างของเขื่ือนส่วนใหญ่เป็นโลหะ เหล็กน้ำหนักหลายสิบตัน ยังใช้งานได้เหมือนวันเริ่มต้น มีเทคโนโลยีสมัยใหม่บ้างก็เพียงเล็กน้อย เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เขื่อนมีช่องระบายน้ำ กว้าง 12.5 เมตร สูง 7.80 เมตร 6 ช่อง ติดบานประตูเหล็กแบบเลื่อนลงในแนวดิ่ง โครงยกเขื่อนวัดจากพื้นท้องน้ำขึ้นมา สูง 22.77 เมตร บานเหล็กแต่ละบานหนัก 41 ตัน การยกบานเหล็ก ใช้วิธีถ่วงด้วยถังจุน้ำขนาดใหญ่ ที่ใส่หินน้ำหนักถังละ 82 ตัน แขวนไว้ ในช่วงแรกปิด เปิดหรือยกบานประตูด้วยคน ซึ่งคงใช้เวลาและกำลังมากพอดู ปัจจุบัน ปิด เปิด ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า มีความสามารถทดน้ำไว้เหนือเขื่อนได้สูงสุดที่ระดับ +7.8 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง(ร.ท.ก.) และระบายน้ำทิ้งท้ายเขื่อนได้สูงสุด 1,800 ลูกบาศก์เมตร/วินาที สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพราะปลูก 680,000 ไร่ โดยระบายน้ำเข้าคลองส่งน้ำระพีพัฒน์สายใหญ่ ที่มีความยาว 32 กิโลเมตร จากประตูระบายน้ำพระนารายณ์สู่พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้นครหลวง รังสิตเหนือ รังสิตใต้ คลองด่านและพระองค์ไชยานุชิต บางส่วน คลองน้ำสายนี้ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับเขื่อนที่ขุดขึ้นในช่วงใกล้เคียงกัน เพื่อใช้ในการส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม มีลักษณะต้นทางกว้าง ปลายทางแคบ เพื่อไม่ให้น้ำมากเกินความต้องการ แต่ในการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ และภาคกลาง กลับพยายามจะเร่งผลักดันน้ำผ่านทางนี้ ซึ่งจะมีผลเสียต่อการเกษตรกรและชุมชนสองฝั่งคลอง"

 Visitor:280