วัดบางขนุน 
[ไม่มี]

ไม่มี แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ/โบราณสถาน/โบราณวัตถุ

แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

ภาคกลาง กลุ่มครอบครัว/


เปิดGoogle map

ชม “หินบดยา” (ยาแผนโบราณ) ลักษณะหินบดยา (แพทย์แผนโบราณ) ทำเป็น 3 ชุด ชุดหนึ่งมีอุปกรณ์ 3 ชิ้น คือ แท่งหินบด แท่นหินรองบด และไม้สำหรับวางแท่นหินบด แท่งหินบดทำมาจากทรายสีแดงเป็นก้อนสี่เหลี่ยมยาวประมาณ 1 ฟุต หนา 1 คืบ ไม้สำหรับวางแท่นหินบดรูปร่างคล้ายกับตั่งนั่ง เป็นไม้เนื้อแข็ง สันนิษฐานว่าจะเป็นไม้สักเพราะมีน้ำหนักเบาตัวมอดไม่กิน ไม่ผุกร่อน ยังมีสภาพสมบูรณ์ใช้การได้ดีวิธีการบดใช้แรงงานคน เมื่อบดให้ละเอียดแล้วจึงนำไปผสมเป็นตัวยาใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บตามที่ต้องการ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2531 เจ้าอาวาสบางขนุน (ปัจจุบันมรณภาพไปแล้ว) มีความรู้เรื่องยาแผนโบราณเพราะที่วัดมี “สมุดไทย”(สมุดข่อย) ที่เป็นตำราแพทย์โบราณ ซึ่งที่วัดมีอยู่หลายฉบับ เช่น ตำราเจ็ดคัมภีร์ และภาพทศชาติ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ตำราแพทย์โบราณ ตำรากฎหมาย และตำราโหราศาสตร์สร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 6–7 ปัจจุบันยังคงเหลือเป็นบางฉบับเท่านั้น และฉบับที่นับว่าสำคัญคือ ตำราเจ็ดคัมภีร์และภาพทศชาติ นอกจากนี้ที่วัดยังมี “ธรรมาสน์”(ที่นั่งเดี่ยวสำหรับพระสงฆ์นั่งเทศนา) สมัยอยุธยาตอนปลาย สีสันสวยงามแกะสลักลวดลายดอกไม้วิจิตร

 Visitor:3