"เป็นศาสนสถานเก่าแก่ยาวนาน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จจากวังนารายณ์เมืองละโว้(ลพบุรี) ไปว่าราชการที่กรุงศรีอยุธยาและทรงผ่านประทับแรม ณ ถ้ำนารายณ์แห่งนี้ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาทก็เคยเสด็จประทับพักแรมในถ้านารายณ์เช่นกัน ภายในธรรมอากาศเย็นสบาย มีหินงอกหินย้อย ปรากฏจารึกอักษรมอญโบราณ(ปัลลวะ) บนผนังปากถ้ำซึ่งเป็นแบบอักษรของอินเดียฝ่ายใต้ เคยพบในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยก่อนสุโขทัย และวิวัฒนาการมาเป็นอักษรขอมและมอญโบราณซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงนำมาประดิษฐ์เป็นต้นกำเนิดอักษรไทย อักษรจารึกถ้ำนารายณ์มี 3 บรรทัด แปลไว้ว่า ""กัณทราชัยผู้ตั้งแคว้นอนุราธปุระได้มอบให้พ่อลุงสินาธะเป็นตัวแทนพร้อมชาวเมือง(อนุราธปุระ) จัดพิธีร่ำร้องเพื่อเฉลิมฉลอง(สิ่ง)ซึ่งประดิษฐานไว้แล้วข้างในนี้"" แสดงให้เห็นว่า ถ้ำนี้ได้เคยเป็นที่บำเพ็ญกุศลมาตั้งแต่สมัยอนุราธปุระเมื่อกว่า 1,200ปี มาแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และพระธรรมสิทธินายก (ธงชัย สุขญาโณ) แห่งวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้รวบรวมศรัทธาจากผู้ที่เคารพนับถือ พระภิกษุสามเณร ให้เป็นอุทยานปฏิบัติธรรมถวายไว้ในพระพุทธศาสนา อนุรักษ์และพัฒนาขึ้นมาสู่สภาพวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นได้รับการขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรแล้ว เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2545 และเป็นแหล่งพันธ์ไม้และสัตว์หาดูยาก คือ โมกราชินีม, จันผา, นกหัวจุก, กระรอกเผือก ฯลฯ เพื่อรักษาไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมศาสนาของชาติไทยสืบไป"