เคยเป็นที่ตั้งของเพนียดคล้องช้าง เป็นที่ต่อช้างฝึกช้างป่า และเป็นที่อยู่ของช้างป่าจำนวนมาก วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2360 ผนังด้านหน้าและผนังภายในพระอุโบสถของวัดช้างใหญ่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังรอบด้าน เขียนด้วยสีฝุ่นรองพื้นด้วยดินสอพอง ด้านหลังองค์พระประธานเป็นภาพพระพุทธประวัติตอนมารวิชัย ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพไตรภูมิ ส่วนผนังด้านข้างด้านบนเป็นภาพเทพชุมนุม ส่วนด้านล่างระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพทศชาติชาดก ภาพจิตรกรรมเหล่านี้สันนิษฐานว่าเขียนในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ระหว่างพ.ศ. 2275 2301 ต่อมาภาพบางตอนได้ถูกซ่อมแซมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณปี พ.ศ. 2356 เจดีย์ราย ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของอุโบสถ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ทรงเครื่อง บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม น่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับอุโบสถของวัด อนุสรณ์เจ้าพระยาปราบหงสาวดี ช้างพระที่นั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นามเดิมคือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ เมื่อครั้งสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135 เจ้าพระยาไชยานุภาพ ได้เป็นกำลังสำคัญให้สมเด็จพระนเรศวรสามารถเอาชนะพระมหาอุปราชา จึงนับว่าเจ้าพระยาไชยานุภาพมีบุญคุณต่อชาติไทยเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จพระนเรศวรจึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ใหม่เป็น “เจ้าพระยาปราบหงสาวดี”